ส่องแบบก่อสร้าง 6 "สถานีรถไฟความเร็วสูง" เปิดบริการปี 2569 ไทยลงทุน 100%

11 ต.ค. 2564 | 05:19 น.

ยลโฉมแบบก่อสร้าง 6 สถานี "รถไฟความเร็วสูง" เส้นทาง กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระหว่างการก่อสร้าง รองรับรถไฟความเร็วสูง เปิดบริการปี 2569 ไทยทุ่มงบประมาณ 1.79 แสนล้าน ลงทุนเอง 100%

11 ตุลาคม 2564 - Progressive Thailand เพจดังด้านอสังหาริมทรัพย์และโครงสร้างพื้นฐานของไทย รวบรวมภาพแบบก่อสร้าง 6 สถานี ในโครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง โดยรายละเอียดโครงการเบื้องต้นนั้น ประกอบไปด้วย ...

 

รถไฟความเร็วสูง กรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา

  • จำนวนสถานี : 6 สถานี ได้แก่ สถานีกลางบางซื่อ ดอนเมือง อยุธยา สระบุรี ปากช่อง และนครราชสีมา
  • ระยะทาง: 253 กม.
  • ความเร็วให้บริการ: 250 กม./ชม.
  • ชนิดรถไฟ: Fuxing Hao CR-300 series
  • งบประมาณโครงการ: 179,412.21 ล้านบาท (โดยไทยเป็นผู้ลงทุน 100%)
  • เปิดบริการในปี 2569

 

ส่องแบบก่อสร้าง 6 "สถานีรถไฟความเร็วสูง"  เปิดบริการปี 2569 ไทยลงทุน 100%

สถานีกลางบางซื่อ

สถานีกลางบางซื่อ ( Bangsue Grand Station) งบประมาณ34,142 ล้านบาทอาคารสถานีมีความยาว 596.6 เมตร ความกว้าง 244 เมตร ความสูง 43 เมตร พื้นที่ใช้สอยในอาคารรวม 274,192 ตารางเมตร (ไม่รวมพื้นที่สถานีใต้ดิน) จะเป็นสถานีรถไฟหลักแห่งใหม่ของประเทศไทย สถานีตั้งอยู่ใจกลางศูนย์คมนาคมพหลโยธินในพื้นที่ เขตจตุจักร กรุงเปิดใช้งานอย่างไม่เป็นทางการในเดือนมิถุนายน ปี2564 ที่ผ่านมา โดยถือเป็นสถานีรถไฟกลางที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีชานชาลามากถึง 26 ชานชาลา ตั้งเป้าเป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางระบบรางที่สำคัญที่สุดของประเทศไทย และของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ส่องแบบก่อสร้าง 6 "สถานีรถไฟความเร็วสูง"  เปิดบริการปี 2569 ไทยลงทุน 100%

สถานีดอนเมือง

ส่องแบบก่อสร้าง 6 "สถานีรถไฟความเร็วสูง"  เปิดบริการปี 2569 ไทยลงทุน 100%

สถานีนี้จะเป็นสถานีร่วมระหว่าง รถไฟฟ้าชานเมือง ,รถไฟทางไกล ,รถไฟความเร็วสูง และรถไฟเชื่อมท่าอากาศยาน ตัวสถานีมีความกว้าง 53.459 เมตร ยาวทั้งหมด 490 เมตร ชานชาลาของรถแต่ละประเภทจะยาวไม่เท่ากัน โดยชานชาลารถไฟความเร็วสูงยาวประมาณ 420 เมตร แบ่งเป็น 3 ชั้น 

 

  • ชั้นที่ 1 ชั้นจำหน่ายตั๋ว มี Paid Area แยก 3 จุด สำหรับแต่ละประเภทรถ
  • ชั้นที่ 2 ชานชาลารถไฟทางไกล และชานชาลารถ ARL
  • ชั้นที่ 3 ชานชาลารถไฟฟ้าชานเมือง และชานชาลารถไฟความเร็วสูง

ส่องแบบก่อสร้าง 6 "สถานีรถไฟความเร็วสูง"  เปิดบริการปี 2569 ไทยลงทุน 100%

 

