เช็คสิทธิประกันสังคม ลูกจ้างได้รับความคุ้มครองตั้งแต่วันไหน ดูคำตอบเลย

26 ส.ค. 2565 | 20:30 น.

เช็คสิทธิประกันสังคม ลูกจ้างรู้หรือไม่ว่า จะได้รับความคุ้มครองตั้งแต่วันไหนเมื่อเข้าทำงาน ดูรายละเอียดได้ที่นี่

"ประกันสังคม"ตอบข้อสงสัย  รู้หรือไม่ ลูกจ้างจะได้รับความคุ้มครองตั้งแต่วันแรกที่เข้าทำงาน แม้ว่านายจ้างจะยังไม่แจ้งขึ้นทะเบียน จะได้รับสิทธิเมื่อ

 

1.ประสบอันตรายเนื่องจากการทำงาน ส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจ หรือถึงแก่ความตาย

2.เจ็บป่วยจากทำงาน หรือถึงแก่ความตายด้วยโรคที่มีสาเหตุมาจากการทำงาน

 

เช็คสิทธิประกันสังคม ลูกจ้างได้รับความคุ้มครองตั้งแต่วันไหน ดูคำตอบเลย

ลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน จะได้รับเงินทดแทน ซึ่งประกอบด้วย ค่ารักษาพยาบาล ค่าทดแทนรายเดือน ค่าทำศพ และค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงาน

 

ค่ารักษาพยาบาล

 

- ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย 1 ครั้ง จ่าย 50,000 บาท

 

- บาดเจ็บรุนแรงหรือเรื้อรัง จ่ายไม่เกิน 150,000 บาท

 

- หากไม่เพียงพอจ่ายเพิ่มได้อีก 300,000 บาท

 

- หากไม่เพียงพอจ่ายเพิ่มได้อีก 500,000 บาท

 

- หากไม่เพียงพอจ่ายรวมทั้งสิ้นไม่เกิน 1,000,000 บาท
 

เว้นแต่ ลูกจ้างเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลของรัฐตั้งแต่เริ่มแรก จนสิ้นสุดการรักษาพยาบาลหรือกรณีมีความจำเป็นหรือมีเหตุผลสมควรที่ไม่สามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของรัฐตั้งแต่เริ่มแรก แต่ภายหลังได้เข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของรัฐ สามารถจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นเพิ่มขึ้นจนสิ้นสุดการรักษาพยาบาล
 

ค่าทดแทนรายเดือน

 

ค่าทดแทน 70% ของค่าจ้างรายเดือน *ไม่เกิน 14,000 บาทต่อเดือน (ค่าจ้างสูงสุด 20,000 บาท)

 

- แพทย์ให้หยุดพักรักษาตัว ตั้งแต่วันแรก รวมไม่เกิน 1 ปี

 

- สูญเสียสมรรถภาพในการทำงานของร่างกายไม่เกิน 10 ปี

 

- ทุพพลภาพตลอดชีวิต

 

- ถึงแก่ความตายหรือสูญหาย 10 ปี และค่าทำศพ

 

ค่าทำศพ

 

- ตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง
 

ค่าฟื้นฟู

 

กรณีฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงานภายหลังการประสบอันตรายสำหรับลูกจ้างที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟู ได้รับตามอัตราดังนี้

 

- ค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงานด้านการแพทย์ โดยเป็นค่าใช้จ่ายทางกายภาพบำบัดไม่เกินวันละ 200 บาท และค่าใช้จ่ายทางกิจกรรมบำบัดไม่เกินวันละ 100 บาท โดยเมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 24,000 บาท

 

- ค่าใช้จ่ายในการบำบัดรักษาและการผ่าตัดเพื่อประโยชน์ในการฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงาน ไม่เกิน 40,000 บาท

 

- ค่าวัสดุและอุปกรณ์ด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู หน่วยละไม่เกินอัตราตามที่กระทรวงการคลังกำหนด โดยเมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 160,000 บาท

 

- ค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงานด้านอาชีพ ให้จ่ายได้เฉพาะที่เป็นการฝึกตามหลักสูตรที่หน่วยงานของสำนักงานประกันสังคมเป็นผู้ดำเนินการ ไม่เกิน 24,000 บาท
 

ขั้นตอนการเข้ารับการรักษา

 

1. กรณีเข้ารักษาในโรงพยาบาลที่อยู่ในความตกลง นายจ้างส่งผู้ประสบอันตราย หรือ ผู้เจ็บป่วยเข้ารับการรักษา โดยไม่ต้องสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลไปก่อน สถานพยาบาลจะเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลเองโดยตรง

 

2. กรณีเข้ารักษาในสถานพยาบาลที่ไม่ได้อยู่ในความตกลง (เอกชนและรัฐบาล) นายจ้างหรือลูกจ้างจะต้องสำรองจ่ายค่ารักษาก่อน แล้วนำใบเสร็จและใบรับรองแพทย์มาเบิกได้

ระยะเวลาและสถานที่ในการยื่นเรื่อง

 

นายจ้างหรือผู้รับมอบอำนาจ แจ้งตามแบบ กท.16 โดยยื่นเรื่องได้ที่สำนักงานประกันสังคมตามภูมิลำเนา
สามารถส่งเอกสารได้โดยตรง หรือ ส่งทางไปรษณีย์ ภายใน 15 วัน หรือลูกจ้างสามารถยื่นขอรับเงินทดแทนภายใน 180 วัน หรือหากการเจ็บป่วยเกิดขึ้นหลังสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างให้ยื่นคำร้องภายใน 2 ปี
 

เอกสารหลักฐานเพื่อยื่นขอรับเงินทดแทน

 

1.แบบแจ้งการประสบอันตราย เจ็บป่วย หรือสูญหาย (กท.16)

 

2.แบบส่งตัวลูกจ้างเข้ารับการรักษาพยาบาล (กท.44)

 

3.ใบรับรองแพทย์ (กท.16/1)

 

4.การประสบอันตรายที่ไม่ชัดเจน ต้องขอหลักฐานเพิ่ม เช่น หลักฐานการลงเวลาทำงาน บันทึกประจำวัน แผนที่เกิดเหตุ

 

5.ใบเสร็จรับเงิน

 

6.กรณีเสียชีวิตหรือสูญหาย ต้องมีหลักฐานการเสียชีวิต ใบชันสูตรศพใบมรณบัตร
 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันสังคมได้ที่ www.sso.go.th หรือโทรสายด่วน 1506 ให้บริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง 

 

ที่มา :  สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน