" พายุคมปาซุ " กระทบ 11 จว. น้ำท่วม - ดินสไลด์ ถนน 27 เส้นทาง

13 ต.ค. 2564 | 12:20 น.

อิทธิพล " พายุคมปาซุ " กระทบลาม 11 จังหวัด กรมทางหลวง รายงานสถานการณ์น้ำท่วม พบถนนถูกน้ำท่วมสูง - ดินสไลด์ สัญจรผ่านไม่ได้ 27 สายทาง 57 แห่ง พร้อมแนะนำเส้นทางเลี่ยง เช็คพิกัดที่นี่!

13 ตุลาคม 2564 - กรมทางหลวง รายงานสถานการณ์น้ำท่วม (อุทกภัย) บนทางหลวง จากอิทธิพล " พายุคมปาซุ " อัพเดทล่าสุด ณ 13 ตุลาคม 2564 พบทางหลวงถูกน้ำท่วม ดินสไลด์ 11 จังหวัด ทางหลวงที่มีระดับน้ำสูง 5 สายทาง การจราจรผ่านไม่ได้ 20 แห่ง  

 

นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า เนื่องจากกรมอุตุนิยมวิทยาได้ประกาศเตือนภัย ที่อาจได้รับผลกระทบจากพายุโซนร้อนกำลังแรง “คมปาซุ” โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยและให้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากจึงมอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามแผนป้องกันสาธารณภัยอย่างเคร่งครัดพร้อมทั้งเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง 

 

พายุกระทบ 20 สายทาง 57 แห่ง 

สำหรับสถานการณ์ประจำวันที่ 13 ตุลาคม 2564 เวลา 13.30 น. พบทางหลวงถูกน้ำท่วม ดินสไลด์ และสะพานชำรุด จำนวน 11 จังหวัด (27 สายทาง 57 แห่ง) โดยทางหลวงในจังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ได้แก่ ขอนแก่น มหาสารคาม เลย นนทบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา เพชรบูรณ์  สุพรรณบุรี ตราด จันทบุรี และปราจีนบุรี รายละเอียดดังนี้

ทางหลวงที่มีระดับน้ำสูง 6 สายทาง ได้แก่ 

  • ทล.2 ท่าพระ - ขอนแก่น ระดับน้ำสูง 240 เซนติเมตร 
  • ทล.213 มหาสารคาม - หนองขอน ระดับน้ำสูง 215 เซนติเมตร  
  • ทล.32 นครหลวง - อ่างทอง ระดับน้ำสูง 150 เซนติเมตร 
  • ทล.3263 อยุธยา - ไผ่กองดิน ระดับน้ำสูง 175 เซนติเมตร
  • ทล.340 สาลี - สุพรรณ ระดับน้ำสูง 130 เซนติเมตร  
  • ทล.3594 ท่าประดู่ - ฉางเกลือ ช่วง กม. ที่ 18+490 ระดับน้ำสูง 120 เซนติเมตร

 

การจราจรผ่านไม่ได้ 20 แห่ง ได้แก่

1. จังหวัดขอนแก่น (การจราจรผ่านไม่ได้ 4 แห่ง)  

  • ทล.2 ท่าพระ - ขอนแก่น ช่วง กม. ที่ 329+913 (จุดกลับรถใต้สะพานกุดกว้าง) ระดับน้ำสูง 240 เซนติเมตร 
  • ทล.12 ขอนแก่น - พรหมนิมิตร ช่วง กม. ที่ 565+600 (จุดกลับรถใต้สะพานข้ามลำน้ำพอง) ระดับน้ำสูง 30 เซนติเมตร 
  • ทล.2065 พล - ลำชี ช่วง กม. ที่ 33+625 น้ำกัดเซาะคันทางสไลด์  
  • ทล.2065 พล - ลำชี ช่วง กม. ที่ 33+785 น้ำกัดเซาะคันทางสไลด์ 
     

2. จังหวัดมหาสารคาม (การจราจรผ่านไม่ได้ 1 แห่ง)

  • ทล.213 มหาสารคาม - หนองขอน ช่วง กม. ที่ 5+530 (อุโมงค์ท่าขอนยาง) ระดับน้ำสูง 215 เซนติเมตร ลำน้ำชีล้นตลิ่ง มีระดับน้ำสูงขึ้น ผนังกั้นน้ำถูกกัดเซาะ ทำการปิดทางลอดอุโมงค์ใต้สะพาน

 

3. จ.นนทบุรี (การจราจรผ่านไม่ได้ 3 แห่ง) 

  • ทล.302 สะพานพระนั่งเกล้า - ต่างระดับบางใหญ่ (จุดกลับรถใต้สะพานคลองบางแพรก เพื่อมุ่งหน้าแคราย) ช่วง กม. ที่ 16+950 ระดับน้ำสูง 25 - 30 เซนติเมตร ใช้จุดกลับรถต่างระดับใต้สะพานบางใหญ่ ที่ กม. 18+500 แทน  
  • ทล.302 สะพานพระนั่งเกล้า - ต่างระดับบางใหญ่ ช่วง กม. ที่ 17+000 (จุดกลับรถใต้สะพานคลองบางแพรกเพื่อมุ่งหน้ากาญจนาภิเษก) ระดับน้ำสูง 25 - 30 เซนติเมตร ใช้จุดกลับรถใต้สะพานคลองบางไผ่ ที่ กม. 16+600 แทน  
  • ทล.307 แยกสวนสมเด็จ - สะพานนนทบุรี ช่วง กม. ที่ 0+942 (จุดกลับรถใต้สะพานนนทบุรี) ระดับน้ำสูง 75 เซนติเมตร

