กอนช. แจ้งเตือน 19 จังหวัด เสี่ยงน้ำหลาก-น้ำท่วมขัง 4-10 ก.ย.นี้

02 ก.ย. 2565 | 23:00 น.

เช็คพื้นที่เสี่ยงภัย 19 จังหวัด กอนช. แจ้งเตือน "เหนือ - ตะวันออก- กลาง- ใต้" เตรียมรับมือ "น้ำหลาก-น้ำท่วมขัง" ระหว่างวันที่ 4-10 กันยายนนี้

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ออกประกาศ กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 36/2565 เรื่อง เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลากและน้ำท่วมขัง ตามที่กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ได้มีประกาศ ฉบับที่ 34/2565 เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2565 เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมขัง และอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณน้ำมาก ในช่วงวันที่ 31 สิงหาคม – 10 กันยายน 2565 

 

ทั้งนี้ กอนช. ได้ประเมินวิเคราะห์สถานการณ์น้ำด้วยฝนคาดการณ์จากกรมอุตุนิยมวิทยาและสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) พบพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำ ในช่วงวันที่ 4 – 10 กันยายน 2565 เพิ่มเติม ดังนี้


ภาคเหนือ 3 จังหวัด

1.จังหวัดน่าน

  • อ.บ่อเกลือ
  • อ.แม่จริม
  • อ.สันติสุข 

2.จังหวัดตาก

  • อ.ท่าสองยาง
  • อ.พบพระ
  • อ.อุ้มผาง
  • อ.แม่สอด 

3.จังหวัดอุทัยธานี

  • อ.บ้านไร่

 

ภาคตะวันออก 5 จังหวัด 

1.จังหวัดนครนายก

  • อ.เมืองนครนายก
  • อ.ปากพลี

2.จังหวัดปราจีนบุรี

  • อ.นาดี
  • อ.ประจันตคาม
  • อ.กบินทร์บุรี

3.จังหวัดระยอง

  • อ.แกลง

4.จังหวัดจันทบุรี

  • อ.ท่าใหม่
  • อ.มะขาม

5.จังหวัดตราด

  • อ.เขาสมิง
  • อ.บ่อไร่

ภาคกลาง 5 จังหวัด

1.จังหวัดกาญจนบุรี

  • อ.ท่าม่วง
  • อ.ท่ามะกา
  • อ.พนมทวน
  • อ.ห้วยกระเจา

2.จังหวัดลพบุรี

  • อ.หนองม่วง
  • อ.พัฒนานิคม
  • อ.ท่าหลวง
  • อ.บ้านหมี่
  • อ.โคกสำโรง
  • อ.สระโบสถ์ 

3.จังหวัดสระบุรี

  • อ.แก่งคอย
  • อ.วังม่วง
  • อ.มวกเหล็ก 

4.จังหวัดสุพรรณบุรี

  • อ.ดอนเจดีย์
  • อ.ด่านช้าง
  • อ.เมืองสุพรรณบุรี
  • อ.ศรีประจันต์
  • อ.สองพี่น้อง
  • อ.สามชุก
  • อ.อู่ทอง
  • อ.บางปลาม้า 

5.จังหวัดนครปฐม

  • อ.กำแพงแสน

ภาคใต้ 6 จังหวัด 

1.จังหวัดสุราษฎร์ธานี

  • อ.บ้านตาขุน
  • อ.วิภาวดี 

2.จังหวัดนครศรีธรรมราช

  • อ.ลานสกา
  • อ.พิปูน
  • อ.ช้างกลาง

3.จังหวัดระนอง

  • อ.ละอุ่น
  • อ.เมืองระนอง

4.จังหวัดพังงา

  • อ.กะปง
  • อ.ท้ายเหมือง
  • อ.ตะกั่วป่า
  • อ.เมืองพังงา
  • อ.คุระบุรี 

5.จังหวัดกระบี่

  • อ.อ่าวลึก

6.จังหวัดภูเก็ต

  • อ.ถลาง
  • อ.เมืองภูเก็ต

 

พร้อมกันนี้ขอให้ประชาชนติดตามสภาพอากาศและสภาพน้ำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีฝนตกสะสมมากกว่า 90 มิลลิเมตร ในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง และพื้นที่จุดเสี่ยงที่เคยเกิดน้ำท่วมขังอยู่เป็นประจำ

 

รวมถึงติดตาม ตรวจสอบ ซ่อมแซม แนวคันบริเวณริมแม่น้ำ และเร่งกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ พร้อมวางแผนการบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสม โดยปรับแผนระบายน้ำจากเขื่อนและประตูระบายน้ำ เพื่อพร่องน้ำและบริหารพื้นที่ลุ่มต่ำให้เป็นแก้มลิงหน่วงน้ำ เพื่อลดผลกระทบจากมวลน้ำที่จะไหลหลากมายังบริเวณพื้นที่เสี่ยง

 

นอกจากนี้เตรียมแผนรับสถานการณ์น้ำหลาก เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือ รวมถึงความพร้อมของระบบสื่อสารสำรอง เพื่อบูรณาการความพร้อมให้ความช่วยเหลือได้ทันที และประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำ และแจ้งเตือนล่วงหน้า ให้ประชาชนที่คาดว่า จะได้รับผลกระทบ เตรียมพร้อมในการอพยพได้ทันท่วงทีหากเกิดสถานการณ์