ส่องคืบหน้า “มอเตอร์เวย์บางขุนเทียน-บ้านแพ้ว” แก้รถติดพระราม 2 ถึงไหนแล้ว

02 ก.พ. 2565 | 10:38 น.

“ทล.” แบ่งเค้กเอกชน 10 สัญญา ลุยงานสร้างมอเตอร์เวย์เอกชัย-บ้านแพ้ว วงเงิน 1.8 หมื่นล้านบาท เร่งก่อสร้าง 3 ปี เตรียมชงคมนาคม-ครม.ไฟเขียวประมูลO&M ดึงเอกชนร่วมทุนPPP 30ปี ภายในปีนี้ พร้อมเปิดให้บริการปี 68

นายนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานในพิธีลงนามสัญญาและลงนามข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact : IP) โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษหมายเลข 82 สายทางยกระดับบางขุนเทียน - บ้านแพ้ว ช่วงเอกชัย - บ้านแพ้ว ตอน 1 – 10 ว่า ถนนพระราม 2 เป็นเส้นทางหลักเชื่อมสู่ภาคใต้ของประเทศ มีปัญหาจราจรติดขัดจนเป็นอุปสรรคต่อการเดินทางมาโดยตลอด พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จึงมีนโยบายให้กระทรวงคมนาคมเร่งแก้ไขปัญหาให้ลุล่วงโดยเร็ว โดยเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564 คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้างโครงการทางหลวงพิเศษหมายเลข 82 สายทางยกระดับบางขุนเทียน - บ้านแพ้ว ช่วงเอกชัย - บ้านแพ้ว โดยให้กรมทางหลวง (ทล.) ใช้เงินทุนค่าธรรมเนียมผ่านทาง มาดำเนินการในส่วนของงานโยธา กระทรวงฯ จึงได้สั่งการให้ ทล. เร่งดำเนินการหาผู้รับจ้างก่อสร้าง โดยการแก้ปัญหาจะต้องดำเนินการบนถนนพระราม 2 ตลอดแนวเส้นทาง และเชื่อมต่อเข้ากับโครงข่ายทางพิเศษ (การทางพิเศษแห่งประเทศไทย) ทางหลวงพิเศษ และทางหลวงแผ่นดิน (กรมทางหลวง) รวมระยะทาง 90.8 กิโลเมตร

 

 

 

 

 นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง กล่าวต่อว่า ปัจจุบันได้ลงนามสัญญาร่วมกับเอกชนแล้วสำหรับโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษหมายเลข 82 ช่วงเอกชัย - บ้านแพ้ว ระยะทางรวม 16.4 กม. วงเงินก่อสร้าง 18,759 ล้านบาท เริ่มดำเนนิการก่อสร้างเมื่อวันที่ 1 ก.พ.-15ม.ค.2568 ระยะเวลาก่อสร้าง 1,080 วัน และมีแผนเปิดให้บริการในปี 2568 โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 10 ตอน ดังนี้ ตอน 1 ระยะทาง 2.17 กิโลเมตร ผู้รับจ้าง บริษัท อุดมศักดิ์เชียงใหม่ จำกัด มูลค่างาน 1,757 ล้านบาท ,ตอน 2 ระยะทาง 2.19 กิโลเมตร ผู้รับจ้าง กิจการร่วมค้า กรุงธน-ไทย มูลค่างาน 1,861 ล้านบาท ,ตอน 3 ระยะทาง 1.06 กิโลเมตร ผู้รับจ้าง กิจการร่วมค้า วีเอ็น มูลค่างาน 1,910 ล้านบาท , ตอน 4 ระยะทาง 1.26 กิโลเมตร ผู้รับจ้าง บริษัท กรุงธนเอนยิเนียร์ จำกัด มูลค่างาน 1,876 ล้านบาท ,ตอน 5 ระยะทาง 1.66 กิโลเมตร ผู้รับจ้าง บริษัท บางแสนมหานคร จำกัด มูลค่างาน 1,903 ล้านบาท ,ตอน 6 ระยะทาง 1.10 กิโลเมตร ผู้รับจ้าง กิจการร่วมค้า ยูเอ็น-เอเอสไอ มูลค่างาน 1,865 ล้านบาท, ตอน 7 ระยะทาง 1.43 กิโลเมตร พร้อมสะพานข้ามแม่น้ำท่าจีน มูลค่างาน 1,868 ล้านบาท ผู้รับจ้าง บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) , ตอน 8 ระยะทาง 2.15 กิโลเมตร ผู้รับจ้าง กิจการร่วมค้า ซีซีเอสพี-เดอะซีอีซี มูลค่างาน 1,910 ล้านบาท , ตอน 9 ระยะทาง 2.14 กิโลเมตร ผู้รับจ้าง กิจการร่วมค้า ซีเอ็มซี-ทีบีทีซี มูลค่างาน 1,859 ล้านบาท ,ตอน 10 ระยะทาง 1.13 กม. ผู้รับจ้าง กิจการร่วมค้า เอส.เค. มูลค่างาน 1,946 ล้านบาท