 

4. จังหวัดอ่างทอง (การจราจรผ่านไม่ได้ 3 แห่ง)  

  • ทล.32 นครหลวง - อ่างทอง ช่วง กม. ที่ 32+607 (จุดกลับรถคลองกะท่อ) ระดับน้ำสูง     150 เซนติเมตร
  • ทล.32 นครหลวง - อ่างทอง ช่วง กม. ที่ 33+200 (จุดกลับรถใต้ท่อ Box Cul.) ระดับน้ำสูง 90 เซนติเมตร 
  • ทล.33 นาคู - ป่าโมก ช่วง กม. ที่ 36+000-36+200 (สี่แยกไฟแดงป่าโมก) ระดับน้ำสูง      20 เซนติเมตร

 

5. จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (การจราจรผ่านไม่ได้ 3 แห่ง) 

  • ทล. 347 บางกระสั้น - บางปะหัน ช่วง กม. ที่ 40+860 (จุดกลับรถใต้สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา) ระดับน้ำสูง 45 เซนติเมตร ใช้ทางกลับรถข้างหน้าแทน  
  • ทล.3263 อยุธยา - ไผ่กองดิน ช่วง กม. ที่ 10+940 (จุดกลับรถใต้สะพานสีกุก) ระดับน้ำสูง 175 เซนติเมตร ใช้ทางกลับรถข้างหน้าแทน  
  • ทล.3263 อยุธยา - ไผ่กองดิน ช่วง กม. ที่ 11+100 (จุดกลับรถใต้สะพานสีกุก) ระดับน้ำสูง 175 เซนติเมตร ใช้ทางกลับรถข้างหน้าแทน  

 

6. จังหวัดสุพรรณบุรี (การจราจรผ่านไม่ได้ 2 แห่ง)  

  • ทล.33 สุพรรณบุรี - นาคู ช่วง กม. ที่ 9+886 (สะพานคลองทับน้ำ) ระดับน้ำสูง  80 เซนติเมตร ใช้ทางกลับรถข้างหน้าแทน  
  • ทล.340 สาลี - สุพรรณบุรี กม. ที่ 59+674 (สะพานศาลเจ้าแม่ทับทิม) ระดับน้ำสูง 130 เซนติเมตร ใช้ทางกลับรถข้างหน้าแทน  

 

7. จังหวัดตราด (การจราจรผ่านไม่ได้ 1 แห่ง)   

  • ทล.3494 ท่าประดู่ - ถางเกลือ ช่วง กม. ที่ 18+490 - 18+570 ระดับน้ำสูง 120 เซนติเมตร ทางเลี่ยงใช้ ทล.3494 ตอนท่าประดู่ - ฉางเกลือ ที่ กม. 15+503 เข้าสู่ถนนสายบ้านปากพัด - บ้านหัวสวน ออกที่ทางหลวงหมายเลข 3157 ตอนบ่อไร่ - แหลมค้อ ที่ กม. 71+853 ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร

 

8. จังหวัดจันทบุรี (การจราจรผ่านไม่ได้ 3 แห่ง)  

  • ทล.3153 จันทบุรี - ท่าใหม่ ช่วง กม. ที่ 0+650 - 1+290 ระดับน้ำสูง 50 เซนติเมตร ทางเลี่ยงใช้เส้นทางท้องถิ่นแทน
  • ทล.3493 เขาไร่ยา - แพร่งขาหยั่ง ช่วง กม. ที่ 6+375 - 7+500 ระดับน้ำสูง 50 เซนติเมตร ทางเลี่ยงใช้เส้นทางท้องถิ่นแทน
  • ทล.3546 ท่าหลวง - ตลาดมะขาม ช่วง กม. ที่ 0+600 - 1+300 ระดับน้ำสูง 60 เซนติเมตร ทางเลี่ยงใช้ ทล.3277 ที่ กม. 1+900 ไปออก ทล.317 ที่ กม. 9+200 แทน

 

ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนผู้ใช้เส้นทางหลวงเดินทางด้วยความระมัดระวังเพื่อความปลอดภัย พร้อมปฏิบัติตามป้ายเตือน ป้ายแนะนำและคำแนะนำของเจ้าหน้าที่อย่างเคร่งครัด และหากประชาชนต้องการสอบถามสภาพเส้นทาง สภาพการจราจร หรือต้องการความช่วยเหลือสามารถติดต่อได้ที่สำนักงานทางหลวง แขวงทางหลวง หมวดทางหลวงในพื้นที่ และสายด่วนกรมทางหลวง โทร.1586 (โทรฟรีทุกเครือข่ายตลอด 24 ชั่วโมง) และสามารถติดตามการรายงานสถานการณ์สภาพเส้นทางได้ที่ ทวิตเตอร์กรมทางหลวง @prdoh1