“สุวัจน์”ชี้อนาคตโคราช จะเป็นมหานครของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

04 ธ.ค. 2564 | 08:11 น.

“สุวัจน์”ชี้หลังโควิดรูปแบบการทำธุรกิจจะเปลี่ยนแปลงไป อนาคตของโคราช จะเป็นมหานครของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ที่โรงแรมสีมาธานี จังหวัดนครราชสีมา นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ อดีตรองนายกรัฐมนตรี กล่าวปัจฉิมกถา ในงาน “สานพลังโคราชฟื้นเศรษฐกิจหลังโควิด-19 เดินหน้าสู่การเป็นมหานครแห่งภูมิภาคอีสาน” จัดโดยสื่ออีสานบิซ ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล, องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา, เทศบาลนครนครราชสี,หอการค้าจังหวัดฯ,สภาอุตสาหกรรม และการไฟฟ้าฝ่ายผลิต


นายสุวัจน์ กล่าวว่า หลังโควิดรูปแบบการทำธุรกิจจะเปลี่ยนแปลง Technology จะเข้ามามากขึ้น พฤติกรรมผู้บริโภคจะให้ความสำคัญกับระยะห่าง ความปลอดภัย อนามัยสาธารณสุข สิ่งแวดล้อมนำไปสู่รูปแบบการทำธุรกิจใหม่ๆ 

 

บางธุรกิจหายไป บางอย่างเหลือน้อย บางอย่างอยู่ได้แต่ต้องปรับตัว ต้องลงทุนใหม่กับระบบต่างๆ ในการทำงาน อาทิ  E-commerce ระบบซื้อขายออนไลน์มาแทน, ระบบไร้สัมผัส, รถยนต์ไฟฟ้ารักษาสิ่งแวดล้อม, ยานยนต์ไร้คนขับ, ทำงานที่บ้าน (Work for Home) และ เงินสกุลดิจิตอล 


ฉะนั้น New Normal มาแน่นอนทุกคนต้องปรับตัว ทุกองค์กรต้องปรับตัวถึงจะอยู่ได้ และการที่เราจะร่วมกันฟื้นเศรษฐกิจโคราชได้ต้องประกอบไปด้วย

1.ต้องช่วยกันกระตุ้นเศรษฐกิจกันต่อไปจากมาตรการของรัฐบาลในเรื่องท่องเที่ยวเป็นหลัก เพราะลงสู่ปัญหาของผู้ประกอบการ พ่อค้า แม่ค้าโดยตรง ตราบใดที่เศรษฐกิจโลกยังไม่ฟื้น เศรษฐกิจประเทศยังไม่ฟื้น การลงทุนยังไม่มา การท่องเที่ยวก็จะเชื่อมโยงไปถึงการจัดกิจกรรมด้านวัฒนธรรม การฟื้นฟูและสร้างแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว 


การโปรโมทเรื่องอาหาร ของกิน ของใช้ สินค้าพื้นเมือง OTOP เพื่อสร้างงานและรายได้ให้กับกลุ่มคนและผู้ประกอบการรากหญ้าอย่างต่อเนื่องทั่วถึงการจัดกิจกรรมชวนมาท่องเที่ยว มากิน มาช๊อปจับจ่ายใช้สอยในโคราช


“จุดแข็งโคราช มีศูนย์การค้า 3 แห่ง จัดมหกรรมโปรโมชั่นสินค้าราคาถูก มหกรรมอาหารอร่อย มหกรรมกีฬา ชวนคนไทยทั้งประเทศมาเที่ยวโคราช ก็จะสอดคล้องกับการกระตุ้นนโยบายรัฐ เราเที่ยวด้วยกัน, คนละครึ่ง,ยิ่งใช้ยิ่งได้”