ส่องคืบหน้า “มอเตอร์เวย์บางขุนเทียน-บ้านแพ้ว” แก้รถติดพระราม 2 ถึงไหนแล้ว

ส่วนการดำเนินงานและบำรุงรักษา (O&M) วงเงิน 12,000 ล้านบาท รูปแบบการลงทุน PPP Net Cost อายุสัญญาสัมปทาน 30 ปี  ทล. อยู่ระหว่างเตรียมเสนอรูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (Purchasing Private Partnership: PPP) ให้กระทรวงฯ พิจารณา เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบต่อไป คาดว่าจะสามารถประมูลได้ภายในปี 2565 และดำเนินการติดตั้งระบบในปี 2566 - ปลายปี 2567 จากนั้นจึงเปิดให้ประชาชนวิ่งฟรีทดสอบระบบและเปิดให้บริการเต็มรูปแบบได้ภายในปี 2568  โดยจะใช้การเก็บค่าผ่านทางแบบไร้ไม้กั้นโดยเทคโนโลยี AI (Artificial Intelligence) ด้วยระบบ M-Flow

 

 

ส่องคืบหน้า “มอเตอร์เวย์บางขุนเทียน-บ้านแพ้ว” แก้รถติดพระราม 2 ถึงไหนแล้ว
ทั้งนี้โครงการก่อสร้างทางยกระดับบนทางหลวงหมายเลข 35 สายธนบุรี - ปากท่อ ช่วงบางขุนเทียน - เอกชัย ระยะทางรวม 8.3 กิโลเมตร ปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้าง ขณะนี้ การก่อสร้างมีความก้าวหน้า 57%  คาดแล้วเสร็จภายในปีนี้ ขณะที่ในอีก 5 ปีข้างหน้ากรมฯมีแผนก่อสร้างช่วงบ้านแพ้ว - ปากท่อ ระยะทาง 47.4 กิโลเมตร วงเงิน 50,000 ล้านบาท ปัจจุบันอยู่ระหว่างเตรียมดำเนินการของบประมาณปี 2566 เพื่อดำเนินการสำรวจออกแบบรายละเอียดของโครงการฯ คาดว่าจะนำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ภายในปี 2570 และดำเนินการก่อสร้าง 3 ปี เปิดให้บริการปี 2573 
 
 

ส่องคืบหน้า “มอเตอร์เวย์บางขุนเทียน-บ้านแพ้ว” แก้รถติดพระราม 2 ถึงไหนแล้ว

สำหรับรูปแบบโครงการเป็นทางยกระดับบนทางหลวงหมายเลข 35 (ถนนพระราม 2) ขนาด 6 ช่องจราจรไป - กลับ ตลอดเส้นทาง โดยมีสะพานข้ามแม่น้ำท่าจีน บริเวณ กม. ที่ 31 พร้อมด้วยด่านเก็บค่าผ่านทางและทางขึ้น - ลง จำนวน 4 แห่ง ซึ่ง ทล. จะบริหารจัดการอย่างรัดกุมระหว่างการก่อสร้าง เพื่อลดปัญหาการกีดขวางของการจราจรและอุบัติเหตุตามนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงคมนาคม