สรุปข้อเรียกร้องลูกจ้าง "วันแรงงานแห่งชาติ 2565" ถึงนายกฯ

29 เม.ย. 2565 | 03:00 น.

1พ.ค. 2565 วันแรงงานแห่งชาติ ใกล้จะถึงเเล้ว ชวนมาดูข้อเรียกร้องของลูกจ้างที่แสดงพลังในการเรียกร้องสิทธิด้านแรงงานต่อรัฐส่งถึง “บิ๊กตู่” มีอะไรบ้าง

วันแรงงาน หรือวันแรงงานแห่งชาติ ปีนี้ตรงกับวันอาทิตย์ที่ 1 พฤษภาคม 2565 พี่น้องแรงงานก็จะได้หยุดพักผ่อนประจำปี

 

วันดังกล่าวถือเป็นหมุดหมายสำคัญที่แรงงานได้นัดรวมตัวกันภายใต้องค์กรและเครือข่ายต่างๆ เพื่อแสดงพลังในการเรียกร้องสิทธิด้านแรงงานต่อรัฐ ซึ่งเป็นธรรมเนียมที่ปฏิบัติต่อเนื่องมานาน

สภาองค์การลูกจ้างแห่งชาติ ข้อเรียกร้องมีด้วยกันทั้งหมด 8 ข้อ โดยเป็นข้อเรียกร้องของ 15 สภาองค์การลูกจ้าง

 

  1.  ให้รัฐบาลรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่ 87 ว่าด้วยเสรีภาพในสมาคมและคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว และฉบับที่ 98 ว่าด้วยเรื่องสิทธิในการรวมตัวและเจรจาต่อรอง
  2. ให้รัฐบาลเร่งดำเนินการนำร่าง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ....ฉบับแก้ไขเข้าสู่รัฐสภาเร่งด่วน
  3. ขยายวงเงินเพื่อลดหย่อนภาษีเงินได้ที่ลูกจ้างได้รับก้อนสุดท้าย ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน
  4. ให้รัฐบาลเพิ่มเติม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 อาทิ หามาตรการให้สถานประกอบการที่รับเหมาช่วงปฎิบัติตามกฏหมาย
  5. ปฎิรูปแก้ไขประกันสังคม อาทิ ปรับฐานการรับเงินบำนาญ ขยายอายุผู้ประกันตนจาก 15-60 ปีเป็น 15-70 ปี
  6. เร่งออกกฎหมายคุ้มครอง ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพแรงงานนอกระบบ
  7. จัดระบบกองทุนสวัสดิการเพื่อเลี้ยงชีพให้กับลูกจ้างรัฐวิสาหกิจให้เทียบเคียงกับระบบสวัสดิการภาคราชการ
  8. ให้แต่งตั้งคณะทำงานติดตามข้อเรียกร้อง

สรุปข้อเรียกร้องลูกจ้าง "วันแรงงานแห่งชาติ 2565" ถึงนายกฯ

ขณะเดียวกันประเด็นการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำก็ยังเป็นที่จับตา เพราะในหลายประเทศได้ให้น้ำหนักและความสำคัญกับคนงาน เนื่องจากเป็นตัวชี้วัดการเติบโตของระบบเศรษฐกิจ

 

คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) พร้อม สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ออกจดหมายเปิดผนึกถึงรัฐบาล และ พล.อ.ประยุทธ์  เรียกร้องให้เร่งรัดการพิจารณาปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำให้กับผู้ใช้แรงงานทั่วประเทศ ในอัตราเดียวกัน 492 บาท  

สรุปข้อเรียกร้องลูกจ้าง "วันแรงงานแห่งชาติ 2565" ถึงนายกฯ สรุปข้อเรียกร้องลูกจ้าง "วันแรงงานแห่งชาติ 2565" ถึงนายกฯ สรุปข้อเรียกร้องลูกจ้าง "วันแรงงานแห่งชาติ 2565" ถึงนายกฯ

