โควิดชลบุรี ลดต่อเนื่อง ติดเชื้อรายใหม่ 482 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 2 ราย

21 ม.ค. 2565 | 00:46 น.

โควิดชลบุรี วันนี้ 21 ม.ค.65 ติดเชื้อรายใหม่ 482 ราย มีบุคคลทางการแพทย์ 9 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 2 ราย ยอดเสียชีวิตสะสม(ระลอกเดือนม.ค.65) 13 ราย

โควิดชลบุรี วันที่ 21 ม.ค.65 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี (สสจ.ชลบุรี) รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ประจำวันว่า วันนี้มีรายงานผู้ติดเชื้อรายใหม่ จำนวน 482 ราย เป็นผู้ป่วยปอดอักเสบรายใหม่ 3 ราย รักษาหายเพิ่ม 581 ราย ผู้เสียชีวิตเพิ่ม 2 ราย อำเภอบางละมุงพบติดเชื้อรายใหม่มากที่สุด 139 ราย ตามด้วยศรีราชา 90 ราย และอำเภอเมืองชลบุรี 91 ราย

 

โควิดชลบุรี ลดต่อเนื่อง ติดเชื้อรายใหม่ 482 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 2 ราย
 

รายละเอียดผู้ติดเชื้อโควิด-19 

 

1. คนที่พักอาศัยในจังหวัดระยอง เข้ามารักษาในจังหวัดชลบุรี 40 ราย สะสม 526 ราย และจังหวัดอื่นๆรวมสะสม 112 ราย
 

2. อาชีพเสี่ยงพบปะผู้คนจำนวนมาก 13 ราย

3. บุคลากรทางการแพทย์ 9 ราย
 

4. ให้ประวัติเดินทางมาจากต่างจังหวัด 2 ราย ดังนี้
4.1 กทม. 1 ราย
4.2 จังหวัดปทุมธานี 1 ราย
 

5. สัมผัสผู้ป่วยยืนยัน
5.1 ในครอบครัว 147 ราย
5.2 จากสถานที่ทำงาน 100 ราย
5.3 บุคคลใกล้ชิด 16 ราย
5.4 ร่วมวงสังสรรค์ 10 ราย
 

6. สัมผัสผู้ป่วยยืนยัน (อยู่ระหว่างสอบสวนโรค) 21 ราย
 

7. อยู่ระหว่างการสอบสวนโรค 124 ราย
 

ณ วันที่ 21 มกราคม 2565 จังหวัดชลบุรี มีผู้ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม 1,839,522 คน ซึ่งในเดือนนี้ มีผู้ที่ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว ติดเชื้อ 6,049 คน ปอดอักเสบ 22 ราย ใส่ท่อหายใจ 2 ราย และเสียชีวิต 5 ราย
 

ส่วนผู้ที่ฉีดวัคซีนเพียง 1 เข็ม 96,789 คน และไม่ได้ฉีดวัคซีนอีก 392,762 คน รวม 489,551 คน ในเดือนนี้ พบผู้ติดเชื้อที่ฉีดวัคซีนไม่ครบ 291 คน และไม่ได้ฉีดวัคซีน 7,189 คน ปอดอักเสบ 16 ราย ใส่ท่อหายใจ 6 ราย และเสียชีวิต 8 ราย
 

สำหรับวันนี้ พบผู้ป่วยปอดอับเสบรายใหม่ 3 ราย (ไม่พบประวัติการรับวัคซีนสองราย)
และพบผู้เสียชีวิตรายใหม่ 2 ราย (อายุ 86 ปี) สาเหตุที่นำไปสู่การเสียชีวิตคือ เป็นผู้สูงอายุ และมีโรคประจำตัวได้แก่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง (ไม่พบประวัติการรับวัคซีนหนึ่งราย) ดังนั้น การฉีดวัคซีนจะช่วยลดความรุนแรงของโควิด-19 ผู้ที่อาศัยในจังหวัดชลบุรี ควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว หญิงตั้งครรภ์ เนื่องจากผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน มีโอกาศที่จะมีอาการรุนแรงมากกว่าผู้ที่ฉีดวัคซีน ซึ่งนำไปสู่การเสียชีวิตจากโรคโควิด 19 และกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว หญิงตั้งครรภ์ จะมีอาการมากกว่ากลุ่มอื่น