ตะลึง! ยอด atk จริงสะสมแล้วกว่า 9 แสนรายดันยอดโควิดวันนี้ล่าสุดไทยทะลุ 3.7 ล.

06 มี.ค. 2565 | 05:11 น.

ตะลึง! ยอด atk จริงสะสมแล้วกว่า 9 แสนรายดันยอดโควิดวันนี้ล่าสุดไทยทะลุ 3.7 ล้านราย หมอธีระแนะการเอาตัวรอดในสถานการณ์ระบาดคือ การตระหนักรู้ว่าไม่ติดเชื้อนั้นย่อมดีที่สุด

ยอดผลตรวจATK ในปัจจุบันกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 (Covid-19) โดยเฉพาะสายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) เป็นตัวเลขที่ประชาชนให้ความสนใจอย่างมาก เพราะผลตรวจที่พบในแต่ละวันค่อนข้างสูงอย่างมาก

 

รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ (หมอธีระ) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "Thira Woratanarat (ป๊ามี้คีน)" โดยมีข้อความว่า 

 

Q: รู้ไหมว่าจำนวนคนที่ "ตรวจ ATK" เป็นผลบวกตั้งแต่ต้นจนถึงตอนนี้มีเท่าไหร่?

 

A: จากข้อมูลที่ทางกรมควบคุมโรครายงาน ATK ในเว็บ เริ่มตั้งแต่ 31 กรกฎาคม 2564 จนถึงวันนี้ 6 มีนาคม 2565 

 

มีจำนวนคนที่ตรวจพบว่าเป็นผลบวกจาก ATK ไปแล้วทั้งสิ้น 910,899 คน
ทั้งนี้ตัวเลขจาก ATK ไม่ได้รับการนำมารวมกับจำนวนที่ตรวจด้วย RT-PCR

 

แม้มีคนที่ตรวจ ATK เป็นบวกแล้วไปตรวจ RT-PCR แต่เป็นสัดส่วนที่น้อย เพราะข้อจำกัดเชิงศักยภาพของระบบตรวจ RT-PCR และปัญหาค่าใช้จ่ายในการตรวจ
 

ดังนั้นหากลองเอาตัวเลข 910,899 คนมารวมกับยอดติดเชื้อสะสมที่ทางการรายงานสู่สาธารณะ 3,026,695 คน โดยประเมินว่าสัดส่วนคนที่ตรวจ ATK ไปตรวจ RT-PCR ได้ไม่เกิน 25%

 

จะทำให้ยอดสะสมเป็น 3,709,870 คน

 

เขยิบจากอันดับ 33 เป็นอันดับ 22 ของโลก

 

อย่างไรก็ตาม ต่อให้จำนวนติดเชื้อจริงจะเป็นเช่นไร หลักสำคัญในการเอาตัวรอดในสถานการณ์ระบาดคือ การตระหนักรู้ว่าไม่ติดเชื้อนั้นย่อมดีที่สุด และวิธีป้องกันที่ดีที่สุดที่ทำได้ด้วยตนเองคือ ใส่หน้ากาก เจอคนต้องเว้นระยะห่างและใช้เวลาสั้นๆ และไม่แชร์ของกินของใช่ร่วมกับคนอื่น

 

ยอด atk จริงสะสมแล้วกว่า  9 แสนราย

 

หมอธีระยังโพสอีกว่า

 

กลางมกราคม  เค้าประกาศว่าขาลง 

 

ตอบกลับไปโดยบอกว่า ตามธรรมชาติของโรคที่เห็นจากทั่วโลกแล้ว เรายังไม่ได้เข้าสู่ขาขึ้น ดังนั้นไม่ใช่ขาลงอย่างแน่นอน

ไม่กี่วันก่อน  เค้าบอกว่าขาขึ้น และมีโอกาสพีคตอนเมษา

 

อยากตอบกลับไปว่า ตามธรรมชาติของโรคที่เห็นจากทั่วโลกแล้ว ถ้าเราเหมือนประเทศส่วนใหญ่ที่เผชิญมาก่อน ก็ควรจะพีคช่วง 27 กุมภาพันธ์ เบี่ยงเบนได้ราว 1 สัปดาห์ นั่นคือช่วงสัปดาห์นี้ แล้วควรจะเข้าสู่ขาลง ซึ่งจะใช้เวลานานกว่าขาขึ้นราว 1.5 เท่า

 

พีคนั้นมักสูงกว่าระลอกก่อนราว 3.65 เท่า 

 

ส่วนขาลงนั้นจะลงไปถึงระดับใด ยังไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะคาดการณ์ได้ หากปัจจัยเชิงนโยบาย เปิดรับความเสี่ยงต่อการติดเชื้อแพร่เชื้อมาก และพฤติกรรมการป้องกันไม่เข้มแข็งเพียงพอ จำนวนติดเชื้อรายวันก็จะอยู่ในระดับสูง 

 

และหากมีเทศกาลต่างๆ เข้ามา การปะทุก็จะเกิดขึ้นตามธรรมชาติที่เราเห็นในทุกระลอกที่ผ่านมา

 

หากถามว่ากังวลเรื่องใด นอกจากเรื่องการป่วยและเสียชีวิตของกลุ่มคนที่สูงอายุ มีโรคประจำตัว หรือที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนแล้ว ที่ห่วงสุดคือ Long COVID ที่จะเป็นผลกระทบระยะยาวทั้งต่อตัวบุคคล ครอบครัว และสังคม

 

จึงอยากให้ใช้ชีวิตด้วยความไม่ประมาท ป้องกันตนเองและครอบครัวให้เต็มที่ ปลอดภัยไปด้วยกัน