"เยียวยาประกันสังคม" ม.33-ม.39-ม.40 สรุปครบจบที่เดียว

14 ก.ค. 2564 | 18:00 น.

"เยียวยาประกันสังคม" 9 กลุ่มอาชีพ ในระบบประกันสังคม พื้นที่ 10 จังหวัดสีแดงเข้ม หรือ พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ครอบคลุมผู้ประกันตน ม.33-ม.39-ม.40 สรุปแบบเข้าใจง่ายๆที่นี่

เกาะติด"เยียวยาประกันสังคม" หลังจากคณะรัฐมนตรี(ครม.) เมื่อวันที่ 13 ก.ค.64 มีมติออก "มาตรการเยียวยาโควิด"ล่าสุด เยียวยากลุ่มแรงงานและผู้ประกอบการที่อยู่ในระบบประกันสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากข้อกำหนดตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 27) เพิ่มเติมจากมาตรการให้ความช่วยเหลือกลุ่มแรงงานและผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบอันเนื่องมาจากการปฏิบัติตามข้อกำหนดฯ ฉบับที่ 25 ตามมติครม.เมื่อวันที่ 29 มิ.ย.64

สรุป"เยียวยาประกันสังคม"ครอบคลุมทุกสิทธิ ม.33-ม.39-ม.40

  • ขยายพื้นที่เป็น 10 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นราธิวาส ปัตตานี ยะลา และสงขลา   
  • เพิ่มประเภทกิจการ รวม 9 สาขา ได้แก่  1.ก่อสร้าง 2.ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร 3.ศิลปะ บันเทิงและนันทนาการ 4.บริการด้านอื่นๆ 5.การขายส่ง-ปลีก ซ่อมยานยนต์ 6.การขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า 7.กิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุน 8.กิจกรรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์ และกิจกรรมทางวิชาการ และ9.ข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร

รูปแบบการช่วยเหลือ

ม.33

  • นายจ้าง รัฐจ่ายให้ตามจำนวนลูกจ้าง 3,000 บาท/คน สูงสุดไม่เกิน 200 คน
  • ลูกจ้าง รับเพิ่มเป็น 2,500 บาท/คน + เงินชดเชยรายได้(สูงสุด 7,500 บาท) รวมเป็นเงิน 10,000 บาท/คน

ม.39 และม.40 

รับเงินช่วยเหลือ 5,000 บาท/คน

**อาชีพอิสระ หากขึ้นทะเบียน ม.40 ภายใน ก.ค.64 จะได้รับเงินช่วยเหลือ 5,000 บาท/คน

กรณีนอกระบบประกันสังคม 

  • นายจ้าง หากลูกจ้างขึ้นทะเบียน ม.33 ภายใน ก.ค.64 รับเงินช่วยเหลือตามจํานวนลูกจ้าง 3,000 บาท/คน สูงสุดไม่เกิน 200 คน 

**ลูกจ้างสัญชาติไทยรับเงินช่วยเหลือ 2,500 บาท/คน 

  • หากไม่มีลูกจ้าง ให้ลงทะเบียน ม.40 ภายใน ก.ค. 64 รับเงินช่วยเหลือ 5,000 บาท/คน
     

ผู้ประกอบการในระบบ “ถุงเงิน” 

  • ขยายความช่วยเหลือใน 5 กลุ่ม ได้แก่ ร้านอาหารและเครื่องดื่ม ร้าน OTOP ร้านค้าทั่วไป ร้านค่าบริการ และกิจการขนส่งสาธารณะ (ไม่รวมกิจการขนาดใหญ่)
  • กรณีมีลูกจ้าง ให้ขึ้นทะเบียน ม.33 ภายในเดือน ก.ค.64 รับเงินช่วยเหลือตามจํานวนลูกจ้าง 3,000 บาท/คน สูงสุดไม่เกิน 200 คน 

**ลูกจ้างสัญชาติไทยรับเงินช่วยเหลือ 2,500 บาท/คน

  • หากไม่มีลูกจ้าง ให้ลงทะเบียน ม.40 ภายในเดือน ก.ค.64 รับเงินช่วยเหลือ 5,000 บาท/คน

ที่มา : เพจเฟซบุ๊ก ไทยคู่ฟ้า , มติครม.13 ก.ค.64

เปิดช่องสมัครขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40

นายนันทชัย ปัญญาสุรฤทธิ์ โฆษกสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า แรงงานอิสระหรือผู้ประกอบอาชีพอิสระ ที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีแต่ไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์ สามารถสมัครขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ได้ 

สำหรับความคุ้มครองและสิทธิประโยชน์ประกันสังคมปัจจุบันมี 3 ทางเลือก คือ ทางเลือกที่ 1 จ่าย 70 บาท ทางเลือกที่ 2 จ่าย 100 บาท ทางเลือกที่ 3 จ่าย 300 บาท

โฆษกสำนักงานประกันสังคม กล่าวต่อไปว่า สำหรับผู้ที่สนใจสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 สามารถสมัครง่าย ๆ ด้วยตนเองผ่านมือถือที่เว็บไซต์ www.sso.go.th หรือผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส (7-11) เคาน์เตอร์ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) และที่เคาน์เตอร์บิ๊กซี (Big C) หรือสมัครผ่านผู้แทนเครือข่ายประกันสังคม ทั้งนี้ เมื่อสมัครแล้วสามารถจ่ายเงินสมทบได้ทันที

"เยียวยาประกันสังคม" ม.33-ม.39-ม.40 สรุปครบจบที่เดียว