ปภ.แจ้ง 11 จังหวัดภาคใต้ เฝ้าระวังฝนตกหนัก-เตรียมรับมืออุทกภัย 7-13 พ.ย.นี้

07 พ.ย. 2564 | 01:49 น.

ปภ. แจ้ง 11 จังหวัดภาคใต้ เฝ้าระวังฝนตกหนัก – เตรียมรับมืออุทกภัย ช่วงวันที่ 7 – 13 พ.ย.64 เผยยังมีสถานการณ์อุทกภัยและน้ำป่าไหลหลาก รวม 13 จังหวัด

เมื่อวันที่ 6 พ.ย.64 เวลา 16.50 น. กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก) โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย ได้รับแจ้งจากกองอำนวยการน้ำแห่งชาติว่า

ได้ประเมินและวิเคราะห์สถานการณ์น้ำจากแผนที่ฝนคาดการณ์ (ONE MAP) ของกรมอุตุนิยมวิทยาและสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ(องค์กรมหาชน) พบว่าในช่วงวันที่ 7 – 13 พฤศจิกายน 2564 เนื่องจากคาดการณ์มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น

 

ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง โดยมีพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังอุทกภัย 11 จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ นครศรีธรรมราช สตูล พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สุราษฎร์ธานี กระบี่ ระนอง และภูเก็ต แยกเป็น

1. พื้นที่เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากบริเวณที่ลาดเชิงเขา บริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช สตูล พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส

ปภ.แจ้ง 11 จังหวัดภาคใต้ เฝ้าระวังฝนตกหนัก-เตรียมรับมืออุทกภัย 7-13 พ.ย.นี้

2. พื้นที่เฝ้าระวังระดับน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดกลางที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80 และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เสี่ยงน้ำล้นกระทบพื้นที่ลุ่มต่ำบริเวณท้ายอ่างเก็บน้ำ บริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี กระบี่ ระนอง และภูเก็ต

3. พื้นที่เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นในพื้นที่ลุ่มต่ำบริเวณแม่น้ำตาปี จังหวัดสุราษฎร์ธานี คลองท่าดีและคลองชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช ทะเลสาบสงขลา จังหวัดสงขลา แม่น้ำปัตตานี จังหวัดยะลา, จังหวัดปัตตานี และแม่น้ำโก-ลก จังหวัดนราธิวาส

กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก) โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) จึงได้แจ้งให้ 11 จังหวัดภาคใต้ และศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตในพื้นที่ดังกล่าว จัดเจ้าหน้าที่ติดตามข้อมูลสภาพอากาศ อย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง เน้นการเฝ้าระวังพื้นที่ที่มีปริมาณฝนสะสม และพื้นที่เสี่ยงที่ลาดเชิงเขา พื้นที่ลุ่มต่ำ พื้นที่ชุมชนเมืองที่อาจได้รับผลกระทบ

วันที่ 7 พ.ย.64 เวลา 08.30 น. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในฐานะกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) รายงานสถานการณ์อุทกภัยจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ตั้งแต่วันที่ 6-7 พ.ย. 2564 ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช กระบี่) รวม 4 อำเภอ 5 ตำบล 8 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 143 ครัวเรือน ไม่มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต ภาพรวมสถานการณ์เริ่มคลี่คลาย แต่ยังคงมีน้ำท่วมขังบางพื้นที่ ดังนี้

1.สุราษฎร์ธานี เกิดเหตุฝนตกหนักน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอวิภาวดี และอำเภอ

ชัยบุรี รวม3 ตำบล 3 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 55 ครัวเรือน ปัจุบันสถานการณ์คลี่คลายแล้ว

2.นครศรีธรรมราช เกิดเหตุฝนตกหนักน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่อำเอบางชัน รวม 1 ตำบล 1 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 50 ครัวเรือน ปัจุบันสถานการณ์คลี่คลายแล้ว

3.กระบี่ เกิดเหตุฝนตกหนักน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่อำเภอปลายพระยา รวม 1 ตำบล 4 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 38 ครัวเรือน

ขณะที่อิทธิพลพายุเตี้ยนหมู่ พายุไลออนร็อก พายุคมปาซุ และร่องมรสุมพาดผ่านภาคตะวันออกและภาคใต้ ตั้งแต่วันที่ 23 ก.ย. – 7 พ.ย. 2564 ทำให้น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง โดยปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์ในพื้นที่ 10 จังหวัด ได้แก่ หนองบัวลำภู มหาสารคาม อุบลราชธานี นครราชสีมา ลพบุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี และนครปฐม รวม 31 อำเภอ 287 ตำบล 1,668 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 76,420 ครัวเรือน ผู้เสียชีวิต 23 ราย (ลพบุรี 11 ราย เพชรบูรณ์ 2 ราย ชัยนาท 2 ราย นครสวรรค์ 3 ราย สิงห์บุรี 3 ราย สุพรรณบุรี 2 ราย) แยกเป็น

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4 จังหวัด รวม 9 อำเภอ 37 ตำบล 212 หมู่บ้าน 1 เขตเทศบาล ประชาชนได้รับผลกระทบ 4,531 ครัวเรือน ได้แก่

1. หนองบัวลำภู ยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอโนนสัง และอำเภอศรีบุญเรือง รวม 7 ตำบล 16 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 254 ครัวเรือน

2.มหาสารคาม ยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอโกสุมพิสัย อำเภอกันทรวิชัย และอำเภอเมืองมหาสารคาม รวม 12 ตำบล 41 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,627 ครัวเรือน

3.อุบลราชธานี ยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอุบลราชธานี และอำเภอวารินชำราบ รวม 4 ตำบล 26 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 577 ครัวเรือน

4. นครราชสีมา ยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอโนนสูง และอำเภอพิมาย 14 ตำบล 129 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,073 ครัวเรือน

- ภาคกลาง 7 จังหวัด รวม 22 อำเภอ 250 ตำบล 1,456 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 71,889 ครัวเรือน ได้แก่

5. ลพบุรี ยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบ้านหมี่ และอำเภอเมืองลพบุรี รวม 6 ตำบล 21 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 830 ครัวเรือน

6. สุพรรณบุรี ยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางปลาม้า และอำเภอสองพี่น้อง รวม 20 ตำบล 58 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,011 ครัวเรือน

7. อ่างทอง ยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอ่างทอง อำเภอไชโย อำเภอป่าโมก และอำเภอวิเศษชัยชาญ รวม 36 ตำบล 166 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 5,453 ครัวเรือน

8. พระนครศรีอยุธยา ยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอผักไห่ อำเภอเสนา อำเภอบางบาล อำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภอบางไทร อำเภอบางปะอิน และอำเภอลาดบัวหลวง รวม 106 ตำบล 380 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 49,385 ครัวเรือน

9.ปทุมธานี ยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองปทุมธานี และอำเภอสามโคก รวม 21 ตำบล 56 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 5,301 ครัวเรือน

10.นครปฐม ยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางเลน อำเภอนครชัยศรี อำเภอสามพราน อำเภอกำแพงแสน และอำเภอดอนตูม รวม 61 ตำบล 475 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 8,909 ครัวเรือน

ภาพรวมสถานการณ์คลี่คลายในหลายพื้นที่แล้ว ระดับน้ำลดลง แต่ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