“ซีพีเอฟ” ดันโครงการปกป้องทรัพยากรและระบบนิเวศทางทะเล สร้างความยั่งยืน

28 ส.ค. 2565 | 13:25 น.

“ขยะทะเล” เป็นหนึ่งในปัญหาสิ่งแวดล้อมสำคัญระดับโลก และเป็นวิกฤติที่หลายประเทศตระหนักและพยายามหามาตรการเพื่อลดปัญหาอย่างยั่งยืน ซีพีเอฟ ซึ่งประกอบธุรกิจทางด้านอาหาร จึงได้เชื่อมโยงการดำเนินธุรกิจเข้ากับการดูแลรับผิดชอบสังคมและสิ่งแวดล้อม

โดยซีพีเอฟได้ปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ และระบบนิเวศทางทะเล ล่าสุด ได้คิกออฟโครงการ “CPF Restore the Ocean” รวมพลังพิทักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศทางทะเลและมหาสมุทร

 

นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ กล่าวว่า โครงการ Restore the Ocean เป็นโครงการความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย ด้วยการลงมือทำ และเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินธุรกิจของ ซีพีเอฟ ที่ต้องการสร้างความมั่นคงและยั่งยืนในระบบอาหารของโลก ที่สอดรับกับแผนดำเนินงานด้าน ESG (Environmental Social Governance) ที่ให้ความสำคัญกับการดูแลสิ่งแวดล้อมและสังคม ปกป้องทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งสนับสนุนการเดินหน้าเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals : SDGs)

 

“ซีพีเอฟ” ดันโครงการปกป้องทรัพยากรและระบบนิเวศทางทะเล สร้างความยั่งยืน

 

 

อาทิ ระบบนิเวศทางทะเล ซึ่งโครงการ CPF Restore the Ocean เป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายดังกล่าว โดยสร้างความตระหนักสู่พนักงานของซีพีเอฟทั่วประเทศร่วมลดขยะและรวมพลังจิตอาสาเก็บขยะทะเล และบริหารจัดการขยะอย่างถูกวิธีตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ตามเป้าหมายกลยุทธ์ CPF Sustainability in Action 2030 สนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals : SDGs)

 

“ซีพีเอฟ” ดันโครงการปกป้องทรัพยากรและระบบนิเวศทางทะเล สร้างความยั่งยืน

 

“โครงการ CPF Restore the Ocean เป็นความร่วมมือในการลงมือทำโดยมีเป้าหมายลดขยะทะเล เนื่องจากหนึ่งในธุรกิจหลักของซีพีเอฟ คือ ธุรกิจสัตว์นํ้า บริษัทฯ จึงมีส่วนเกี่ยวข้องทางด้านทะเล ดังนั้น การปกป้องทะเล จึงเป็นหนึ่งภารกิจของเรา ซึ่งสอดรับตามหลักปรัชญา 3 ประโยชน์ คือ ประโยชน์ต่อประเทศ ประโยชน์ต่อประชาชน และประโยชน์ต่อบริษัทเป็นลำดับสุดท้าย เมื่อเราเข้าไปทำธุรกิจในประเทศใดก็ตาม ก็ต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในการปกป้องสิ่งแวดล้อมและสังคม ในพื้นที่ที่เราดำเนินธุรกิจ เพื่อสร้างความมั่นคง ซีพีเอฟ ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ด้วยการส่งเสริมการผลิต และการบริโภค ตลอดห่วงโซ่คุณค่า เพื่อให้เกิดการบริโภคอาหารอย่างปลอดภัย” นายประสิทธิ์กล่าว

 

“ซีพีเอฟ” ดันโครงการปกป้องทรัพยากรและระบบนิเวศทางทะเล สร้างความยั่งยืน

 

นอกจากนี้ได้รวมพลังสร้างการเปลี่ยนแปลงให้โลกดีขึ้น ด้วยการร่วมกันปกป้องทรัพยากร ธรรมชาติ และบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอกาศ ด้วยการลงมือทำ ส่งเสริมการผลิตและการบริโภคตลอดห่วงโซ่คุณค่า เกิดการบริโภคอาหารอย่างปลอดภัย

 

“ซีพีเอฟ” ดันโครงการปกป้องทรัพยากรและระบบนิเวศทางทะเล สร้างความยั่งยืน

 

ที่ผ่านมา ซีพีเอฟ มีส่วนร่วมในการปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ ผ่านโครงการต่างๆ และการฟื้นฟูป่าชายเลน มีโครงการที่ทำมาอย่างต่อเนื่อง คือ โครงการ ซีพีเอฟ ปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลน ซึ่งกว่าที่โครงการจะประสบความสำเร็จในทุกวันนี้ ต้องอาศัยการลองผิดลองถูก และความร่วมมือของชุมชน จนสามารถสร้างความเข้าใจในกระบวนการปลูกป่าชายเลนอย่างแท้จริง และรู้วิธีการจัดการอย่างถูกวิธี

 

นอกจากนี้ ในการพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทางทะเล ซีพีเอฟ ร่วมกับภาคีเครือข่าย โดยเป็นสมาชิกในกลุ่มความร่วมมือ Seafood Business for Ocean Stewardship หรือ SeaBOS ซี่งในปี 2564 ได้ขับเคลื่อนเป้าหมายของ SeaBOS ตลอดห่วงโซ่อุปทานอาหารทะเลและการประมงต่อเนื่อง

 

“ซีพีเอฟ” ดันโครงการปกป้องทรัพยากรและระบบนิเวศทางทะเล สร้างความยั่งยืน

 

การดำเนินโครงการ CPF Restore the Ocean เป็นการผนึกกำลังจากภาคีเครือข่าย ภาครัฐ เอกชน ชุมชน และพนักงาน แก้ปัญหาปริมาณขยะในทะเล ผ่านการดำเนินกิจกรรมหลัก คือ กิจกรรมกับดักขยะทะเล กิจกรรมเก็บขยะชายหาด และกิจกรรมเก็บขยะท่าเรือ ซึ่งปัจจุบัน รวมพื้นที่ที่ดำเนินการไปแล้วทั้งหมด 32 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่อ่าวไทย-อันดามัน

 

“กิจกรรมกับดักขยะทะเล” เป็นการสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชนบริเวณปากแม่นํ้าลำคลอง เก็บและคัดแยกขยะ เพื่อไม่ให้ไหลลงสู่ทะเล นำร่องในพื้นที่ตำบลบางหญ้าแพรก จังหวัดสมุทรสาคร โดยตั้งแต่เดือนมกราคม - มิถุนายน 2565 สามารถกักเก็บขยะได้ 2,850 กิโลกรัม และเตรียมขยายต่อในพื้นที่ตำบลปากนํ้าประแส จังหวัดระยอง ซึ่งทั้งสองพื้นที่เป็นพื้นที่ที่ซีพีเอฟดำเนินโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลน

 

“กิจกรรมขยะชายหาด” เก็บขยะที่เกยตื้นบริเวณชายหาด รอบๆ สถานประกอบการของซีพีเอฟ สู่การพัฒนาต่อยอดเป็นอิฐมวลเบาจากที่พัฒนาจากแหอวนพลาสติก กระถางต้นไม้จากขยะโฟม เป็นต้น พร้อมทั้งสร้างศูนย์การเรียนรู้ด้านขยะทะเลในชุมชน

 

