จุฬา พร้อมตรวจโควิด-19 ทั้งสายพันธุ์ปกติ-สายพันธุ์ผิดเพี้ยนเดือน พ.ค.

19 เม.ย. 2564 | 10:30 น.

หมอธีระวัฒน์เผยคณะแพทยศาสตร์จุฬาพร้อมตรวจโควิด-19 ทั้งสายพันธุ์ปกติและสายพันธุ์ผิดเพี้ยนเดือนพฤษภาคม

รายงานข่าวระบุว่า ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา (หมอธีระวัฒน์) ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว (ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha) โดยมีข้อความว่า  เชื้อจากแอฟริกา

ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ โรคอุบัติใหม่ สภากาชาดไทย คณะแพทยศาสตร์จุฬา ทราบในเมืองไทยตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563

การตรวจหาเชื้อยาก จากชุดตรวจ 2 แบบ ให้ผลบวก หนึ่งในสอง และจับไม่ได้ทุกท่อนของไวรัส ใน 77 รายที่ไม่มีอาการเลย และเชื้อที่ปล่อยออกมาให้ตรวจพบใน 15 รายนั้น กระปริบกระปรอย ไม่ได้ออกมา ตั้งแต่ต้น

การตรวจเลือด แทนที่ จะบวกทั้งหมดตั้งแต่วันแรก ในจำนวน 77 ราย บวก 11 ใน 15 และมาบวกต่อมาภายหลัง ปัญหาคือ ทั้งนี้ ถ้าเป็นเชื้อธรรมดา การตรวจเลือดจะให้ผลบวกตั้งแต่วันแรกของผู้ป่วยที่เข้าโรงพยาบาลโดยที่มีอาการและผลบวกไม่ขึ้นอยู่กับความหนักเบาของอาการโดยได้ผลบวกทั้งหมดทั้ง 98 ราย นอกจากนั้นเลือดจะให้ผลบวกเริ่มตั้งแต่สี่วันหลังจากที่มีการติดเชื้อและตั้งแต่วันแรกของการที่มีอาการ

สำหรับคนที่ไม่มีอาการเป็นจำนวน 55 รายที่มีการปล่อยเชื้อ ทำการตรวจในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 พบว่าทุกรายเลือดเป็นบวก ดังนั้นการตรวจเลือด จะเป็นทั้งการคัดกรองและวินิจฉัยตั้งแต่ตอนต้นของการติดเชื้อทั้งที่มีอาการและไม่มีอาการ รวมทั้งเลือดจะให้ผลบวกต่อไปอีกระยะหนึ่งซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละคนไม่สามารถบอกได้ชัดเจนว่าจะอยู่ได้กี่สัปดาห์หรือนานกี่เดือน

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา

ในกรณีของสายพันธุ์ที่ผิดเพี้ยนแตกต่างออกไปมากโดยเฉพาะจากแอฟริกา บราซิลและอังกฤษ ปัญหาจะอยู่ที่การวินิจฉัยโดย ถ้าตรวจได้ ลบ ไม่มีเชื้อจริงหรือไม่

ถ้าตรวจได้ บวก รู้ได้อย่างไร เป็น สายพันธุ์ปกติหรือกลายพันธุ์ และถึงแม้ว่าการตรวจสารพันธุกรรมของไวรัสจะสามารถออกแบบให้รู้ได้ว่าเป็นสายพันธุ์ปกติหรือสายพันธุ์ที่ผิดเพี้ยนไปมากก็ตามในสายที่อยู่ในความสนใจ เนื่องจากจะใช้วัคซีนไม่ได้ผลแต่ก็จะมีปัญหาเรื่องการตรวจที่จะยุ่งยากมากขึ้นและเสียค่าตรวจมากขึ้น และเป็นไปไม่ได้ที่จะต้องทำการถอดรหัสพันธุกรรมของทั้งตัวไวรัสในทุกคนทุกราย เพราะค่าใช้จ่ายสูงเป็นจำนวนหลาย 10,000 บาทต่อราย และตรวจเลือดขึ้นช้า ทำให้หลุดจากการวินิจฉัย และถึงแม้จะมีภูมิขึ้น ก็ขึ้นช้าไป

ที่ยืนยันจากเหตุการณ์ในเดือนตุลาคมก็คือขณะนี้ เดือน กุมภาพันธ์ 2564 เลือดบวกช้า กว่าปกติมาก

ปัญหาของกลุ่มผิดเพี้ยนเหล่านี้เกรงว่าจะไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแอฟริกัน บราซิลและอังกฤษ แต่คงจะมีมาเรื่อยๆ โดยที่ถ้าตรวจปูพรม คงบอกไม่ได้ว่าเป็นชนิดไหน ยกเว้นต้องทำหลายกลวิธีพร้อมกัน อย่างที่กล่าวข้างต้น ซึ่งค่าใช้จ่ายคงสู้ไม่ไหว แต่ที่กลัว คือ ได้ลบ เพราะจะมีสายพันธุ์ใหม่ๆโผล่ขึ้นมาตลอดเวลา

คงต้องอดใจรอ ประมาณเดือนพฤษภาคม 2564 ทางศูนย์จะเพียบพร้อมด้วยการตรวจที่แก้ปัญหาเหล่านี้ได้ทั้งหมด ทั้งตรวจ สายพันธุ์ปกติและสายพันธุ์ที่ผิดเพี้ยนไปทั้งหมดและควรที่จะเข้าถึงได้สำหรับคนไทยทุกคนโดยใช้งบประมาณน้อยมาก

ทำด้วยใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :