เปิดบันทึก MOU ไทย-เวียดนาม หนุนเศรษฐกิจ - การค้า สู่หุ้นส่วนยุทธศาสตร์รอบด้าน

15 พ.ค. 2568 | 23:40 น.
อัปเดตล่าสุด :16 พ.ค. 2568 | 01:20 น.

ไทย - เวียดนาม ประชุมร่วมระดับนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี ครั้งที่ 4 พร้อมลงนาม MOU ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการค้า ส่งเสริมความสัมพันธ์ทวิภาคีอย่างรอบด้าน มุ่งสู่การเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์

วันนี้ ( 16 พฤษภาคม 2568 ) รายงานจากการประชุมร่วมระดับนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอย่างไม่เป็นทางการ (Joint Cabinet Retreat : JCR) ไทย - เวียดนาม ครั้งที่ 4 ได้มีบันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และ กระทรวงพาณิชย์ ประเทศไทยว่าด้วยความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการค้า ว่า กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามและกระทรวงพาณิชย์ ประเทศไทย

โดยพิจารณความร่วมมืออย่างฉันท์มิตรและการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้เข้าร่วมทั้งสองฝ่าย ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจจะนำไปสู่ผลประโยชน์ร่วมกันและการพัฒนาของผู้เข้าร่วมทั้งสองฝ่าย เพื่อสร้างกรอยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจและการค้าระหว่างผู้เข้าร่วมทั้งสองฝ่ายบนพื้นฐานความเสมอภาค

รวมถึงความสัมพันธ์ทวิภาคีสู่การเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์อย่างรอบด้านเพื่อบรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจและการค้าร่วมกันระหว่างเวียดนามและไทย

 

ทั้งนี้ ตามข้อกำหนดของบันทึกความเข้าใจฉบับนี้ และนโยบาย กฎหมาย กฎเกณฑ์ และกฎระเบียบ ที่เกี่ยวข้องของผู้เข้าร่วมทั้งสองฝ่าย ผู้เข้าร่วมทั้งสองฝ่ายจะ

1. เสริมสร้างความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการค้าระหว่างผู้เข้าร่วมทั้งสองฝ่ายบนพื้นฐานความสนใจร่วมกัน

2.อำนวยความสะดวกและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในความร่วมมือด้านการค้าระหว่างทั้งสองประเทศ 

3. ใช้ประโยชน์จากความร่วมมือในระดับภูมิภาคและพหุภาคีที่ผู้เข้าร่วมทั้งสองฝ่ายเป็นสมาชิก เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการค้าในระดับทวิภาคีไป

 

 

 

 

สำหรับขอบเขตความร่วมมือผู้เข้าร่วมทั้งสองฝ่ายจะส่งเสริมความร่วมมือในสาขาดังต่อไปนี้

การอำนวยความสะดวกทางการค้า

  • ผู้เข้าร่วมทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องถึงความสำคัญที่จะขจัดอุปสรรคทางการค้า เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างทั้งสองประเทศ

 

  • ผู้เข้าร่วมทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องถึงความส าคัญที่จะอ านวยความสะดวกทางการค้าระหว่างทั้งสองประเทศ ซึ่งรวมถึงผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร (เช่น ผลไม้ผัก และสินค้าประมง) โดยให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง

การส่งเสริมการค้า

  • ผู้เข้าร่วมทั้งสองฝ่ายจะดำเนินการอย่างต่อเนื่องที่จะสนับสนุนการจัดงานและกระตุ้นให้ผู้ประกอบการของฝ่ายตนเข้าร่วมในกิจกรรมส่งเสริมการค้า เช่น งานแสดงนิทรรศการ/สินค้า การจับคู่ธุรกิจ และการแลกเปลี่ยนการเยือน ของคณะผู้แทนการค้าในแต่ละประเทศ

 

  • ผู้เข้าร่วมทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะหาแนวทางความเป็นไปได้ในการสนับสนุนสินค้าเวียดนามและไทยให้วางขายในร้าน/ระบบการค้าปลีกในทั้งสองประเทศ

มาตรการเยียวยาทางการค้า

  • ผู้เข้าร่วมทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องว่ามาตรการเยียวยาทางการค้าต่อสินค้าของทั้งสองประเทศควรใช้เมื่อจำเป็นและสอดคล้องกับความตกลง WTO เพื่อส่งเสริมการพัฒนาการค้าระดับทวิภาคี และปกป้องผลประโยชน์ของอุตสาหกรรมภายใน ผู้บริโภค และประโยชน์สาธารณะในแต่ละประเทศ

 

