กทม.เปิดสถิติผู้ป่วยโควิดยังรักษาตัวที่บ้าน 1,418 ราย เสียชีวิต 89 ราย

24 ต.ค. 2564 | 09:04 น.

กทม.เปิดสถิติผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 แยกกักรักษาตัวที่บ้าน วันนี้พบเพิ่ม 69 ราย ยอดสะสมพุ่ง 122,143 ราย หายป่วย 105,136 ราย อยู่ระหว่างรักษา 1,418 ราย เสียชีวิต 89 ราย

เพจกรุงเทพมหานคร โดยสำนักประชาสัมพันธ์ รายงานสถิติผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 แบบแยกกักรักษาตัวที่บ้าน (Home Isolation : HI)  ประจำวันที่ 24 ต.ค. 64 (เริ่มเก็บข้อมูลตั้งแต่วันที่ 2 ส.ค. 64) พบ

 

ยอดสะสม 122,143 ราย

 

ผู้ป่วยรายใหม่ 69 ราย

 

อยู่ระหว่างการรักษา 1,418 ราย

  

    - ทั่วไป 1,418 ราย

 

      - เร่งด่วนรอส่งต่อ 0 ราย

 

จำหน่ายสะสม 120,725 ราย

 

      - หายป่วย 105,136 ราย

 

      - ส่งต่อ 15,500 ราย

     

       - เสียชีวิต 89 ราย (บันทึกการเสียชีวิตตามคำนิยามตั้งแต่วันที่ 20 ส.ค. 64)

                            กทม.เปิดสถิติผู้ป่วยโควิดยังรักษาตัวที่บ้าน 1,418 ราย เสียชีวิต 89 ราย

นอกจากนี้ยังรายการผลการดำเนินงานการจัดทีมปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาโควิด-19 เชิงรุก (Bangkok CCRT)

 

วันที่ 15 ก.ค. - 23 ต.ค. 64

 

-ชุมชนที่ได้รับการตรวจคัดกรอง  5,417 แห่ง

 

-ประชาชนที่เข้ารับบริการ 348,454 ราย

 

-ประชาชนกลุ่ม 608 ที่ได้รับวัคซีน (อายุ 60+ / 7 กลุ่มโรค / หญิงตั้งครรภ์) 203,602 ราย

 

-ประชาชนที่ได้รับการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วย ATK 124,004 ราย

  + พบเชื้อ  8,752 ราย

 

- นำส่งโรงพยาบาล 878 ราย

 

- นำส่งศูนย์พักคอยฯ (CI) 525 ราย

 

- แยกกักตัวที่บ้าน (HI) 7,349 ราย

 

-ไม่พบเชื้อ 115,252 ราย

(ข้อมูล ณ วันที่ 24 ต.ค. 64)

                        กทม.เปิดสถิติผู้ป่วยโควิดยังรักษาตัวที่บ้าน 1,418 ราย เสียชีวิต 89 ราย

ทั้งนี้ กรุงเทพมหานคร โดยสำนักอนามัย สำนักงานเขต ศูนย์บริการสาธารณสุขทั้ง 69 แห่ง บูรณาการความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง ศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง (ศปม.) อาสาสมัครสาธารณสุข (อสส.) จิตอาสาพระราชทาน 904 และภาคประชาชน จัดทีมปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาโควิด-19 เชิงรุก Bangkok Comprehensive Covid-19 Response Team (Bangkok CCRT) ลงพื้นที่ชุมชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครทั้ง 50 เขต ระหว่างวันที่ 15 ก.ค. - 23 ต.ค. 64 โดยทำหน้าที่ดังนี้ 

 

1.สำรวจชุมชนเพื่อค้นหากลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว 7 กลุ่มโรค (โรคทางเดินหายใจเรื้อรังรุนแรง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตเรื้อรังระยะ 5 โรคหลอดเลือดสมอง โรคอ้วน ที่มีน้ำหนักมากกว่า 90 กิโลกรัม โรคเบาหวาน โรคมะเร็งทุกชนิดที่อยู่ระหว่างเคมีบําบัด รังสีบําบัด และภูมิคุ้มกันบําบัด) และหญิงตั้งครรภ์

 

2.ให้บริการตรวจคัดกรองค้นหาผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในชุมชน ด้วยชุดตรวจ Antigen Test Kit

 

3.ให้การรักษาพยาบาลเบื้องต้นก่อนส่งต่อเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล โดยการจ่ายยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจร และให้คำแนะนำในการแยกกักที่บ้าน (HI : Home Isolation) และมอบชุด HI แก่ผู้ป่วยที่สามารถกักตัวที่บ้านได้ สำหรับผู้ที่ไม่สามารถกักตัวที่บ้านได้ ทีมจะนำผู้ป่วยนำส่งศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อ (CI : Community Isolation)

 

4.ดำเนินการกักกันผู้สัมผัสเสี่ยงสูงที่บ้าน และมอบชุด HQ : Home Quarantine หรือส่งเข้า LQ : Local Quarantine ตามความเหมาะสม

 

5.ให้บริการฉีดวัคซีนกับกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว 7 กลุ่มโรค หญิงตั้งครรภ์ 

 

 6.สื่อสารทำความเข้าใจ ให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับโรคโควิด-19 ตลอดจนการปฏิบัติตนให้ห่างไกลจากโรคโควิด-19