สถานีอยุธยา 

ส่องแบบก่อสร้าง 6 "สถานีรถไฟความเร็วสูง"  เปิดบริการปี 2569 ไทยลงทุน 100%

สถานีอยุธยา รถไฟความเร็วสูง เป็นสถานีที่มีคุณค่าและความสำคัญในเชิงประวัติศาสตร์ รวมถึงการเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศไทย ขณะเกิดข้อพิพาทระหว่างการก่อสร้างมากมาย  หลังจากตำแหน่งตัวสถานี อยู่ห่างจากจุดอุทยานประวัติศาสตร์อยุธยาแค่ 1.5 กม. ส่วนบริเวณใกล้เคียงกับสถานีมีอาคารสูง 10 ชั้น ของโรงแรมกรุงศรีริเวอร์ และอาคารสูง 8 ชั้นของโรงแรมอโยธยาริเวอร์ไซด์ใกล้กัน โดยกระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างการพิจารณาปรับรูปแบบใหม่ เดิมมีลักษณะเป็น 3 ชั้น ขนาด หลังคากลางอาคารสูงสุด อยู่ที่ 46.00 เมตร 

  • ชั้นที่ 1 เป็นชานชลารถไฟทางไกล และรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง
  • ชั้นที่ 2 เป็นส่วนจำหน่ายตั๋วโดยสารและโถงพักคอย
  • ชั้นที่ 3 เป็นชานชลารถไฟความเร็วสูง สายอิสาน และ สายเหนือ  ส่องแบบก่อสร้าง 6 "สถานีรถไฟความเร็วสูง"  เปิดบริการปี 2569 ไทยลงทุน 100%

 

สถานีสระบุรี

ส่องแบบก่อสร้าง 6 "สถานีรถไฟความเร็วสูง"  เปิดบริการปี 2569 ไทยลงทุน 100%

สถานีรถไฟความเร็วสูงสระบุรี พิกัดบริเวณจุดตัดทางรถไฟกับเลี่ยงเมืองสระบุรี ด้านหลังของห้างโรบินสันสระบุรี และใกล้กับอ่างเก็บน้ำคลองเพรียว ลักษณะสถานี แบ่งเป็น 

  • ชั้นที่ 1 ชานชลารถไฟทางไกล (อนาคต)
  • ชั้นที่ 2 พื้นที่ขายตั๋วและเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสาร
  • ชั้นที่ 3 พื้นที่รอคอยรถไฟความเร็วสูง
  • ชั้นที่ 4 ชานชลารถไฟความเร็วสูง

ส่องแบบก่อสร้าง 6 "สถานีรถไฟความเร็วสูง"  เปิดบริการปี 2569 ไทยลงทุน 100%

 

สถานีปากช่อง

ส่องแบบก่อสร้าง 6 "สถานีรถไฟความเร็วสูง"  เปิดบริการปี 2569 ไทยลงทุน 100% ส่องแบบก่อสร้าง 6 "สถานีรถไฟความเร็วสูง"  เปิดบริการปี 2569 ไทยลงทุน 100%


สถานีนครราชสีมา

ส่องแบบก่อสร้าง 6 "สถานีรถไฟความเร็วสูง"  เปิดบริการปี 2569 ไทยลงทุน 100% ส่องแบบก่อสร้าง 6 "สถานีรถไฟความเร็วสูง"  เปิดบริการปี 2569 ไทยลงทุน 100% ส่องแบบก่อสร้าง 6 "สถานีรถไฟความเร็วสูง"  เปิดบริการปี 2569 ไทยลงทุน 100%

ส่องแบบก่อสร้าง 6 "สถานีรถไฟความเร็วสูง"  เปิดบริการปี 2569 ไทยลงทุน 100%
สำหรับความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงดังกล่าว ก่อสร้างแล้วเสร็จ 1 สัญญา คือ สัญญา 1-1 งานโยธาช่วงกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม.โดยมีกรมทางหลวง (ทล.) เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง 

โดยอยู่ระหว่างการก่อสร้าง 6 สัญญา ได้แก่

  1. สัญญา 2-1 งานโยธาช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กม. 
  2. สัญญา 3-2 งานอุโมงค์มวกเหล็กและลำตะคอง ระยะทาง 12.23 กม. 
  3. สัญญา 3-3 งานโยธาช่วงบันไดม้า-ลำตะคอง ระยะทาง 26.10 กม. 
  4. สัญญา 3-4 งานโยธาช่วงลำตะคอง-สีคิ้ว และช่วงกุดจิก-โคกกรวด ระยะทาง 37.45 กม.
  5. งานโยธาช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา ระยะทาง 12.38 กม.
  6. สัญญา 4-7 งานโยธาช่วงสระบุรี-แก่งคอย ระยะทาง 12.99 กม.

 

อ้างอิงภาพและข้อมูล : Progressive Thailand ,State Railway of Thailand, โรงเรียนวิศกรรมรถไฟ, Render Thailand, โครงสร้างพื้นฐานประเทศไทย, Design Concept Architect, Google Earth, ERailRoom, Daoreuk Communication