หลังจากใช้ความพยายามในการผลักดันให้รัฐบาลปรับค่าจ้างขั้นต่ำ เพราะสถานการณ์เศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั้งของไทย และทั่วโลกที่สูงขึ้นต่อเนื่อง ราคาสินค้า อาหารการกิน เครื่องมือ เครื่องใช้ ราคาน้ำมัน ก๊าซหุงต้ม ปรับราคาพุ่งสูงขึ้น

 

การเผชิญกับโควิด ทำให้คนงานจำนวนไม่น้อยตกงาน ว่างงาน ขาดรายได้  บางคนทำงานที่บ้าน (Work from home) ต้องแบกรับภาระจากค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา ค่าโทรศัพท์ ค่าอินเตอร์เน็ต แทนผู้ประกอบการ สวนทางกับค่าจ้างไม่ได้มีการปรับมาเกือบ 3 ปีแล้ว 

 

การปรับค่าจ้างขั้นต่ำในประเทศไทยเกิดขึ้นเมื่อ วันที่ 1 มกราคม 2563 แบ่งออกเป็น 10 ราคา ตามเขตพื้นที่ คือ 313, 315, 320, 323, 324, 325, 330, 331, 335 และ 336 บาท อ้างอิงตามประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่องอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ฉบับ 10 

 

ค่าแรงขั้นต่ำ 2565 แยกตามพื้นที่ 77 จังหวัด

  1.  กรุงเทพมหานคร วันละ 331 บาท
  2. กระบี่ วันละ 325 บาท
  3. กาญจนบุรี วันละ 320 บาท
  4. กาฬสินธุ์ วันละ 323 บาท
  5. กำแพงเพชร วันละ 315 บาท
  6.  ขอนแก่น วันละ 325 บาท
  7.  จันทบุรี วันละ 323 บาท
  8. ฉะเชิงเทรา วันละ 330 บาท
  9. ชลบุรี วันละ 336 บาท
  10. ชัยนาท วันละ 320 บาท
  11. ชัยภูมิ วันละ 315 บาท
  12. ชุมพร วันละ 315 บาท
  13. เชียงราย วันละ 315 บาท
  14.  เชียงใหม่ วันละ 325 บาท
  15. ตรัง วันละ 315 บาท
  16. ตราด วันละ 325 บาท
  17.  ตาก วันละ 315 บาท
  18. นครนายก วันละ 323 บาท
  19. นครปฐม วันละ 331 บาท
  20. นครพนม วันละ 320 บาท
  21.  นครราชสีมา วันละ 325 บาท
  22. นครศรีธรรมราช วันละ 315 บาท
  23.  นครสวรรค์ วันละ 320 บาท
  24.  นนทบุรี วันละ 331 บาท
  25.  นราธิวาส วันละ 313 บาท
  26. น่าน วันละ 320 บาท
  27. บึงกาฬ วันละ 320 บาท
  28.  บุรีรัมย์ วันละ 320 บาท
  29.  ปทุมธานี วันละ 331 บาท
  30.  ประจวบคีรีขันธ์ วันละ 320 บาท
  31. ปราจีนบุรี วันละ 324 บาท
  32.  ปัตตานี วันละ 313 บาท
  33. พระนครศรีอยุธยา วันละ 325 บาท
  34.  พังงา วันละ 325 บาท
  35. พัทลุง วันละ 320 บาท
  36. พิจิตร วันละ 315 บาท
  37. พิษณุโลก วันละ 320 บาท
  38.  เพชรบุรี วันละ 320 บาท
  39.  เพชรบูรณ์ วันละ 320 บาท
  40.  แพร่ วันละ 315 บาท
  41. พะเยา วันละ 320 บาท
  42. ภูเก็ต วันละ 336 บาท
  43.  มหาสารคาม วันละ 315 บาท
  44. มุกดาหาร วันละ 323 บาท
  45.  แม่ฮ่องสอน วันละ 315 บาท
  46.  ยะลา วันละ 313 บาท
  47.  ยโสธร วันละ 320 บาท
  48.  ร้อยเอ็ด วันละ 320 บาท
  49.  ระนอง วันละ 315 บาท
  50. ระยอง วันละ 335 บาท
  51. ราชบุรี วันละ 315 บาท
  52.  ลพบุรี วันละ 325 บาท
  53. ลำปาง วันละ 315 บาท
  54.  ลำพูน วันละ 315 บาท
  55. เลย วันละ 320 บาท
  56.  ศรีสะเกษ วันละ 315 บาท
  57.  สกลนคร วันละ 323 บาท
  58. สงขลา วันละ 325 บาท
  59. สตูล วันละ 315 บาท
  60. สมุทรปราการ วันละ 331 บาท
  61.  สมุทรสงคราม วันละ 323 บาท
  62. สมุทรสาคร วันละ 331 บาท
  63. สระแก้ว วันละ 320 บาท
  64.  สระบุรี วันละ 325 บาท
  65. สิงห์บุรี วันละ 315 บาท
  66. สุโขทัย วันละ 315 บาท
  67. สุพรรณบุรี วันละ 325 บาท
  68. สุราษฎร์ธานี วันละ 325 บาท
  69. สุรินทร์ วันละ 320 บาท
  70. หนองคาย วันละ 325 บาท
  71.  หนองบัวลำภู วันละ 315 บาท
  72. อ่างทอง วันละ 320 บาท
  73.  อุดรธานี วันละ 320 บาท
  74. อุทัยธานี วันละ 315 บาท
  75.  อุตรดิตถ์ วันละ 320 บาท
  76. อุบลราชธานี วันละ 325 บาท
  77.  อำนาจเจริญ วันละ 315 บาท

