ติดเชื้อโควิด-19 หมอธีระวัฒน์ชี้มีวินัย รักษาระยะห่าง สายพันธุ์ไหนก็ไม่ต้องกลัว

11 เม.ย. 2564 | 09:15 น.

หมอธีระวัฒน์ยัน จะโควิด-19 สายพันธุ์ไหน หากมีวินัย รักษาระยะห่าง ไวรัสก็ทำอะไรไม่ได้

รายงานข่าวระบุว่า ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา (หมอธีระวัฒน์) ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว (ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha) โดยมีข้อความว่า ถ้าจะกลัวเรื่องสายพันธุ์...กลับมาถามตนเองว่ามีวินัยหรือไม่? 11/4/64

              ศ นพ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา (ชื่อนี้ นะครับ หมอธีร์ หรือ หมอดื้อ ไม่ใช่ชื่ออื่นๆ)

              จะสายไวรัส ไหนๆ ถ้ามีวินัย รักษาระยะห่าง ไวรัส ทำอะไรเราไม่ได้เด็ดขาด ....รับรอง

              การศึกษาที่รองรับเรื่องการ ผันแปรของรหัสพันธุกรรม ว่ามีผลจริงๆ คือต้อง พิสูจน์ให้ได้ว่าการผันแปรดังกล่าวส่งผลทำให้เกิดมีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นจริงหรือที่เรียกว่า Functional mutations เช่นรายงานจากประเทศจีนในเดือนมีนาคมและเมษายน 2563

              ผู้ป่วยติดเชื้อ 11 รายมีการ ผันของรหัสพันธุกรรมในตำแหน่งต่างๆของยีนของไวรัส อู๋ฮั่น อย่างน้อย 33 แห่งและเมื่อนำไวรัสไปศึกษาในเซลล์เพาะเลี้ยงพบว่ามีการเพิ่มจำนวนได้มากกว่าเดิมเป็น 100 เท่า หรือทำการศึกษาในหนูแฮมสเตอร์ หรือ ในตัวมิ้งค์ ที่มีการติดเชื้อ โควิด-19 จากคน และมีการแปรรหัสพันธุกรรมจนเป็นลักษณะเฉพาะตัวของมิ้งค์ และทำให้เกิดโรคได้หลายอวัยวะ เป็นต้น และมิ้งค์อาจจะเป็นสัตว์ทดลองที่เหมาะสมสำหรับการศึกษาการเกิดโรคและการใช้วัคซีนหรือยารักษา

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา

              ในขณะเดียวกันมีการจำลองลักษณะของไวรัสได้ง่ายขึ้นโดยจำลองโครงสร้างในรูปของโปรตีนและได้ข้อมูลเบื้องต้นว่าจะสามารถจับติดได้กับเซลล์มนุษย์หรือหลบลีกการมองเห็นจากภูมิกันจากร่างกายของมนุษย์ได้ดีเท่าใด และทั้งนี้โดยที่ต้องประสานกับข้อมูลของคนติดเชื้อในพื้นที่ซึ่งการดูข้อมูลในลักษณะนี้จะประเมินยากเพราะเกี่ยวข้องกับภาวะมีวินัยของคนในพื้นที่นั้นในเวลานั้นที่มีการแพร่ของเชื้อหนึ่งๆหรือเปล่า?

              การผันของรหัสพันธุกรรมของไวรัสใน “ท่อนต่างๆ” แม้จะอยู่ใน assemblage หรือ clade หรือที่ชอบเรียกว่า สายพันธ์เดียวกัน ที่ไม่ต้องเป็น variant of concern ด้วยซ้ำ ส่งผลให้มีการติดเชื้อซ้ำซ้อนครั้งที่สองแม้ว่าห่างกันจากการติดเชื้อครั้งแรกเพียงหกสัปดาห์โดยการติดเชื้อครั้งที่สองมีความรุนแรงกว่าครั้งแรก รายงานจากสหรัฐตั้งแต่ ตุลาคม 2563

              ดังนั้นการที่กล่าวถึงสายพันธุ์ใหม่จากอังกฤษ จากที่ต่างๆนั้นจำเป็นที่ต้อง พิจารณาถึงปัจจัยร่วมอย่างอื่น ในจุดผันแปรย่อยๆของยินของไวรัสทั้งหมดด้วย และต้องประกอบกับลักษณะของมนุษย์ที่ติดเชื้อแต่ละบุคคล พฤติกรรมการรับเชื้อ ปัจจัยด้อยที่ทำให้เปราะบาง และมีการให้การรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ ทันท่วงทีหรือไม่

              จะสายไหนๆ ถ้ามีวินัย รักษาระยะห่าง ไวรัส ทำอะไรเราไม่ได้เด็ดขาด ....รับรอง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :