เปิดหนังสือ ฟังเหตุผล ปตท.นำทีมผู้ค้าก๊าซ LPG ร้องรัฐทบทวนเพิ่มสำรอง 2%

20 พ.ย. 2564 | 05:13 น.

เปิดหนังสือ ปตท.นำทีมผู้ค้าก๊าซ ค้านกรมธุรกิจพลังงานเพิ่มอัตราสำรองเป็น 2% จับตาปีหน้าราคา LPG พุ่งอีก 1 บาทต่อ กก.ยันสำรอง 1% ก็เพียงพอใช้ในประเทศ จี้ให้ทบทวน หรือยกเลิก

 

 

ตามที่กรมธุรกิจพลังงานได้มีหนังสือที่ พน 0402/ว 10707 ลงวันที่ 12 ตุลาคม 2564 เรื่อง กำหนดชนิดและอัตรา หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคำนวณปริมาณสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง

 

ทั้งนี้ในส่วนของก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) จะเพิ่มอัตราสำรองจากร้อยละ 1 เป็นร้อยละ 2 โดยให้มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 เป็นต้นไปนั้น จากประกาศของกรมธุรกิจพลังงานดังกล่าวส่งผลให้ผู้ประกอบการผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 ได้ทำการประชุมร่วมกันเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2564 โดยผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 ได้ทำหนังสือถึงกรมธุรกิจพลังงาน และมีความเห็นของแต่ละรายแนบท้าย

 

เปิดหนังสือ ฟังเหตุผล ปตท.นำทีมผู้ค้าก๊าซ LPG ร้องรัฐทบทวนเพิ่มสำรอง 2%

 

รายงานข่าวเผยว่า บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้ทำหนังสือถึงกรมธุรกิจพลังงาน วันที่ 26 ตุลาคม 2564 เรื่อง ข้อคิดเห็นเรื่องการเพิ่มอัตราสำรองก๊าซปี โตรเลียมเหลวเป็นร้อยละ 2 ที่ผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 ว่า ตามที่ทางกรมธุรกิจพลังงาน ได้มีหนังสือกำหนดให้อัตราสำรองก๊าซปี โตรเลียมเหลว เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1 เป็นร้อยละ 2 ทางบริษัท ปตท. มีความเห็น ดังนี้

 

1. ปตท. มีความเห็นสอดคล้องกับผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 ส่วนใหญ่ ที่ได้เข้าร่วมประชุมรับฟังความคิดเห็นการปรับปรุงอัตราสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายของก๊าซปิโตรเลียมเหลว ในวันที่ 24 สิงหาคม 2564 ให้คงอัตราสำรองไว้ที่ร้อยละ 1 ซึ่งเหมาะสมกับสถานการณ์และสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน

 

2.การเพิ่มอัตราสำรองก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นร้อยละ 2 ดังกล่าวเป็นการเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 โดยคิดเป็นต้นทุนที่สูงขึ้นและไม่เหมาะกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน ปตท. มีความมั่นใจว่าปริมาณสำรองที่จัดเก็บในปัจจุบัน เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า รวมทั้ง ปตท.มีปริมาณสำรองในรูปแบบของก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยที่สามารถผลิตก๊าซปิโตรเลียมเหลวได้ อีกทั้งโรงกลั่นภายในประเทศยังมีปริมาณสำรองในรูปแบบของน้ำมันดิบ ที่สามารถผลิตเป็นก๊าซปิโตรเลียมเหลวได้อีกทางหนึ่ง ปตท. มีความสามารถในการนำเข้าก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางเรือจากต่างประเทศ ซึ่งสอดคล้องกับสัญญานำเข้าระยะยาวจากผู้ค้าต่างประเทศ จึงทำให้ ปตท.สามารถนำเข้าได้อย่างรวดเร็ว ปตท. จึงมีความเห็นว่าอัตราปริมาณสำรองก๊าซปิโตรเลียมเหลว ร้อยละ 1 ยังเป็นปริมาณที่เพียงพอสำหรับความต้องการก๊าซปิโตรเลียมเหลวภายในประเทศ

 

 

เปิดหนังสือ ฟังเหตุผล ปตท.นำทีมผู้ค้าก๊าซ LPG ร้องรัฐทบทวนเพิ่มสำรอง 2%

 

 

ด้านบริษัท UNO GAS ได้ทำหนังสือเลขที่ UNO/077/2564 เรื่อง ขอให้ทบทวนเรื่องการเพิ่มสำรองเป็นร้อยละ 2 โดยทางบริษัท ยังมีความเชื่อมั่นว่าทางบริษัท ปตท.มีความสามารถจัดหาแก็สแลพีจิได้ทันต่อความต้องการภายในประเทศเพื่อรองรับการนำเข้าแอลพีจีในยามขาดแคลน และนโยบายการเพิ่มสำรอง จะใช้ก็ต่อเมื่อมีการเปิดเสรีการค้าขายปลีก และส่งก๊าชแอลพีจี ให้มีผู้นำเข้ามากกว่า 1 ราย เดิมคือ ปตท. และให้ผู้นำเข้าต้องเพิ่มลำรองคลังและท่าเรือรองรับและจนถึงปัจจุบันเงื่อนไขที่กำหนดไว้ก็ไม่สามารถมีผู้ค้าน้ำมันมาตรา 7 รายใด ทำตามเงื่อนไขได้ รัฐบาลก็ยังอุดหนุนราคาแอลพีจีและควบคุมการค้าแอลพีจีไม่ได้เปิดให้มีการค้าเสรีตามนโยบาย ทำให้การทำธุรกิจค้าแอลพีจี ตามมาตรา 7 ไม่ได้เพิ่มผลประกอบการหรือโอกาสทางธุรกิจเพิ่มขึ้นเลย

