"บัตรทอง" แนวทางใช้สิทธิเจ็บป่วยทั่วไป-เจ็บป่วยฉุกเฉิน เช็คเลย

20 ก.ค. 2565 | 07:20 น.

"สิทธิบัตรทอง" เช็คคู่มือ- แนวทางใช้สิทธิกรณีเจ็บป่วยทั่วไป-เจ็บป่วยฉุกเฉิน-อุบัติเหตุ อัพเดทสิทธิบัตรทอง 30 บาท ครอบคลุมอะไรบ้างและอะไรที่ไม่ครอบคลุม ดูที่นี่

สิทธิบัตรทอง หรือบัตรทอง 30 บาท คือ สวัสดิการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ที่สามารถใช้เพื่อรักษาพยาบาลและส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคตามสิทธิประโยชน์ได้

 

 

คู่มือผู้ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพ

เจ็บป่วยทั่วไป

 

เจ็บป่วยทั่วไป หมายความว่า อาการเจ็บป่วย ที่ไม่ใช่อาการฉุกเฉิน ซึ่งอาจรอรับหรือเลือกสรรบริการสาธารณสุขในเวลาทำการปกติได้ โดยไม่ก่อให้เกิดอาการที่รุนแรงขึ้นหรือภาวะแทรกซ้อนตามมา

แนวทางการใช้สิทธิ

 

เข้ารับบริการที่หน่วยบริการประจำตามสิทธิ ติดต่อที่หน่วยบริการปฐมภูมิก่อนเสมอ

 

แจ้งขอใช้ "สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ" ก่อนรับบริการ พร้อมแสดงหลักฐานประกอบ ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน หรือเอกสารที่ทางราชการออกให้ที่มีรูปถ่าย มีเลขประจำตัวประชาชน หากเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ที่ยังไม่ได้ทำบัตรประจำตัวประชาชนให้ไช้ "สูติบัตร" แทน (ใบเกิด)

 

\"บัตรทอง\" แนวทางใช้สิทธิเจ็บป่วยทั่วไป-เจ็บป่วยฉุกเฉิน เช็คเลย

 

 

เจ็บป่วยฉุกเฉิน

 

เจ็บป่วยฉุกเฉิน หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับบาดจ็บ หรือมีอาการป่วยกะทันหัน ซึ่งเป็นภยันตรายต่อการดำรงชีวิต หรือการทำงานของอวัยวะสำคัญจำเป็นต้องได้ รับการประเมินการจัดการ และการบำบัดรักษาอย่างทันท่วงที เพื่อป้องกันการเสียชีวิต หรืออาการรุนแรงขึ้นของการบาดเจ็บหรืออาการป่วยนั้น

 

แนวทางการใช้สิทธิ
 

1.เข้ารับบริการกับหน่วยบริการของรัฐ หรือเอกชนที่ข้าร่วมโครงการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่อยู่ใกล้ที่สุดได้โดย ไม่จำกัดจำนวนครั้ง

 

2.แจ้งขอใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ก่อนรับบริการ พร้อมแสดงหลักฐานประกอบ ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน หรือเอกสาร ที่ทางราชการออกให้ที่มีรูปถ่าย มีเลขประจำตัวประชาชน หากเป็นเด็กอายุ ต่ำกว่า 15 ปี ที่ยังไม่ได้ทำบัตรประจำตัวประชาชนให้ใช้สูติบัตรแทน (ใบเกิด)

 

3.กรณีเข้ารับการรักษายังโรงพยาบาลเอกชนที่ไม่เข้าร่วมโครงการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ให้ติดต่อ สายด่วน สปสช. 1330 เพื่อแนะนำข้อมูลหรือประสานหาเตียงรองรับ ในการใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติต่อเนื่อง

 

\"บัตรทอง\" แนวทางใช้สิทธิเจ็บป่วยทั่วไป-เจ็บป่วยฉุกเฉิน เช็คเลย

 

กรณีอุบัติเหตุ

 

อุบัติเหตุ หมายความว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ หรือคาดคิดมาก่อนทำให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สิน บุคคลได้รับอันตรายทั้งร่างกายและจิตใจ อาจบาดเจ็บ พิการ หรือรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต

 

แนวทางการใช้สิทธิ

 

กรณีประสบอุบัติเหตุทั่วไป
 

1.เข้ารับบริการกับหน่วยบริการของรัฐหรือเอกชนที่เข้าร่วมโครงการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่อยู่ใกล้ที่สุดได้โดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง

 