 

ย้อนกลับไปก่อนหน้านี้ รัฐบาลโดยพรรคพลังประชารัฐ ได้แถลงนโยบายต่อสาธารณะว่า จะปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำอย่างน้อยวันละ 425 บาท จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่ดำเนินการตามที่ได้หาเสียงไว้  คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) และสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ได้เคยยื่นเสนอหลักการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 360 บาท 421 บาท และ 700 บาท โดยปรับเท่ากันทั่วประเทศ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2552-2560

 

เหตุผลในการขอปรับเพิ่มนั้นมาจากการสำรวจความคิดเห็นจากผู้ใช้แรงงานในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ที่ความเดือดร้อนค่าจ้างไม่พอที่จะเลี้ยงตนเองและครอบครัว แม้กระทั่งลูกจ้างในภาครัฐที่รัฐเป็นผู้จ้างงานเองแต่กลับไม่ได้รับค่าจ้างขั้นต่ำตามที่รัฐประกาศโดยอ้างว่าลูกจ้างภาครัฐไม่อยู่ภายใต้กฎหมายคุ้มครองแรงงาน

 

ข้อมูลการสำรวจจากความเดือดร้อนของคนงานทุกภูมิภาคของประเทศ เมื่อเดือนกันยายน 2560

  • ค่าใช้จ่ายรายวันๆ ละ 219.92 บาท เดือนละ 6,581.40 บาท (ค่าเดินทาง ค่าอาหาร)
  • ค่าใช้จ่ายรายเดือน (เช่น ค่าน้ำประปา ไฟฟ้า ค่าเช่าบ้าน ผ่อนบ้าน ค่าโทรศัพท์ อินเตอร์เน็ต การศึกษาบุตร ดูแลบุพการี ค่าใช้จ่ายสิ่งของเครื่องใช้ในบ้าน) เดือนละ 14,771.52 บาท
  • นำค่าใช้จ่ายรายวัน และ รายเดือน มารวมกันจะอยู่ที่ 21,352.92 บาท เป็นค่าจ้างที่พอเลี้ยงครอบครัวได้อยู่ที่วันละ 712 บาท
  • แต่ คสรท. และ สรส. ได้ประชุมร่วมกันและมีมติเสนอตัวเลขในการปรับค่าจ้างเชิงประนีประนอมโดยคำนวณเฉพาะค่าใช้จ่ายรายเดือนมาเฉลี่ยด้วย 30 วัน