“กิจกรรมขยะคืนฝั่ง” ซึ่งซีพีเอฟ ได้ต่อยอดจากโครงการความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายซึ่งนำโดยกรมประมง ดำเนินงานส่งเสริมเรือประมง โดยชาวประมงเก็บขยะที่ลอยในทะเลกลับสู่ฝั่งและท่าเรือ สู่กระบวนการรีไซเคิล โดยนำขยะขวดพลาสติกมาผลิตเป็นเสื้อโปโลอัพไซคลิ่ง มอบให้พนักงานในธุรกิจสัตว์นํ้าของซีพีเอฟ สร้างความตระหนักรู้ถึงปัญหาขยะทะเล และร่วมดูแลและฟื้นฟูระบบนิเวศทางทะเลอย่างยั่งยืน เป็นเสื้อสีโทนนํ้าทะเล เพื่อสื่อถึงวัสดุต้นทางของเสื้อที่แปลงจากขวดพลาสติกที่เก็บจากทะเล

 

“ซีพีเอฟ” ดันโครงการปกป้องทรัพยากรและระบบนิเวศทางทะเล สร้างความยั่งยืน

 

“กิจกรรมเก็บขยะท่าเรือ” ซีพีเอฟได้ต่อยอดจากโครงการความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย ซึ่งนำโดยกรมประมง คือ โครงการขยะคืนฝั่ง ทะเลสวยด้วยมือเรา ส่งเสริมให้เรือประมงโดยชาวประมงเก็บขยะที่ลอยในทะเลกลับสู่ฝั่งและท่าเรือ สู่กระบวนการรีไซเคิล โดยนำขยะขวดพลาสติกมาผลิตเป็นเสื้อโปโลอัพไซคลิ่ง ซึ่งผสานความร่วมมือกับ GC และมอบให้พนักงานในธุรกิจสัตว์นํ้าของซีพีเอฟ สร้างความตระหนักรู้ถึงปัญหาขยะทะเล และร่วมดูแลและฟื้นฟูระบบนิเวศทางทะเลอย่างยั่งยืน เป็นเสื้อสีโทนนํ้าทะเล เพื่อสื่อถึงวัสดุต้นทางของเสื้อที่แปลงจากขวดพลาสติกที่เก็บจากทะเล

 

อีกหนึ่งกิจกรรมที่เกี่ยวกับการเก็บขยะท่าเรือ คือ “กิจกรรมขยะดีมีค่า” โดยศูนย์สวัสดิภาพและธรรมาภิบาลแรงงานประมงสงขลา (FLEC) ซึ่งเป็นศูนย์ฯที่มีซีพีเอฟร่วมกับ 6 ภาคีเครือข่ายตั้งขึ้น เพื่อดูแลคุณภาพชีวิตแรงงานประมงข้ามชาติและครอบครัว และในการดำเนินงานของศูนย์ฯระยะที่สอง (ปี 2564- 2568) มีการดำเนินการในรูปแบบของธนาคารขยะ ในกิจกรรม “ขยะดี มีค่า” สู่การสร้างรายได้และช่วยบรรเทาค่าใช้จ่ายของครัวเรือนจากการเข้าร่วมกิจกรรม

 

พร้อมกันนี้ ซีพีเอฟ ร่วมกับ บริษัท จีอีพีพี สะอาด จำกัด หรือ GEPP พัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อเก็บข้อมูลการเก็บกลับขยะสู่การนำมาใช้ประโยชน์ใหม่ ซึ่งครอบคลุม 32 แห่ง ทั่วประเทศ ทั้งอ่าวไทยและอันดามัน โดยในช่วงเริ่มต้นสามารถเก็บขยะได้ 8.9 ตัน โดยในส่วนนี้สามารถนำขยะที่ได้สู่การใช้ประโยชน์ใหม่ 2.6 ตัน ร่วมฟื้นฟูทรัพยากรทะเลซึ่งเป็นต้นทางสำคัญของระบบอาหารที่ยั่งยืน

 

“CPF Restore the Ocean” เป็นอีกหนึ่งโครงการหลักที่จะผลักดันให้ซีพีเอฟ เดินหน้าสู่เป้าหมาย Carbon neutrality และ Net Zero Emissions และยังเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินธุรกิจที่สะท้อนให้เห็นว่าบริษัทตระหนักถึงประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environmental Social Governance)