กัญชาทำอาหาร ทอด/ผัด/แกง/ต้ม/ผสมเครื่องดื่ม ดูคำแนะนำ ประกาศกรมอนามัย

14 มิ.ย. 2565 | 20:00 น.

กัญชาทำอาหาร ประเภททอด ผัด แกง ต้ม และผสมเครื่องดื่ม ใส่กี่ใบ ให้ถูกกฏหมาย มีปริมาณที่แนะนำอย่างไร เช็คประกาศกรมอนามัยล่าสุด

การใช้"กัญชาทำอาหาร" อาหารแต่ละประเภท ทั้งทอด ผัด แกง ต้ม และผสมเครื่องดื่ม มีปริมาณการใช้ใบกัญชาอย่างไร ให้ถูกกฏหมาย

 

ล่าสุดกรมอนามัย ได้ออกประกาศกรมอนามัย เรื่องการนำใบกัญชามาใช้ในการทำ ประกอบ หรือปรุงอาหารในสถานประกอบกิจการอาหาร พ.ศ. 2565 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จำนวน 2 ฉบับ

อ่านข่าวประกอบ

 

 

กัญชาทำอาหาร ทอด/ผัด/แกง/ต้ม/ผสมเครื่องดื่ม ดูคำแนะนำ ประกาศกรมอนามัย

 

ทั้งนี้ในเอกสารแนบท้ายประกาศกรมอนามัย เรื่องการนำใบกัญชามาใช้ในการทำ ประกอบ หรือปรุงอาหารในสถานประกอบการ ระบุถึงประเภทการทำ ประกอบหรือปรุงอหาร และปริมาณใบกัญชาที่แนะนำต่อเมนู ดังนี้

 

  • ทอด น้ำหนักรวมของอาหารต่อเมนูเสิร์ฟ 51 กรัม  ปริมาณใบกัญชาที่แนะนำต่อเมนู  1-2 ใบสด(ไข่เจียว ½ - 1 ใบสด)

 

  • ผัด น้ำหนักรวมของอาหารต่อเมนูเสิร์ฟ 74 กรัม ปริมาณใบกัญชาที่แนะนำต่อเมนู  1 ใบสด

 

  • แกง น้ำหนักรวมของอาหารต่อเมนูเสิร์ฟ 614 กรัม  ปริมาณใบกัญชาที่แนะนำต่อเมนู  1 ใบสด

 

  • ต้ม น้ำหนักรวมของอาหารต่อเมนูเสิร์ฟ 614 กรัม  ปริมาณใบกัญชาที่แนะนำต่อเมนู  1 ใบสด

 

  • ผสมในเครื่องดื่ม น้ำหนักรวมของอาหารต่อเมนูเสิร์ฟ 200 กรัม  ปริมาณใบกัญชาที่แนะนำต่อเมนู  1 ใบสด

 

กัญชาทำอาหาร ทอด/ผัด/แกง/ต้ม/ผสมเครื่องดื่ม ดูคำแนะนำ ประกาศกรมอนามัย

 

 

สถานประกอบการกิจการอาหาร ต้องควบคุม กำกับ และต้องจัดให้มีการสื่อสารข้อมูลด้านสุขภาพและต้องตระหนักด้านความปลอดภัยแก่ผู้บริโภค เกี่ยวกับการจำหน่ายอาหารที่มีการใช้ใบกัญชาเป็นส่วนประกอบของอาหาร ได้แก่

 

1.จัดทำข้อความที่แสดงข้อมูลเป็นสถานประกอบกิจการอาหารที่มีการใช้กัญชา

 

2.แสดงรายการอาหารที่มีการใช้ใบกัญชาทั้งหมด

 

3.แสดงข้อมูลปริมาณการใช้ใบกัญชาเป็นส่วนประกอบต่อรายการอาหารตามประเภทการทำ ประกอบหรือปรุงอาหาร เช่น อาหารทอด แนะนำการใช้ใบกัญชาสด 1-2 ใบสดต่อเมนู สำหรับอาหารประเภทผัด แกง ต้ม ผสมในเครื่องดื่มแนะนำการใช้ใบกัญชาสด 1 ใบสดต่อเมนู

 

4.แสดงข้อแนะนำเพื่อความปลอดภัยในการบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีใบกัญชาเป็นส่วนประกอบ

 

5.แสดงคำเตือนรายการอาหารที่มีการใช้ใบกัญชาให้แก่ผู้บริโภคที่มีความเสี่ยง หากรับประทานอาหารที่ใช้ใบกัญชาทราบ ด้วยการระบุข้อความ

 

“เด็กและวัยรุ่นช่วงอายุน้อยกว่า 18 ปี ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่มีส่วนผสมของกัญชา เช่น ขนม อาหารและเครื่องดื่ม สตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตร ไม่ควรรับประทาน”

 

“หากมีอาการผิดปกติ ควรหยุดรับประทานทันที”

 

“ผู้ที่แพ้หรือไวต่อสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol, THC) หรือสารแคนนาบิไดออล (Cannabidiol, CBD) ควรระวังในการรับประทาน”

 

“อาจทำให้ง่วงซึมได้ ควรหลีกเลี่ยงการขับขี่ยานพาหนะ หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล” 

 

6.ห้ามแสดงข้อความหรือโฆษณาสรรพคุณในการป้องกันหรือรักษาโรค 

 

ที่มา : กรมอนามัย