2.แจ้งขอใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติก่อนรับบริการ พร้อมแสดงหลักฐานประกอบได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน หรือเอกสารที่ทางราชการออกให้ที่มีรูปถ่ายมีเลขประจำตัวประชาชน หากเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ที่ยังไม่ได้ทำบัตรประจำตัวประชาชนให้ใช้สูติบัตรแทน (ใบเกิด)

 

3.กรณีเข้ารับการรักษายังโรงพยาบาลเอกชนที่ไม่เข้าร่วม โครงการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ให้ติดต่อ สายด่วน สปสช. 1330 เพื่อแนะนำข้อมูลหรือประสานหาเตียงรองรับ ในการใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติต่อเนื่อง

 

กรณีประสบอุบัติเหตุจากรถ
 

1.แจ้งขอใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ก่อนรับบริการ พร้อมแสดงหลักฐานประกอบได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน หรือเอกสาร ที่ทางราชการออกให้ที่มีรูปถ่าย มีเลขประจำตัวประชาชน หากเป็นเด็กอายุ ต่ำกว่า 15 ปี ที่ยังไม่ได้ทำบัตรประจำตัวประชาชนให้ใช้สูติบัตรแทน (ใบเกิด)

 

2.กรณีเข้ารับการรักษายังโรงพยาบาลเอกชนที่ไม่เข้าร่วมโครงการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ให้ติดต่อ สายด่วน สปสช. 1330 เพื่อแนะนำข้อมูลหรือประสานหาเตียงรองรับ ในการใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติต่อเนื่อง

 

\"บัตรทอง\" แนวทางใช้สิทธิเจ็บป่วยทั่วไป-เจ็บป่วยฉุกเฉิน เช็คเลย

 

 

คู่มือผู้ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพ(อ่านเพิ่มเติมคลิกที่นี่)

 

 

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) อัพเดทสิทธิบัตรทอง 30 บาท ครอบคลุมอะไรบ้าง? เปิดข้อมูลสิทธิประโยชน์ฉบับ‘อัพเดท’ 7 มิ.ย.65 

 

ประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง ประเภทและขอบเขตของบริการสาธารณสุข พ.ศ.2565 เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2565 ระบุอย่างชัดเจนว่า สิทธิบัตทอง 30 บาท หรือสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ครอบคลุมสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง และอะไรที่ไม่ครอบคลุม ไม่สามารถใช้สิทธิได้

 

ครอบคลุมบริการที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต

 

1. บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค

 

2. การตรวจวินิจฉัยโรค

 

3. การตรวจและรับฝากครรภ์

 

4. การบำบัดและการบริการทางการแพทย์

 

5. ยา เวชภัณฑ์ อวัยวะเทียม และอุปกรณ์ทางการแพทย์

 

6. การทำคลอด

 

7. การกินอยู่ในหน่วยบริการ

 

8. การบริบาลทารกแรกเกิด

 

9. บริการรถพยาบาล หรือบริการพาหนะรับส่งผู้ป่วย

 

10. บริการพาหนะรับส่งผู้ทุพพลภาพ

 

11. การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและจิตใจ

 

12. บริการสาธารณสุขด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะ

 

13. บริการสาธารณสุขอื่นที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิตที่บอร์ด สปสช.กำหนดเพิ่มเติม

 

14.การบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาและสารเสพติด ยกเว้นการดำเนินการตามกฏหมายว่าด้วยยาเสพติด ที่มีกำหนดเกี่ยวกับการให้บริการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด

 

15.การบริการสาธารณสุขที่เกี่ยวกับอุบัติเหตุการประสบภัยจากรถ ยกเว้นการดำเนินการตามกฏหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ

 

16.การรักษาโรคเดียวกันที่ต้องใช้ระยะเวลารักษาตัวในโรงพยาบาลประเภทผู้ป่วยใน

 

สิ่งที่ไม่ครอบคลุม เบิกไม่ได้


1.เพื่อความสวยงาม โดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ 

 

2.การตรวจวินิจฉัยและการรักษาที่เกินความจำเป็นจากข้อบ่งชี้ทางการแพทย์

 

3.การรักษาที่อยู่ระหว่างการค้นคว้าทดลอง

 

4.การปลูกถ่ายอวัยวะที่ไม่ปรากฏตามบัญชีแนบท้าย

 

5.การบริการทางการแพทย์อื่น ตามที่บอร์ด สปสช.กำหนด

 

 

\"บัตรทอง\" แนวทางใช้สิทธิเจ็บป่วยทั่วไป-เจ็บป่วยฉุกเฉิน เช็คเลย

 

 

ที่มา : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