นายพีรเมศร์ วุฒิธรเนติรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) (สพพ.) หรือ NEDA เปิดเผยเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนาครบรอบ 20 ปี แห่งการก่อตั้ง NEDA ว่า ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา NEDA ได้ให้การสนับสนุนความร่วมมือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการในประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่ภายใต้ภารกิจของ NEDA รวมทั้งสิ้น 7 ประเทศ เป็นวงเงินรวม 24,226.33 ล้านบาท
ทั้งนี้ประกอบไปด้วย ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ราชอาณาจักรภูฏาน สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา และสาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต โดยแบ่งเป็น
ทั้งนี้ ทิศทางการดำเนินงานในอนาคตของ NEDA กำลังก้าวสู่แนวทางใหม่ที่เน้นการสร้างมูลค่าข้ามพรมแดน (Cross-Border Value Creation) โดยมี 3 เสาหลักสำคัญ ได้แก่
โดยการดำเนินงานดังกล่าวถูกกำหนดให้เป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์ระยะกลาง ปี 2569–2573 เพื่อบรรลุเป้าหมายภายใต้ยุทธศาสตร์ 20 ปี (2564–2583)
สำหรับโครงการสำคัญในประเทศเพื่อนบ้าน แบ่งออกเป็น 4 ประเทศเป้าหมายหลัก ดังนี้
กัมพูชา
สปป.ลาว
เมียนมา
ติมอร์-เลสเต
อยู่ระหว่างดำเนินการ : โครงการปรับปรุงศูนย์อนามัยแม่และเด็ก BEmONC ร่วมกับ UNFPA
นายพีรเมศร์ กล่าวว่า สำหรับแนวทางความร่วมมือทางการเงินในอนาคต NEDA อยู่ระหว่างการจัดเตรียมการระดมทุนด้วยพันธบัตรเพื่อสังคม (Social Bond) ในช่วงไตรมาส 3 ของปี 2568 โดยคาดว่าจะมีวงเงินเบื้องต้น 1,000 ล้านบาท เพื่อใช้เป็นแหล่งทุนในการสนับสนุนโครงการทางสังคม ทั้งในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ การยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน และการลดความเหลื่อมล้ำในประเทศเพื่อนบ้าน
ขณะเดียวกัน NEDA ยังมีความร่วมมือทางการเงินผ่านสกุลเงินหลัก (Major Currency) เช่น ดอลลาร์สหรัฐ (USD) และยูโร (EUR) เพื่อรองรับการดำเนินโครงการในประเทศที่ไม่มีพรมแดนติดกับประเทศไทย (non-bordering countries) ซึ่งจะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นและคล่องตัวในการบริหารจัดการทางการเงิน
นอกจากนี้ ยังมีการวางกรอบการดำเนินโครงการที่มีความทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Resilient Projects) เพื่อให้มั่นใจว่าโครงการต่าง ๆ สามารถรับมือกับความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ครอบคลุมตั้งแต่การออกแบบ การวางแผน การบริหารจัดการ ไปจนถึงการติดตามและประเมินผล โดยเน้นความยั่งยืนและการบรรลุเป้าหมาย SDG 13 (Climate Action)
พร้อมกันนี้ ยังมีการผลักดันการร่วมลงทุนกับภาคเอกชนในรูปแบบ Public-Private Partnership (PPP) และ Blended Finance ให้สอดคล้องกับความพร้อมของแต่ละโครงการ รวมถึงดึงดูดให้ภาคเอกชนเข้ามาร่วมลงทุนในโครงการของรัฐมากยิ่งขึ้น โดยแผนการร่วมลงทุนดังกล่าวได้ครอบคลุมถึงโครงการที่มีผลกระทบเชิงบวกต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการสาธารณะได้อย่างสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น
ดังนั้น การระดมทรัพยากรทางการเงิน ความเชี่ยวชาญ และนวัตกรรมจากหลายภาคส่วน จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินโครงการ เสริมสร้างความยั่งยืน และลดภาระทางการเงินของภาครัฐได้อย่างมีนัยสำคัญ