รู้จัก"รถเหินน้ำ" ปัจจัยเสี่ยง การป้องกัน วิธีแก้ไข ดูที่นี่

01 ก.ค. 2565 | 20:00 น.

"รถเหินน้ำ" อุบัติเหตุทางถนนที่ป้องกันได้ รู้จักรถเหินน้ำ ปัจจัยเสี่ยง วิธีการป้องกัน และวิธีการแก้ไข มีอะไรบ้าง ดูที่นี่

การขับรถในเส้นทางที่มีฝนตก สภาพถนนเปียกลื่นและมีแอ่งน้ำ จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดรถเหินน้ำ(Hydroplaning) ทำให้เกิดอุบัติเหตุทางถนนในลักษณะรุนแรง

 

รถเหินน้ำ เกิดจากล้อรถไม่ยึดเกาะพื้นถนน เพราะมีน้ำเข้ามาแทรกเป็นชั้น ทำให้ล้อรถหมุนลอยอยู่บนผิวน้ำและลื่นไถล จนไม่สามารถควบคุมรถได้ ซึ่งรถเหินน้ำมักเกิดในช่วงฝนตกและเสี่ยงเกิดอันตรายมากที่สุดหลังฝนตก 10 นาที เนื่องจากน้ำฝนจะผสมกับคราบดินและน้ำมันบนพื้นถนน ทำให้ผิวถนนลื่น
 

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) กระทรวงมหาดไทย แนะวิธีป้องกันและแก้ไขกรณีรถเหิน ดังนี้

 

ปัจจัยเสี่ยงรถเหินน้ำ

 

  • ขับรถเร็ว ทำให้ยางรีดน้ำไม่ทันและรถลื่นไถล
  • เบรกกระทันหัน ทำให้รถเสียการทรงตัวและลื่นไถล 
  • สภาพรถไม่ปลอดภัย ดอกยางสึก ยางแข็ง ยางหมดอายุการใช้งาน ทำให้ประสิทธิภาพการยึดเกาะถนนและรีดน้ำลดลง
  • น้ำหนักของรถ การบรรทุกสิ่งของหนักจะยิ่งเพิ่มแรงเฉื่อย หากรถเสียการทรงตัวจะไม่สามารถควบคุมรถได้
     

วิธีป้องกันรถเหินน้ำ

 

  • ขับรถด้วยความระมัดระวัง เนื่องจากในช่วงที่ฝนเริ่มตก ผิวถนนมีสภาพลื่นเปียก
  • ลดความเร็วขณะขับรถช่วงฝนตก เพื่อให้ยางรีดน้ำและยึดเกาะถนน
  • ขับรถโดยใช้เกียร์ต่ำ จะช่วยให้รถยึดเกาะถนนได้ดี
  • ไม่เร่งความเร็วขับรถผ่านแอ่งน้ำ เพราะเสี่ยงต่อการเกิดรถเหินน้ำ และลื่นไถลออกนอกเส้นทาง
  • หลีกเลี่ยงการขับรถผ่านแอ่งน้ำ จะช่วยป้องกันการเกิดรถเหินน้ำ
  • เว้นระยะห่างจากรถคันอื่นให้มากกว่าปกติ หากเกิดเหตุฉุกเฉิน จะได้หยุดรถอย่างปลอดภัย

 

วิธีแก้ไขรถเหินน้ำ

 

  • ลดความเร็ว โดยค่อยๆถอนคันเร่ง เนื่องจากขณะที่รถเหินน้ำ ล้อจะไม่มีแรงเสียดทาน รวมถึงค่อยๆเหยียบเบรก จะช่วยให้รถยึกเกาะถนนได้ดีขึ้น
  • จับพวงมาลัยให้มั่น พร้อมค่อยๆหมุนพวงมาลัย เพื่อควบคุมรถให้อยู่ในช่องทาง รวมถึงห้ามหักพวงมาลัยอย่างรุนแรง เพราะจะทำให้รถหมุนออกนอกเส้นทางหรือพลิกคว่ำได้


รู้ไว้ปลอดภัย

 

ถนนคอนกรีตที่มีผิวเรียบ มีความเสี่ยงต่อการเกิดรถเหินน้ำมากกว่าถนนที่มีส่วนผสมของยางมะตอย เพราะพื้นยางมะตอย ทีความขรุขระ จึงช่วยให้ยางยึดเกาะถนนและรถทรงตัวได้ดี

 

รู้จัก"รถเหินน้ำ" ปัจจัยเสี่ยง การป้องกัน วิธีแก้ไข ดูที่นี่

 

ที่มา : กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย DDPM