เจาะประวัติ 7 กรรมการกขค.ควบรวมซีพี-เทสโก้

19 ธ.ค. 2563 | 08:21 น.

รู้จัก 7 คณะกรรมการแข่งขันทางการค้า หรือ กขค. หลังมีมติ 4 ต่อ 3 เสียงอนุมัติการควบรวมซีพี และเทสโก้ โลตัส

หลังจากที่คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า หรือ กขค.  จำนวน 7 คน ลงมติ 4 ต่อ 3 เสียงอนุญาตให้บริษัท ซี.พี.รีเทล ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด โดย กลุ่มซีพี  และบริษัท เทสโก้ สโตร์ส (ประเทศไทย) จำกัด ผู้บริหาร เทสโก้ โลตัส ควบรวมธุรกิจกันได้ 


ภายหลังมติดังกล่าวออกมาก็มีเสียงสะท้อนจากของคณะกรรมการแข่งขันทางการค้า ในฝั่งเสียงข้างน้อย 3 คนที่ไม่เห็นด้วย  ที่มองว่าการควบรวมกันในครั้งนี้จะทำให้เกิดการผูกขาดหรือเกิดการครอบงำทางเศรษฐกิจขึ้นได้ และส่งผลกระทบร้ายแรงต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ


ขณะที่ฟากฝั่งของเสียงข้างมากจำนวน 4 เสียงนั้น ก็มองว่าการควบรวมกันในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ มีการสร้างรายได้ให้อยู่ในประเทศ ภาคการผลิต การค้าปลีกขยายตัว และที่สำคัญระบบห่วงโซ่อุปทานที่เกี่ยวข้องกันในธุรกิจนี้จะยังเดินหน้าต่อไปได้


วันนี้ "ฐานเศรษฐกิจ"จะพาไปทำความรู้จักกับคณะกรรมการแข่งขันทางการค้าทั้ง 7 คน โดยแบ่งออกเป็น กลุ่มที่เห็นด้วย 4 คนได้แก่ 

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

สรุปคำวินิจฉัย กขค. “ซีพีควบโลตัส” 

กรรมการแข่งขันแจงยิบ 25 หน้า เปิดคำวินิจฉัยกลาง “ซีพี”ควบ “โลตัส”

‘สารี’ นำทัพฟ้องศาล ยื้อ‘ซีพีซื้อโลตัส’

บอร์ดแข่งขันไฟเขียว "ซีพี" ควบ "โลตัส" แบบมีเงื่อนไข เข้าข่ายมีอำนาจเหนือตลาดเพิ่ม

 1.กฤษฎา เปี่ยมพงศ์สานต์   รองประธานกรรมการการแข่งขันทางการค้า ประวัติจบการศึกษา จาก Master of Arts in Policy and Administration, University of Wisconsin at Madison, 1979 และBachelor of Arts, University of Western Australia, 1975  

 

กฤษฎา เปี่ยมพงศ์สานต์


สำหรับการทำงาน เป็น ประธานคณะกรรมการ การค้าและสิ่งแวดล้อม ขององค์การการค้าโลก,เอกอัครราชทูต ผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลก ณ นคร เจนีวา,รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ ฝ่ายบริหาร CIO CFO,อัครราชทูต ฝ่ายการพาณิชย์ ณ กรุงวอชิงตัน ดีซี และกรุงบรัสเซลส์ สหภาพยุโรป,ผู้พิพากษาสมทบ ศาลทรัพย์สินทางปัญญา และการค้าระหว่างประเทศกลาง ก่อนจะมาเป็นรองประธานคณะกรรมการแข่งขันฯ

 

2.นายสมชาติ สร้อยทอง  กรรมการการแข่งขันทางการค้า ประวัติการศึกษา จบพัฒนบริหารศาสตร์มหาบัณฑิต รัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ พ.ศ. 2538  และนิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ. 2519 

นายสมชาติ สร้อยทอง  


สำหรับการทำงานเป็นอดีตผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจ กรมการค้าภายใน และกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ไปนั่งเป็นที่ปรึกษาการพาณิชย์   และกาวไปสู่ตำแหน่งอธิบดีกรมการค้าภายใน ก่อนจะถูกโยกมานั่งรองปลัดกระทรวงพาณิชย์ และที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และล่าสุดนั่งเป็นกรรมการบอร์ดแข่งขันฯ 

 

3.ผศ.ดร.วิษณุ วงศ์สินศิริกุล อดีตนักวิจัยประจำศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การศึกษาจบจาก เศรษฐศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย   เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต, University of East Anglia, Norwish, สหราชอาณาจักร และดุษฎีบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์), University of Birmingham, Birmingham, สหราชอาณาจักร

 