2.เมื่อการลงทุนจากต่างชาติยังไม่มาก็ต้องลงทุนภาครัฐมาช่วยกระตุ้นสร้างงานต่างๆ โดยการก่อสร้างที่ใช้งบประมาณและแรงงานในจังหวัดนครราชสีมา เร่งรัดการก่อสร้างงานโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เช่น มอเตอร์,รถไฟรางคู่,รถไฟความเร็วสูง เพื่อให้เกิดการลงทุน จ้างงาน กระตุ้นเศรษฐกิจ


3.ต้องสร้างโปรเจคใหม่ๆ ด้านการท่องเที่ยวในโคราช ให้เป็นบิ๊กโปรเจ็คให้เป็นแม็กเนต (Maxnet ) ในการท่องเที่ยว อย่างบทบาทของมหาวิทยาลัยราชภัฏฯ ที่ทำอยู่ เช่น Korat Geopark, อุทยานไดโนเสาร์ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลกแบบ Yellowstone,Mount Rushmore ของ USA เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวมาโคราช


4.เตรียมพร้อมเรื่องทรัพยากรมนุษย์ เพื่อรองรับการลงทุนการก่อสร้างและการพัฒนาธุรกิจใหม่ๆ หลังโควิด-19 โดยเฉพาะการจัดหลักสูตรนักศึกษาให้มีความพร้อมและสอดคล้องกับสถานการณ์หลังโควิด

5.การเตรียมพร้อมเป็นจังหวัดอัจฉริยะ ( Smart Province )ไม่ใช่ (Smart City )ของเมืองโคราชโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อสร้างความทันสมัยของเมืองรองรับการเติบโต คือ เป็นเมืองสิ่งแวดล้อมไร้สารพิษ PM 2.5 ไร้ฝุ่น ไร้ขยะ,Public Part, ระบบการจราจรอัจฉริยะ, พลังงานทดแทน, ระบบรองรับรถยนต์ไฟฟ้า, ระบบ Farming ที่ทำการ For ecast ได้เรื่องธรรมชาติและการตลาด การผลิต ปลอดภัย และระบบ 5 G ต่างๆ


6.อุตสาหกรรมสมัยใหม่ คือ อนาคตของเมืองโคราชหลังโควิด ความต้องการด้านสินค้าเกษตร อาหาร การส่งออกพุ่งสูงขึ้นมากสอดคล้องกับเศรษฐกิจวิถีใหม่ของโลก (BCG Economy) ประเทศไทยจะได้เปรียบถ้าเรานำ Soft Power มาพัฒนาประเทศ และโคราชด้านการท่องเที่ยวและวัฒนธรรม 


เนื่องจากโคราชมีพื้นฐานการเกษตร ข้าว อ้อย มัน ยาง ข้าวโพด เราส่งออกเป็นวัตถุดิบส่วนใหญ่ ใช้อุตสาหกรรมและ Technology และ Marketing จะเติบโตและสร้างงานอย่างมหาศาลสอดคล้องกับ BCG (เศรษฐกิจวิถีของโลก) และ Soft Power เรื่องวัฒนธรรมการท่องเที่ยวโคราชอุดมสมบูรณ์ เป็นจังหวะของประเทศและจังหวัดโคราชมากับสถานการณ์หลังโควิด


สุดท้าย 7.ต้องลดความสูญเสียเรื่องน้ำท่วม กระทบเศรษฐกิจอย่างมากต้องวางแผนระยะสั้น ระยะยาว มีการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ ไม่ให้น้ำท่วมโคราชอีกเด็ดขาด และน้ำต้องไม่แล้งเพราะโคราชเป็นเมืองเกษตร


“ผมมีความเชื่อมั่นในศักยภาพของคนเมืองและวิชาการ ว่าเรามีความพร้อมที่จะก้าวฝ่า post coved และเติบโตต่อไป ขอเพียงให้สร้างแผนและบูรณาการความร่วมมือ สร้างความต่อเนื่องนโยบาย สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนชาวโคราช ก็จะเกิดผล”สานพลังโคราชพ้นเศรษฐกิจหลังโควิด-19 ไปได้”

