โควิดชลบุรี ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 223 ราย เสียชีวิต 3 ราย

19 พ.ย. 2564 | 00:25 น.

โควิดชลบุรี วันนี้ ( 19 พ.ย.) ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 223 ราย เสียชีวิต 3 ราย อายุเฉลี่ย 67 ปี สัมผัสผู้ป่วยในครอบครัว ขณะที่คลัสเตอร์ทหารเรือสัตหีบยังลามเพิ่มอีก 12 ราย ยอดสะสมพุ่ง 1,639 ราย

19 พ.ย. 64 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี (สสจ.ชลบุรี) รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ประจำวัน วันนี้มีรายงานผู้ติดรายใหม่ จำนวน 223 ราย  ยอดป่วยสะสม 105,643 ราย รักษาหายเพิ่ม 175 ราย รักษาหายสะสม 102,611 ราย กำลังรักษา 2,285 ราย เสียชีวิตวันนี้ 3 ราย เสียชีวิตสะสม 747 ราย 

 

รายละเอียดการติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ 

 

1. คนที่พักอาศัยในจังหวัดระยอง เข้ามารักษาในจังหวัดชลบุรี 24 ราย สะสม 4,938 ราย และจังหวัดอื่นๆรวมสะสม 1,799 ราย

2. Cluster ระบาดต่อเนื่อง เขตพื้นที่ทหารเรือ อ.สัตหีบ 12 ราย สะสม 1,639 ราย
    2.1 ทหารเกณฑ์ 11 ราย
    2.2 ข้าราชการทหารเรือ 1 ราย

3. Cluster บริษัท ซูเพิร์บ เฟอร์นิเจอร์ (ประเทศไทย) จำกัด อ.ศรีราชา 7 ราย สะสม 22 ราย 

4. Cluster บริษัท โซนี่เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด อ.เมืองชลบุรี 4 ราย สะสม 18 ราย

5. Cluster กลุ่มบริษัท สยาม เด็นโซ่ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด อ.พานทอง 4 ราย สะสม 76 ราย

6. อาชีพเสี่ยงพบปะผู้คนจำนวนมาก 3 ราย

7. บุคลากรทางการแพทย์ 2 ราย

8. ให้ประวัติเดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยงต่างจังหวัด
    8.1 จังหวัดระยอง 2 ราย
    8.2 จังหวัดสมุทรปราการ 2 ราย
    8.3 จังหวัดจันทบุรี 1 ราย

9. สัมผัสผู้ป่วยยืนยัน
    9.1 ในครอบครัว 46 ราย
    9.2 จากสถานที่ทำงาน 51 ราย
    9.3 บุคคลใกล้ชิด 8 ราย
    9.4 ร่วมวงสังสรรค์ 1 ราย 

10. สัมผัสผู้ป่วยยืนยัน (อยู่ระหว่างสอบสวนโรค) 6 ราย 

11. อยู่ระหว่างการสอบสวนโรค 50 ราย

 

โควิดชลบุรี ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 223 ราย เสียชีวิต 3 ราย

รายละเอียดผู้เสียชีวิต- อาการรุนแรง

 

ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ปอดอักเสบรายใหม่ 4 รายวันนี้ ได้รับวัคซีนครบ 2 เข็ม 2 ราย ไม่ได้ฉีดวัคซีน 2 ราย  โดยในเดือน พย. นี้ มีผู้ป่วยโควิด-19 ปอดอักเสบ 32 ราย ได้รับวัคซีนครบ 8 ราย ใส่ท่อช่วยหายใจ 7 ราย ได้รับวัคซีนครบ 2 ราย 

วัคซีนช่วยลดความรุนแรง ลดการแพร่ระบาด ขอให้ผู้ที่อาศัยในจังหวัดชลบุรีทั้งชาวไทยและต่างชาติ ร่วมใจฉีดวัคซีน

 

สำหรับผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 รายใหม่ 3 รายของวันนี้ (อายุเฉลี่ย 67 ปี) เป็นสัมผัสผู้ป่วยยืนยันในครอบครัวของผู้ป่วยยืนยันรายก่อนหน้า มีปัจจัยเสี่ยงร่วมที่ทำให้ความรุนแรงของโรคที่นำไปสู่การเสียชีวิต คือ เป็นผู้สูงอายุ และการมีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคไตเรื้อรัง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง และมีหนึ่งรายไม่พบประวัติการรับวัคซีน ดังนั้น การฉีดวัคซีนจะช่วยป้องกันไม่ให้ป่วยหนัก ผู้สูงอายุควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 เนื่องจากบุคคลกลุ่มนี้มีอัตราป่วยหนักหรือเสียชีวิตจากโรคโควิด 19 มากกว่ากลุ่มอื่น