TikTok รับกระแส ‘วันเด็กแห่งชาติ 2564’ แนะผู้ใหญ่เข้าใจเด็กยุคดิจิทัล

09 ม.ค. 2564 | 10:57 น.

TikTok รับกระแส ‘วันเด็กแห่งชาติ 2564’ ชวนพ่อแม่ ผู้ปกครอง ทำความเข้าใจเด็กไทยในยุคดิจิทัล

     เด็กไทยยุคใหม่ที่เกิดมาพร้อมกับเทคโนโลยีที่อยู่รอบตัว ซึ่งถือเป็นเครื่องมือที่เข้ามาอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวันของพวกเขา อาทิ ติดต่อพูดคุยกับเพื่อน ค้นหาข้อมูลเพื่อการศึกษา การรับชมคอนเทนท์เพื่อความบันเทิง และการเรียนออนไลน์ในช่วงสถานการณ์ โควิด-19 ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นว่าการสื่อสารของเด็กไทยเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และในการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วนั้นอาจมีภัยทางออนไลน์แอบแฝงแบบไม่รู้ตัว ต่างจากยุคของพ่อแม่ ผู้ปกครอง ที่ไม่ได้เกิดมาพร้อมกับสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ จึงขาดความเข้าใจในการใช้งานออนไลน์ที่ต่างกับเด็กยุคใหม่ และเนื่องในโอกาส “วันเด็กแห่งชาติ 2564” นี้ หนึ่งสิ่งสำคัญของเด็กไทยที่พ่อแม่ ผู้ปกครอง ควรตระหนักและให้ความสำคัญ คือ การเข้าใจพฤติกรรมการใช้งานออนไลน์ของบุตรหลาน เพื่อให้เกิดการสื่อสารที่ปลอดภัยในยุคดิจิทัลตอบรับ “วันเด็กแห่งชาติปี 2564”

แนะผู้ปกครองทำความเข้าใจเด็กไทยยุคดิจิทัล

    TikTok เดินหน้าพัฒนาเทคโนโลยีและฟีเจอร์ เพื่อเป็นเกราะป้องกันภัยจากโลกออนไลน์ที่อาจเกิดขึ้น เนื่องด้วยสิ่งที่น่าเป็นกังวลสำหรับเด็กไทยยุคดิจิทัล คือ การอยู่กับหน้าจอมากเกินไปจนเกิดปัญหาด้านสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิต, ปัญหาการเสพติดหน้าจอ, การได้รับชมคอนเทนท์ที่ไม่เหมาะสม และการถูกคุกคามในออนไลน์ในหลากหลายรูปแบบ ซึ่งสอดคล้องกับผลสำรวจสถานการณ์เด็กไทยกับภัยออนไลน์ปี 2563 จากศูนย์ประสานงานขับเคลื่อนส่งเสริมและปกป้องคุ้มครองเด็กและเยาวชนในการใช้สื่อออนไลน์ (COPAT) ภายใต้ กรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมกับ มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่ได้ทำการสำรวจกลุ่มเด็กในช่วงอายุ 12-18 ปี ซึ่งผลการสำรวจพบหลายประเด็นที่น่าสนใจ ได้แก่เด็ก 89% เชื่อว่าโลกออนไลน์มีภัยหรือความเสี่ยงต่างๆ, 69% มีประสบการณ์ถูกกลั่นแกล้งในโลกออนไลน์ด้วยการถูกเรียกด้วยถ้อยคำที่หยาบคาย ดูหมิ่น และมีเด็ก 29% เคยนัดพบเพื่อนออนไลน์ เป็นต้น

 

     ทั้งนี้  “วันเด็กแห่งชาติปี 2564”   TikTok ช่วยให้ผู้ปกครอง สามารถดูแลการใช้แพลตฟอร์มของบุตรหลานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ด้วยฟีเจอร์ ต่างๆ ได้แก่  Screen Time Management หรือ การจำกัดเวลาใช้บนหน้าจอ ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถจำกัดเวลาได้ตั้งแต่ 40 นาที, 60 นาที, 90 นาที หรือสูงสุดที่ 120 นาทีต่อวัน  Restricted Mode หรือ การจำกัดเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม โดยเมื่อเปิดใช้ TikTok จะจำกัดการแสดงเนื้อหาที่อาจไม่เหมาะสมสำหรับผู้ชมในแต่ละกลุ่ม ช่วยให้ผู้ใช้สามารถควบคุมเนื้อหาที่ต้องการรับชมได้ โดยหากต้องการรับชมเนื้อหาที่ไม่ได้ถูกกลั่นกรอง จะต้องใส่รหัสพาสเวิร์ดที่ตั้งไว้ และ Direct Message หรือ การจำกัดผู้คนที่จะส่งข้อความ โดย TikTok ได้ปิดการรับส่งข้อความสำหรับผู้ใช้ที่มีอายุต่ำกว่า 16 ปีเพื่อเป็นการป้องกันคนแปลกหน้าที่จะเข้ามาสื่อสารโดยตรงกับกลุ่มเด็กและเยาวชน ซึ่งอาจเกิดเป็นภัยคุกคามได้ รวมถึง การค้นหา (Search): ที่ผู้ปกครองสามารถเข้าไปตั้งค่ากำหนดการค้นหาของบุตรหลานได้ ทั้งเนื้อหา ผู้ใช้ แฮชแท็ก และเสียง

 

      ขณะที่เรื่องของการแสดง ความคิดเห็น (Comments): ผู้ปกครองสามารถเข้าไปตั้งค่าได้ว่า ใครสามารถเข้ามาแสดงความคิดเห็นในวิดีโอโดยจะเลือกเปิดให้ทุกคนเข้ามาแสดงความคิดเห็น หรือเลือกเฉพาะคนที่รับเป็นเพื่อน หรืออาจจะตั้งค่าไม่ให้มีผู้เข้ามาแสดงความคิดเห็น รวมถึง การค้นหาและดูเนื้อหาในแอคเคาน์ (Discoverability): ผู้ปกครองสามารถเข้าไปตั้งค่าความเป็นส่วนตัวให้กับแอคเคาน์ของบุตรหลานได้ หรือกำหนดว่าใครที่สามารถเข้าถึงหรือดูเนื้อหาของบุตรหลานได้ รวมทั้งสามารถตั้งค่าเป็นสาธารณะที่เปิดให้ทุกคนสามารถค้นหาและดูเนื้อหาได้ และวิดีโอที่ชื่นชอบ (Liked videos): ผู้ปกครองสามารถกำหนดได้ว่า ใครที่จะสามารถดูวิดีโอที่บุตรหลานของคุณเข้าไปกดไลค์ หรือชื่นชอบได้