นายสุวัจน์ กล่าวว่า โคราชเป็นประตูสู่อีสาน เป็นประตูสู่อินโดจีน เป็นมหานครแห่งอีสานมานานแล้ว ตั้งแต่ พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้วางพื้นฐานการพัฒนาจนประสบความสำเร็จ อาทิ ถนน 4 เลนสระบุรี-โคราช, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, นิคมอุตสาหกรรม, เปิดประตูสู่ท่าเรือน้ำลึกทางหลวง 304 


และมีการพัฒนาต่อเนื่อง เช่น มอเตอร์เวย์, รถไฟรางคู่, รถไฟความเร็วสูง, การขยายถนนมิตรภาพเป็น 10 เลน ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ช่วยเพิ่มศักยภาพความโดดเด่นให้เมืองโคราชเป็นจุดต่อความเจริญไปยังเมื่องอื่นๆ ในภาคอีสาน


แต่ปัจจุบันบริบาทของโลกเปลี่ยนไปมากโดยเฉพาะภูมิรัฐศาสตร์และการเชื่อมโยงต่างๆ ในด้านคมนาคมที่เป็นผลดีต่อภาคอีสาน โดยเฉพาะมหานครโคราช เพราะโคราชและภาคอีสานมีการเชื่อมโยงสู่อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงที่ประกอบด้วย 6 ประเทศ ไทย จีนตอนใต้ ลาว กัมพูชา เวียดนาม พม่า, โครงการ One Belt One Road หรือ Belt and Road Initiative ของจีนที่ขยายการค้าการลงทุนผ่านเส้นทางสายไหมจากจีนสู่ยุโรป แอฟริกา ด้วยเส้นทางรถไฟและถนนสายสำคัญ โครงการ IMTGT 


โดยการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย ( Indonesia Malaysia Thailand Growth Triangle) และ RCEP ASEAN 10 ประเทศ บวกจีน ญี่ปุ่น เกาหลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ข้อตกลงการค้ามีผล 1 มกราคมนี้ สินค้าส่งออกเกือบ 30,000 รายการได้รับข้อยกเว้น

“จะเห็นว่าภูมิรัฐศาสตร์ที่โอบล้อมประเทศไทยและภาคอีสานและโคราชทำให้เราเป็นโลเคชั่นที่เป็นสากลทั้งด้านพรหมแดนและการค้า การลงทุน การติดต่อเชื่อมโยงไปกับกลุ่มประเทศต่างๆทั่วโลก”


โดยเฉพาะ Belt and Road Initiative ของจีนที่จะเชื่อมเข้าสู่ประเทศไทยผ่านโครงการรถไฟความเร็วสูงจากกรุงเทพฯ-โคราช ต่อขึ้นไปตอนเหนือของอีสาน เพื่อเชื่อมโยงกับจีนและลาว ทำให้อีสานเชือมต่อโครงการเส้นทางสายไหม
 Belt and Road Initiative สู่ยุโรป รัสเซีย แอฟริกา ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการขยายตัวด้านการค้า การลงทุน การขนส่ง การท่องเที่ยวและระบบโลจิสติกส์ต่างๆ มหาศาลต่ออีสานต่อประเทศไทย


ฉะนั้น โอกาสโคราชใน 10-20 ปี ข้างหน้า ถ้าการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่องและการมีผลของข้อตกลงการค้าต่างๆ และความสำเร็จของ Belt and Road Initiative ของจีน จะทำให้ภาคอีสานโดยเฉพาะโคราช จะเป็นมหานครการค้าการลงทุนและศูนย์กลางทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคอย่างแน่นอน


“โคราชจะไม่ใช่มหานครของอีสานเท่านั้น จะเป็นมหานครของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia) คงต้องใช้เวลาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมและอื่นๆ เพื่อเชื่อมโยงภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง IMTGT Belt and Road Initiative ได้สำเร็จ เป็นงานที่พวกเราต้องผลักดันกันต่อไป” นายสุวัจน์ กล่าว