บทเรียน ' นารา - ลาซาด้า ' รีเฟค 'แคมเปญการตลาด'

06 พ.ค. 2565 | 08:58 น.

จากแคมเปญ Lazada 5.5 สู่ ดราม่า 'นารา เครปกะเทย' ผลพ่วงคลิปโฆษณาไม่เหมาะสม กับ ราคาที่ต้องจ่าย เมื่อทำการตลาดบนความขัดแย้ง หลังเพิ่งพลิกกลับมามีกำไรอีกครั้งเมื่อปี 2564

6 พฤษภาคม 2565 - กลายเป็นประเด็นร้อนของสังคม สำหรับกรณี 'นาราเครปกะเทย' ซึ่งเป็น อินฟลูเอนเซอร์ดัง ผลิตและเผยแพร่คลิปวิดิโอ โฆษณา โปรโมท แคมเปญ Lazada 5.5 โดยมีภาพและเนื้อหาหมิ่นเหม่ พาดพิงบุคคล และ ล้อเลียนลักษณะร่างกายของผู้อื่น ทั้งนี้ ในภาพแชร์ต่อ มี 'มัมดิว' และ 'หนูรัตน์' คนดังโซเซียลปรากฎเฟรมร่วมด้วย ซึ่งปรากฎภายหลัง ทั้ง 2 ยืนยันว่าไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาดังกล่าว

 

อย่างไรก็ตาม ทันที ที่คลิปดังกล่าวถูกนำเสนอ ได้สร้างความไม่พอใจกับกลุ่มคนจำนวนมาก หลังจากมองว่า การสร้างคอนเทนต์ครั้งนี้ มีจุดประสงค์แอบแฝง ซึ่งผูกพันธ์กับการแสดงออกของ นาคาเครปกระเทย ก่อนหน้า ในบริบทการเมือง

บทเรียน ' นารา - ลาซาด้า ' รีเฟค 'แคมเปญการตลาด'

Lazada แจง 'คลิปนาราเครปกะเทย' ขอโทษและไม่สนุนสนุน

ประเด็นร้อนดังกล่าวลุกลาม จน บริษัท ลาซาด้า ประเทศไทย ออกหนังสือแถลงการณ์ โดยมีใจความสำคัญ ดังนี้ ... 

 

เอกสารชี้แจง
กรณีอินฟลูเอนเซอร์โพสต์คลิปไม่เหมาะสม

บริษัทลาซาด้าขอเรียนแจ้งให้ทราบว่า ทางบริษัทได้รับทราบถึงเหตุการณ์ที่มีการเผยแพร่คลิปวิดีโอของ  'นาราเครปกะเทย' ในขณะนี้แล้ว โดยบริษัท อินเตอร์เซคท์ ดีไซน์ แฟคทอรี่ จำกัด ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในการติดต่อและประสานงานร่วมกับ KOL ในการผลิตคลิปวิดีโอดังกล่าว ได้ออกแถลงการณ์ขอโทษต่อสาธารณชนและต่อลาซาด้าแล้ว เพื่อรับผิดชอบต่อการเผยแพร่เนื้อหาที่ไม่เหมาะสมในครั้งนี้ (ตามลิงก์ที่แนบมานี้ https://www.facebook.com/157069681295524/posts/1699650977037379/?d=n) 

 

ลาซาด้าเชื่อในเรื่องความเท่าเทียมและไม่มีนโยบายในการสนับสนุนเนื้อหาใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการล้อเลียนพฤติกรรม หรือสภาพร่างกายของผู้ทุพพลภาพ การกระทำเหล่านี้เป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้โดยเด็ดขาดและขัดต่อค่านิยมของลาซาด้าในการเป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่ให้ความเคารพต่อกันและกัน

บทเรียน ' นารา - ลาซาด้า ' รีเฟค 'แคมเปญการตลาด'

เขย่า บัญชีสมาชิก  Lazada คนแห่ลบแอพ ถอดบัญชีทิ้ง

ทั้งนี้ แถลงการณ์ดังกล่าว ไม่อาจต้านทาน ปฎิกริยาในเชิงลบที่เกิดขึ้นในสังคมได้ โดยมีคนจำนวนไม่น้อย ทยอยถอนการติดตั้งแอพพลิเคชั่น Lazada และ ลบบัญชีการใช้งานออก เพื่อหวังแสดงออกถึงความไม่พอใจ และไม่สนับสนุนแคมเปญการตลาด และการดำเนินธุรกิจเช่นนี้ 


“ฐานเศรษฐกิจ” ตรวจสอบข้อมูลบริษัท ลาซาด้า จำกัด จากฐานข้อมูลกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ พบ Lazada แพลตฟอร์มออนไลน์ชื่อดัง เพิ่งพลิกฟื้นจากการขาดทุนสุทธิ 3,988 ล้านบาท เมื่อปี 2563 สู่ ผลกำไรสุทธิ 226 ล้านบาท ในปี 2564 ที่ผ่านมา จึงต้องจับตามองว่า กระแสแบนลาซาด้า ครั้งนี้ จะมีผลต่อธุรกิจอย่างไร 
 

  • ปี 2560 ขาดทุนสุทธิ 568 ล้านบาท
  • ปี 2561 ขาดทุนสุทธิ 2,645 ล้านบาท
  • ปี 2562 ขาดทุนสุทธิ 3,707 ล้านบาท
  • ปี 2563 ขาดทุนสุทธิ 3,988 ล้านบาท
  • ปี 2564 กำไรสุทธิ 226 ล้านบาท

 

 

สมาคมโฆษณาไทย ค้านคอนเทนต์ 'ไร้รสนิยม'

บทเรียน ' นารา - ลาซาด้า ' รีเฟค 'แคมเปญการตลาด'

ขณะล่าสุด  สมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย ออกแถลงการณ์ถึงคลิปโฆษณาดังกล่าว ว่า .....
 
ตามที่เป็นข่าวเหตุการณ์สร้างปัญหาและความรู้สึกเชิงลบจากการกระทำเกี่ยวกับงานโฆษณาสื่อสารการตลาดหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการใช้ภาพ เสียง หรือคำพูดที่ไม่เหมาะสม ผ่านช่องต่างๆ ทั้งสื่ออิเล็กโทรนิค โซเชียลมีเดียหรือสื่อปกติทั่วไปนั้น สมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทยพร้อมด้วยเพื่อนสมาชิกมีความเป็นห่วงต่อเหตุการณ์ดังกล่าวที่จะบั่นทอนเกียรติและศักดิ์ศรี ความเชื่อมั่น ความน่าเชื่อถือที่มีต่อภาพรวมของธุรกิจและบุคลากรในอุตสาหกรรมโฆษณา สมาคมฯจึงขอแสดงจุดยืนดังต่อไปนี้

 

สมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย สนับสนุนการทำงานด้านการสื่อสารการตลาด โฆษณา ประชาสัมพันธ์ทุกรูปแบบที่มีความคิดสร้างสรรค์อันเป็นเลิศพร้อมด้วยจรรยาบรรณที่ดี บนหลักการพื้นฐานจรรยาบรรณวิชาชีพโฆษณา ทั้งสามส่วน อันได้แก่

  1. การโฆษณาทุกชิ้นต้องถูกกฎหมาย มีเกียรติ ซื่อสัตย์ และนำเสนอความจริง
  2. การโฆษณาไม่ควรมีความขัดแย้งกับศีลธรรมอันดีและระเบียบสังคม ในการสร้างสรรค์งานโฆษณา ควรกระทำด้วยการตระหนักถึงการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม และอยู่ภายใต้หลักของการแข่งขันที่ยุติธรรม ที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปในวงการธุรกิจ
  3. การโฆษณาต้องไม่ทำให้สาธารณชนเกิดความรู้สึกไม่มั่นใจในการโฆษณา 

 

การกระทำใดๆที่ปราศจากความรับผิดชอบ ยุยงต่อต้านสังคม ไม่เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ดูหมิ่นบุคคลหรือกลุ่มบุคคล แสดงรูปแบบใดๆของการเหยียดหรือเลือกปฎิบัติ ถือเป็นการกระทำที่ปราศจากรสนิยมและความตั้งใจอันดี สร้างความเสียหายต่อวิชาชีพ สังคมและผู้บริโภคมีสิทธิพิจารณาความเหมาะสมที่จะยุติการสนับสนุนต่อไป ผู้ทำหน้าที่ผลิตชิ้นงานหรือบริษัทตัวแทนโฆษณา ตลอดจนนักการตลาดผู้ทำหน้าที่บริหารจัดการกิจกรรมการตลาดของแบรนด์และผลิตภัณฑ์ สมควรจะแสดงความรับผิดชอบอย่างเปิดเผยและจริงใจโดยทันที


ดอยตุง ถอนตัวจาก  Lazada

ด้านแบรนด์ ดอยตุง ซึ่งเป็นบริษัทผลิตผลิตภัณฑ์จากโครงการพระราชดำริในภาคเหนือ พิจารณา ถอดช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าออนไลน์ โดยไม่ปรากฎภาพโลโก้ของ 'แอพLazada'

บทเรียน ' นารา - ลาซาด้า ' รีเฟค 'แคมเปญการตลาด'

นี่อาจเป็นบทเรียนครั้งสำคัญ ของการทำการตลาด และแคมเปญโฆษณา ที่สร้างผลกระทบเชิงลบต่อธุรกิจ เมื่อเนื้อหาสาระไม่ส่งเสริมประโยชน์ และต้องแลกมาด้วยราคาที่ต้องจ่าย...