อัพเดทพื้นที่ในกรุงเทพฯ "น้ำท่วมขัง-ปริมาณฝนสูงสุด" แบบเรียลไทม์ที่นี่

08 ก.ย. 2565 | 11:00 น.

เช็คพิกัด อัพเดทพื้นที่ใน กทม. ที่มี "น้ำท่วมขัง-ปริมาณฝนสูงสุด" แบบเรียลไทม์ พร้อมช่องทางตรวจสอบแต่ละพื้นที่ด้วยตัวเอง คลิกที่นี่

เกาะติดสถานการณ์ฝนตกหนัก น้ำท่วมขังในหลายพื้นที่ในกทม. โดย สำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร  รายงานสถานการณ์ฝนตก-น้ำท่วมขังในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยข้อมูลล่าสุดเมื่อเวลาประมาณ 17.00 น. พบจุดที่มีน้ำท่วมในพื้นที่ กทม. รวม 5 แห่ง ดังนี้

 

1.เขตดินแดง  1 แห่ง

2.เขตจตุจักร  1  แห่ง 

3. เขตหลักสี่   3 แห่ง 

 

ขณะที่ กองสารสนเทศระบายน้ำ สำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร รายงานสถานการณ์น้ำในเขตพื้นที่ต่าง ๆ ปรากฎผล ดังนี้ 

 

เวลา 16.35 

  • เขตดินแดง ถนนประชาสุข    บริเวณอินทามระ 53  ปริมาณน้ำมีความสูง 20 ซม. ยาว  900 เมตร กระทบผิวจราจร     2 เลน    

 

เวลา 13:30- 14:30

  • เขตจตุจักร  ถนนกำแพงเพชร 2  บริเวณหน้าหมอชิตใหม่ ปริมาณน้ำมีความสูง 15 ซม. ยาว 300 เมตร กระทบผิวจราจร 2 เลน    

 

เวลา 13:00

  • เขตหลักสี่  ถนนแจ้งวัฒนะ  บริเวณหน้าศาลปกครองกลาง ปริมาณน้ำมีความสูง 20 ซม. ยาว 500 เมตร กระทบผิวจราจร 2 เลน    

เวลา 13:00 - 15:50    

  • เขตหลักสี่  ถนนแจ้งวัฒนะ  บริเวณหน้าห้างโลตัส ปริมาณน้ำฝนมีความสูง  20 ซม ยาว 500 เมตร เต็มผิวจราจร     

 

เวลา 13:00 

  • เขตหลักสี่ ถนนแจ้งวัฒนะ บริเวณหน้ามณฑลทหารบกที่ 11 ปริมาณน้ำฝนมีความสูง 15 ซม. ยาว 300 เต็มผิวจราจร     

ทั้งนี้ ประชาชนสามารถตรวจสอบจุดที่มีน้ำท่วมขังแบบเรียลไทม์ได้ (เช็คระบบตรวจวัดน้ำท่วมถนน

 

กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานลักษณะอากาศทั่วไปประจำวันที่ 8 กันยายน พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ตั้งแต่เวลา 18.00 น. ของวันนี้ ถึงเวลา 18.00 ของวันพรุ่งนี้ บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ปกคลุมภาคเหนือตอนบน และประเทศลาวตอนบน ส่งผล ทำให้ร่องมรสุมกำลังแรงเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และภาคตะวันออก เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำ บริเวณประเทศกัมพูชาและเวียดนามตอนใต้

 

ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง

 

ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบน และอ่าวไทยตอนบนมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร

 

บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าว เดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบน ควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 9 กันยายน 2565

 

อัพเดทพื้นที่ในกรุงเทพฯ "น้ำท่วมขัง-ปริมาณฝนสูงสุด" แบบเรียลไทม์ที่นี่