วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2568 เวลา 17.00 น.กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา ฉบับที่ 3 เรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน และฝนตกหนักบริเวณภาคใต้ มีผลกระทบในช่วงวันที่ 9–12 พฤษภาคม 2568 โดยจังหวัดที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ มีดังนี้
วันที่ 9 พฤษภาคม 2568
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ:จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ยโสธร กาฬสินธุ์ อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี
วันที่ 10 พฤษภาคม 2568
- ภาคเหนือ:จังหวัดน่าน แพร่ อุตรดิตถ์ พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ:จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น มุกดาหาร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ
- นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
- ภาคกลาง:จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี กาญจนบุรี รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
- ภาคตะวันออก:จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
วันที่ 11 พฤษภาคม 2568
- ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ และตาก
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ:จังหวัดเลย หนองบัวลำภู ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
- ภาคกลาง:จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
- ภาคตะวันออก:จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
- ภาคใต้:จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์
วันที่ 12 พฤษภาคม 2568
- ภาคเหนือ:จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ:จังหวัดชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์
- ภาคกลาง:จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
- ภาคตะวันออก:จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
- ภาคใต้:จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร
ในช่วงวันที่ 9–12 พฤษภาคม 68 ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ลูกเห็บตก และฝนตกหนักบางแห่ง รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยจะเริ่มมีผลกระทบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน ส่วนภาคอื่นๆจะได้รับผลกระทบในระยะถัดไป
ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศเวียดนามและทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้มีลมตะวันออกเฉียงใต้และลมใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทย และทะเลจีนใต้เข้าปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด
ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนและฝนตกหนักที่จะเกิดขึ้น ควรหลีกเลี่ยงการเดินทางผ่านบริเวณที่มีพายุฝนฟ้าคะนอง และเส้นทางที่มีปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก โดยเฉพาะพื้นที่ลุ่มต่ำ มีข้อจำกัดในการระบายน้ำ ซึ่งอาจเกิดน้ำท่วมขังในระยะสั้นได้ เนื่องจากการระบายน้ำอาจทำได้ไม่สะดวก และไม่ควรอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง
สำหรับเกษตรกรควรเสริมความแข็งแรงให้ไม้ผล และเตรียมการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับผลผลิตทางการเกษตรและสัตว์เลี้ยง รวมทั้งดูแลรักษาสุขภาพในช่วงที่สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง
สำหรับภาคใต้จะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 10–12 พฤษภาคม 2568 เนื่องจากลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและภาคใต้มีกำลังแรงขึ้น ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น โดยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ขอให้ประชาชนในภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย ส่วนชาวเรือในบริเวณดังกล่าวควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองในช่วงวันดังกล่าวไว้ด้วย
ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัยและลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ขอให้ประชาชนวางแผนการใช้ชีวิตและการเดินทางในช่วงเวลาดังกล่าวอย่างระมัดระวัง จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา http://www.tmd.go.th หรือที่ 0-2399-4012-13 และ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง กรมอุตุนิยมวิทยาจะออกประกาศฉบับต่อไปในวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568 เวลา 05.00 น.
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทย 18.00 น.วันนี้ ถึง 18.00 น. วันพรุ่งนี้
ภาคเหนือ
- อากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไป โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
- อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส
- อุณหภูมิสูงสุด 36-41 องศาเซลเซียส
- ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 5-15 กม./ชม.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- อากาศร้อนโดยทั่วไป โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดเลย ชัยภูมิ หนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร นครพนม กาฬสินธุ์ มุกดาหาร และนครราชสีมา
- อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส
- อุณหภูมิสูงสุด 36-39 องศาเซลเซียส
- ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
ภาคกลาง
- อากาศร้อนโดยทั่วไป และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ลพบุรี สระบุรี กาญจนบุรี และราชบุรี
- อุณหภูมิต่ำสุด 25-28 องศาเซลเซียส
- อุณหภูมิสูงสุด 38-40 องศาเซลเซียส
- ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
ภาคตะวันออก
- อากาศร้อน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
- อุณหภูมิต่ำสุด 26-28 องศาเซลเซียส
- อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส
- ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
- ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)
- มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ยะลา และนราธิวาส
- อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส
- อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส
- ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
- ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)
- มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่
- อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส
- อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส
- ลมตะวันตก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
- ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
กรุงเทพและปริมณฑล
- อากาศร้อนโดยทั่วไป โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่
- อุณหภูมิต่ำสุด 27-28 องศาเซลเซียส
- อุณหภูมิสูงสุด 36-37 องศาเซลเซียส
- ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.