ผศ.ดร.วิษณุ วงศ์สินศิริกุล
สำหรับการทำงาน นั่งเป็นคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน),  คณะกรรมการองค์การคลังสินค้า กระทรวงพาณิชย์,  อาจารย์ประจำหลักสูตรเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์และ ผู้อำนวยการสถาบัน เพื่อการนวัตกรรม SME ก่อนจะมานั่งเก้าอี้บอร์ดแข่งขันทางการค้าในชุดปัจจุบัน  

 

 

 4.  นายสมเกียรติ ตันกิตติวัฒน์ บอร์ดแข่งขันทางการค้าเสียงสุดท้ายที่เห็นด้วยกับการควบรวมกิจการของซีพี จบการศึกษาบริหารธุรกิจบัณฑิต เอกวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล และการจัดการมหาบัณฑิต วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล

 

นายสมเกียรติ ตันกิตติวัฒน์

 

สำหรับการทำงานเคยนั่งเป็น ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเป็นกรรมการอิสระและประธานกรรมการตรวจสอบ บริษัท อาดามัส อินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน),กรรมการอิสระ กรรมการตรวจสอบ และประธานกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน บริษัท เทอร์ราไบท์ เน็ท โซลูชั่น จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ฟิลเทค เอ็นเตอร์ไพรส์ 1994 จำกัด (มหาชน),


กรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ บริษัท โปรเฟสชันแนล เวสต์ เทคโนโลยี (1999) จำกัด (มหาชน) และ บริษัท โซลูชั่น คอนเนอร์ (1998) จำกัด (มหาชน), ผู้จัดการฝ่ายบัญชีและการเงิน บริษัท น้ำตาลเกษตรผล จำกัด, รองกรรมการผู้จัดการบริษัท คัฟเวอร์แนนท์ จำกัดและ ,รองกรรมการผู้จัดการและกรรมการบริหาร บริษัท วอริกซ์ สปอร์ต จำกัด ก่อนจะมานั่งเป็นบอร์ดในชุดปัจจุบัน 
 

ส่วนทางด้านเสียงข้างน้อย จำนวน 3 คน ประกอบไปด้วย


1.ศาสตราจารย์สกนธ์ วรัญญูวัฒนา ประธานบอร์ดแข่งขันฯ จบการศึกษาจากเศรษฐศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต  Syracuse University, USAเศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต   Syracuse University, USAและเศรษฐศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

ศาสตราจารย์สกนธ์ วรัญญูวัฒนา


สำหรับการทำงาน เคยนั่งเป็น กรรมการคุ้มครองจริยธรรม กรมศุลกากร กระทรวงการคลัง,  กรรมการนโยบายและติดตามงบประมาณ สภาผู้แทนราษฎร์, กรรมการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค กระทรวงการคลัง,กรรมการสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐ,กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์,คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 

 

2.นายสันติชัย สารถวัลย์แพศย์ กรรมการแข่งขันฯ จบการศึกษา  หลักสูตรนักบริหารระดับสูง สำนักงาน ก.พ. นบส. 2 รุ่นที่ 5 (ปี 2556),หลักสูตรนักบริหารระดับสูง สำนักงาน ก.พ. นบส. รุ่นที่ 54 (ปี 2550)มพัฒนบริหารศาสตร์มหาบัณฑิต (พัฒนาการเศรษฐกิจ) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์เศรษฐศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

นายสันติชัย สารถวัลย์แพศย์

สำหรับการทำงาน อดีตผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมการแข่งขันทางการค้า,อดีตรองอธิบดีกรมการค้าภายใน,อดีตอนุกรรมาธิการพาณิชย์ สนช.,กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (ชุดรักษาการ),ก่อนจะมาเป็นบอร์ดแข่งขันทางการค้าชุดปัจจุบัน 

 

 3.นางอร่ามศรี รุพันธ์ กรรมการแข่งขันทางการค้า จบการศึกษาจากเศรษฐศาสตร์บัณฑิต (เศรษฐศาสตร์การเงิน) มหาวิทยาลัยรามคำแหงพัฒนบริหารศาสตร์มหาบัณฑิต (พัฒนาการเศรษฐกิจ) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

 

นางอร่ามศรี รุพันธ์

สำหรับการทำงานเดิมเป็น วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมายการแข่งขันทางการค้าให้แก่ภาคเอกชน ภาครัฐ และสถาบันการศึกษาก่อนจะมาเป็นผู้แทน กรมการค้าภายใน เข้าร่วมประชุมสัมมนาและนำเสนอผลการดำเนินงานเกี่ยวกับการบังคับใช้ กฎหมายและการส่งเสริมการแข่งขันทางการค้าในเวทีต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ


ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านพัฒนาและส่งเสริมการแข่งขันทางการค้า ประธานกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง ตามคำสั่งกรมการค้าภายในที่ 98 / 2559และประธานกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ตามคำสั่งกรมการค้าภายในที่ 262 / 2558 ก่อนจะมานั่งเก้าอี้บอร์ดแข่งขันทางการค้า