  • ผู้เข้าร่วมทั้งสองฝ่ายจะให้ข้อมูลต่ออีกผู้เข้าร่วมหนึ่งโดยเร็วถึงความเป็นไปได้ในการใช้มาตรการเยียวยาทางการค้า (ถ้ามี) เพื่อให้กระบวนการไต่สวนเป็นไปตามกฎเกณฑ์ของ WTO และความสัมพันธ์ฉันท์มิตรระหว่าง สองประเทศ

 ความร่วมมือในกรอบด้านเศรษฐกิจและการค้าระดับพหุภาคี

  • ผู้เข้าร่วมทั้งสองฝ่ายมุ่งมั่นที่จะเสริมสร้างความร่วมมือเพื่อรวมตัวทางเศรษฐกิจระหว่างทั้งสองประเทศในการมุ่งสู่วิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียน 2045

 

  • ผู้เข้าร่วมทั้งสองฝ่ายเน้นย้ำความสำคัญของการขยายความร่วมมือทวิภาคีและการสนับสนุนระหว่างกัน เพื่อมุ่งสู่การมีส่วนร่วมอย่างมีประสิทธิผลในกรอบพหุภาคีและภูมิภาค เช่น WTO, RCEP, ASEAN, GMS, ACMECS และ CLMVT Forum

สาขาอื่น ๆ

  • ผู้เข้าร่วมทั้งสองฝ่ายจะท างานร่วมกันเพื่อสนับสนุนนโยบายด้านธุรกิจและสภาพแวดล้อมทางธุรกิจของแต่ละฝ่ายเพื่อสร้างเงื่อนไขที่เหมาะสมส าหรับภาคธุรกิจของผู้เข้าร่วมทั้งสองฝ่ายเพื่อขยายการค้าและการลงทุน

 

  • ผู้เข้าร่วมทั้งสองฝ่ายอาจพิจารณาเพิ่มความร่วมมือในสาขาอื่น ๆ ภายใต้บันทึกความเข้าใจฉบับนี้ตามที่เห็นพ้องร่วมกันโดยผู้เข้าร่วมทั้งสองฝ่าย

สำหรับบันทึกความเข้าใจฉบับนี้เป็นการแสดงถึงความตั้งใจของผู้เข้าร่วมทั้งสองฝ่ายที่จะร่วมมือบนพื้นฐานของผลประโยชน์ร่วมกัน และบันทึกความเข้าใจฉบับนี้ไม่ก่อให้เกิดพันธกรณีที่มีผลผูกพันทางกฎหมายระหว่างผู้เข้าร่วมทั้งสองฝ่าย ภายใต้กฎหมายภายในประเทศหรือกฎหมายระหว่างประเทศ และไม่ก่อให้เกิดสิทธิในกระบวนการทางกฎหมาย มีผลใช้บังคับในวันที่มีการก าหนดโดยผู้เข้าร่วมทั้งสองฝ่าย

โดยจะผลใช้บังคับ ระยะเวลา และการสิ้นสุด

1. บันทึกความเข้าใจฉบับนี้จะมีผลใช้บังคับในวันที่ผู้เข้าร่วมทั้งสองฝ่ายลงนาม และจะมีผลใช้บังคับต่อไปอีกห้าปีหลังจากนั้น จะต่ออายุโดยอัตโนมัติทุกห้าปีหรือตามที่ผู้เข้าร่วมทั้งฝ่ายกำหนดร่วมกัน

2. บันทึกความเข้าใจฉบับนี้จะแทนที่บันทึกความเข้าใจที่ได้ลงนามระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามและกระทรวงพาณิชย์แห่งราชอาณาจักรไทย เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2017 ณ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย

3.ผู้เข้าร่วมฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจขอให้บันทึกความเข้าใจนี้สิ้นสุด โดยการแจ้งผู้เข้าร่วมอีกฝ่ายถึงความประสงค์ที่จะสิ้นสุดบันทึกความเข้าใจ โดยแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรผ่านช่องทางการทูต อย่างน้อยล่วงหน้าหกเดือนก่อนวันที่ประสงค์ให้บันทึกความเข้าใจสิ้นสุด

4.การสิ้นสุดของบันทึกความเข้าใจฉบับนี้จะไม่มีผลกระทบต่อการดำเนินกิจกรรมหรือโครงการที่ได้รับความเห็นชอบจากผู้เข้าร่วมทั้งสองฝ่ายก่อนวันสิ้นสุดของบันทึกความเข้าใจฉบับนี้เว้นแต่ผู้เข้าร่วมทั้งสองฝ่ายเห็นชอบเป็นอย่างอื่น