 

บริษัท อูโน่ แก๊ส จำกัด เห็นว่าการเพิ่มสำรองร้อยละ 2 เป็นการเพิ่มต้นทุนให้ผู้ประกอบการ  ซึ่งภาระต้นทุนนี้และปัจจัยราคาน้ำมันแพง ผู้บริโภคจะเป็นผู้รับภาระแทน ในนโยบายดังกล่าว ถือว่าเป็นหัวใจหลักในการบริหารราชการแผ่นดิน การออกกฎระเบียบใดๆ ควรทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวมมิใช่เพื่อผู้ค้ารายใดรายหนึ่ง

 

พร้อมกันนั้นทางบริษัท อูโน่ แก๊ส ได้ให้คำมั่นว่าถ้ามีผู้ประกอบการรายใดใช้เหตุผลในการสำรองก๊าซแอลพีจีเป็นร้อยละ 2 ดำเนินการทางกฎหมายกับท่านอธิบดีและกรมธุรกิจพลังงาน บริษัทฯ จะให้ความร่วมมือกับกรมอย่างสุดความสามารถ ดังนั้น บริษัท อูโน่ แก๊ส  หวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่านอธิบดี จะทบทวนคำสั่งลำรองก๊าซแอลพีจีจากร้อยละ 2 เหลือร้อยละ 1 เพื่อให้สอดคล้องกับเหตุการณ์ปัจจุบันและเพื่อลดผลกระทบต่อผู้บริโภคและผู้ประกอบการมาตรา 7

 

ด้านบริษัท พีเอพี แก๊ส จำกัด บริษัท แอตลาส เอ็นเนอยี่ จำกัด บริษัท ออร์คิด แก๊ส จำกัด บริษัท บิ๊กแก๊ส เทคโนโลยี จำกัด บริษัท ยูนิคแก๊ส แอนด์ ปิโตรเคมิคัลส์ จำกัด (มหาชน)  บริษัท สยามแก๊ส แอนด์ ปิโตรเคมีคัลส์ จำกัด (มหาชน) ต่างมีข้อคิดเห็นการเพิ่มอัตราสำรองก๊าซปิโตรเลียมเหลว เป็นร้อยละ 2 ที่สอดคล้องกับผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 ส่วนใหญ่ ว่าการเก็บสำรองร้อยละ 1 มีความเหมาะสม และ สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน

 

ทั้งนี้การเพิ่มอัตราสำรองก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นร้อยละ 2 นั้น  เป็นการเพิ่มการะให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 ซึ่งคิดเป็นต้นทุนที่สูงขึ้น ไม่เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ที่กำลังเกิดปัญหาจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และ ถูกซ้ำเติมด้วยการผันผวนของราคาน้ำมันซึ่งกระทบต้นทุน ทำใช้จ่ายด้านการขนส่งเป็นอย่างมากอีกทางหนึ่ง ซึ่งสุดท้ายเมื่อหลีกเกี่ยงสภาวะดันทุนที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องไม่ได้ ผู้คำน้ำมันตามมาครา 7 ต่างๆ ก็อาจจำเป็นที่จะต้องผลัดการะดันทุนที่สูงขึ้นนั้นให้เป็นภาระแก่ผู้บริโภคแทน

 

แหล่งข่าวผู้ประกอบการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงมาตรา 7 เปิดเผยว่า ตลาดแก๊สแอลพีจีในปัจจุบันนี้ มียอดร่วมการจำหน่ายอยู่ที่ประมาณ 280,000 ตันต่อเดือน การสำรองก๊าซเป็นร้อยละ 2 ผู้ประกอบการตามมาตรา 7 จะต้องทำการสำรองแก๊สเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว หรือประมาณกว่า 1,000 ล้านบาทต่อเดือน และจำนวนที่กล่าวมายังไม่รวมค่าขนส่ง ดอกเบี้ยที่ผู้ประกอบการกู้เงินมา ค่าเช่าคลังเก็บแก๊ส ค่าบริหารจัดการอีก

 

“หากผู้ประกอบการต้องแบกรับภาระต้นทุนที่สูงขึ้น มีความเป็นไปได้สูงที่ราคาแก๊สแอลพีจี ตั้งแต่ต้นปี 65 จะขยับตัวสูงขึ้นลิตรละ 1 บาทอย่างแน่นอน ผลที่ตามมาคือประชาชนเป็นผู้แบกรับภาระดังกล่าวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะฉะนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องรีบเข้ามาพิจารณาทบทวนในมาตรการดังกล่าวของ กรมธุรกิจพลังงาน ที่ออกประกาศโดยไม่คิดทบทวนถึงผลกระทบที่จะตามมา ว่า ประชาชนคนส่วนใหญ่ของประเทศจะได้รับความเดือดร้อนอย่างไร”     

 

รายงานข่าวเผยว่า ในประเด็นดังกล่าว ผู้ประกอบการผู้ค้าน้ำมันมาตรา 7 ได้ทำหนังสือร้องเรียนไปยังคณะกรรมาธิการการพลังงาน(กมธ.) สภาผู้แทนราษฎร เพื่อเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปชี้แจงถึงที่มาที่ไปแล้ว คาดในเร็ว ๆ นี้ กมธ.การพลังงานคงเรียกทุกฝ่ายชี้แจงในเรื่องดังกล่าว