โควิดวันนี้รวมatk ยอดผู้ติดเชื้อกว่า 3.7 หมื่นราย ปอดอักเสบเพิ่ม 11.14%

11 เม.ย. 2565 | 01:49 น.

โควิดวันนี้รวมatk ยอดผู้ติดเชื้อกว่า 3.7 หมื่นราย ปอดอักเสบเพิ่ม 11.14% หมอธีระเผยบุคลากรทางการแพทย์ติดเพิ่มอีกถึง 397 คน

โควิดวันนี้รวมatk ตัวเลขยังคงอยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะการแพร่ระบาดของสายพันธุ์โอมิครอน (Omicron)ที่ติดต่อได้ง่าย และรวดเร็ว 

 

ร.ศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ (หมอธีระ) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "Thira Woratanarat (ป๊ามี้คีน)" โดยมีข้อความว่า 

 

  • 22,387

 

  • ATK 15,187

 

  • รวม 37,574

 

หนึ่งสัปดาห์ผ่านไป ปอดอักเสบเพิ่มขึ้นจาก 1858 คน เป็น 2,065 คน เพิ่มขึ้น 11.14%

 

ใส่ท่อช่วยหายใจเพิ่มจาก 769 คน เป็น 856 คน เพิ่มขึ้น 11.31%

 

จำนวนติดเชื้อรวม ATK ของวันนี้ ลดลงกว่าสัปดาห์ก่อน 8.05% และน้อยกว่าสองสัปดาห์ก่อน 3.24%
 

บุคลากรทางการแพทย์ติดเพิ่มอีกถึง 397 คน (ชาย 93, หญิง 304) 

 

กทม.ติดสูงสุด 77 คน รองลงมาคือขอนแก่น 50 คน

 

หมอธีระยังโพสต์ด้วยว่า

 

ผลกระทบของสึนามิ Long COVID ในสหราชอาณาจักร

 

โควิดวันนี้รวมatk ยอดผู้ติดเชื้อกว่า 3.7 หมื่นราย

 

ล่าสุด Financial Times เผยแพร่บทความเกี่ยวกับผลกระทบของ Long COVID ทำให้มีจำนวนผู้ป่วยจำนวนมาก ที่แม้หายจากการติดเชื้อโรคโควิด-19 ในระยะแรกแล้ว

 

แต่มีอาการผิดปกติทางกายและใจ จนส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียน การดูแลครอบครัว และที่สำคัญมากคือการทำงาน ซึ่งทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนแรงงานในระบบอย่างมาก

 

เฉกเช่นเดียวกัน หากประเทศใดที่คุมการระบาดไม่ได้ มีคนติดเชื้อจำนวนมาก ก็จะมีโอกาสประสบปัญหาแบบเดียวกันในอนาคต รวมถึงประเทศไทยด้วย

 

ความชุกของภาวะอ่อนเพลียอ่อนล้ารุนแรงหลังติดโควิด-19 

ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ เผยแพร่ผลการศึกษาแบบติดตามไปข้างหน้านาน 12 เดือน ในกลุ่มผู้ป่วยที่เคยติดเชื้อโควิด-19 มาก่อน อายุตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไป จำนวน 303 คน ตั้งแต่พฤษภาคม 2563-กรกฎาคม 2564

 

พบว่าเกิดภาวะอ่อนเพลียอ่อนล้ารุนแรง (severe fatique) บ่อย โดยเกิดในกลุ่มคนที่ติดเชื้อแล้วมีอาการน้อย 17.4% (ช่วงความเชื่อมั่นตั้งแต่ 6.7%-38.3%), ติดเชื้อแล้วมีอาการปานกลาง 21.6% (ช่วงความเชื่อมั่นตั้งแต่ 11.2%-37.7%), และติดเชื้อแล้วมีอาการรุนแรง 44.8% (ช่วงความเชื่อมั่นตั้งแต่ 28.0%-62.9%) 

 

ข้อมูลข้างต้นจากเนเธอร์แลนด์นั้นเป็นเพียงแค่อาการเดียวจากกลุ่มอาการอีกมากมายหลายระบบที่เกิดขึ้นได้ในภาวะ Long COVID ไม่ว่าจะเป็นปัญหาความคิด ความจำ เครียด ซึมเศร้า

 

ระบบประสาท อาการปวด ระบบหัวใจและหลอดเลือด ลื่มเลือดอุดตัน ทางเดินหายใจ ทางเดินอาหาร ทางเดินปัสสาวะ ระบบสืบพันธุ์ ต่อมไร้ท่อ ผิวหนัง และกล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ

 

ดังนั้นการป้องกันตัวอย่างเป็นกิจวัตร ไม่ติดเชื้อย่อมดีที่สุด