เตือน 5 จังหวัดใต้ ระวังน้ำท่วมฉับพลัน-น้ำป่าไหลหลาก

02 พ.ย. 2564 | 05:50 น.

เช็คที่นี่ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย แจ้งเตือน 5 จังหวัดภาคใต้ของไทยพื้นที่เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน-น้ำป่าไหลหลาก

2 พฤศจิกายน 2564 ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูหนาวอย่างเป็นทางการตามประกาศของกรมอุตุนิยมวิทยา ขณะที่สถานการณ์น้ำในหลายจังหวัดยังต้องติดตามและเฝ้าระหว่างอย่างใกล้ชิด โดยล่าสุด กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานคาดการณ์และแจ้งเตือนภัยประจำวันนี้ ดังนี้

พื้นที่เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก

ภาคใต้

  • นครศรีธรรมราช (อ.เมืองฯ ท่าศาลา สิชล)
  • สงขลา (อ.หาดใหญ่)
  • พังงา (อ.กะปง ท้ายเหมือง)
  • ตรัง (อ.เมืองฯ)
  • สตูล (อ.ควนโดน ควนกาหลง ละงู)

พื้นที่เฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมขัง

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  • หนองบัวลำภู (อ.โนนสัง ศรีบุญเรือง)
  • ขอนแก่น (อ.อุบลรัตน์ น้ำพอง เมืองฯ)
  • มหาสารคาม (อ.โกสุมพิสัย กันทรวิชัย เมืองฯ)
  • นครราชสีมา (อ.โนนสูง พิมาย)

ภาคกลาง

  • ลพบุรี (อ.บ้านหมี่ เมืองฯ)
  • สุพรรณบุรี (อ.บางปลาม้า สองพี่น้อง)
  • สิงห์บุรี (อ.เมืองฯ อินทร์บุรี พรหมบุรี)
  • อ่างทอง (อ.เมืองฯ ไชโย ป่าโมก วิเศษชัยชาญ)
  • พระนครศรีอยุธยา (อ.ผักไห่ เสนา บางบาล พระนครศรีอยุธยา บางไทร บางปะอิน มหาราช บางปะหัน บางซ้าย ลาดบัวหลวง บ้านแพรก)
  • นครปฐม (อ.บางเลน นครชัยศรี สามพราน กำแพงแสน ดอนตูม)
  • ปทุมธานี (อ.เมืองฯ สามโคก) และปราจีนบุรี (อ.บ้านสร้าง ศรีมโหสถ)

พื้นที่ที่มีฝนฟ้าคะนอง 

ภาคเหนือ

  • แม่ฮ่องสอน
  • เชียงใหม่
  • เชียงราย
  • ลำพูน
  • ลำปาง
  • พะเยา
  • แพร่
  • น่าน
  • ตาก
  • สุโขทัย
  • พิษณุโลก
  • กำแพงเพชร
  • เพชรบูรณ์
  • นครสวรรค์
  • อุทัยธานี 

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  • เลย
  • ชัยภูมิ
  • นครราชสีมา
  • บุรีรัมย์
  • สุรินทร์
  • ศรีสะเกษ
  • อุบลราชธานี

ภาคกลาง

  • ชัยนาท
  • กาญจนบุรี
  • สุพรรณบุรี
  • ราชบุรี
  • สมุทรสงคราม
  • นครนายก
  • ปราจีนบุรี
  • ฉะเชิงเทรา
  • สระแก้ว
  • ชลบุรี
  • ระยอง
  • กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคใต้

  • สุราษฎร์ธานี
  • พัทลุง
  • ยะลา
  • ปัตตานี
  • นราธิวาส
  • ระนอง
  • กระบี่

ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนติดตามข้อมูลสภาวะอากาศและข่าวสารจากทางราชการ ติดตามสถานการณ์ฝนตกหนัก ปริมาณฝนสะสม โดยเฉพาะพื้นที่ชุมชนเมือง อาจได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมขังระยะสั้น ๆ พื้นที่ลุ่มต่ำ พื้นที่ลาดเชิงเขา อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก

พื้นที่ริมลำน้ำอาจได้รับผลกระทบจากน้ำล้นตลิ่ง และน้ำท่วมในระดับสูง ระวังอันตรายจากสัตว์และแมลงมีพิษ อันตรายจากกระแสไฟฟ้า รวมทั้งการขับขี่พาหนะบริเวณน้ำไหลผ่านเส้นทาง