เปิดนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ ผ้าพันศีรษะฉุกเฉิน และนาฬิกาจับเวลาขณะที่ผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้น

18 เม.ย. 2559 | 08:40 น.
นาฬิกา (3) จากการสรุปข้อมูลอุบัติเหตุ ทางถนนของศูนย์อำนวยการป้องกั นและลดอุบัติเหตุทางถนน (ศปถ.)  พบว่ามีผู้เสียชีวิต บาดเจ็บและป่วยฉุกเฉินจากการเดิ นทางในช่วงเทศกาลสงกรานต์ จำนวนมาก  ดังนั้นทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้ องจึงเตรียมมาตรการในการดู แลประชาชนที่เจ็บป่วยฉุกเฉินอย่ างเต็มที่  โดยสถาบันการแพทย์ฉุกเฉิ นแหงชาติ (สพฉ.) ได้ร่วมมือกับสถานพยาบาล หน่วยงานวิชาการทั้งภาครั ฐและเอกชนพัฒนานวัตกรรมในการช่ วยเหลือชีวิตผู้ป่วยฉุกเฉินให้ ได้รวดเร็วและมีประสิทธิ ภาพมากยิ่งขึ้น

ซึ่งในการจัดประชุมวิ ชาการการแพทย์ฉุกเฉินระดับชาติ ประจำปีพ.ศ. 2559 ในหัวข้อเคลื่อนวงล้อการแพทย์ฉุ กเฉินไทย ตัวแทนจากสถานพยาบาล หน่วยงานวิชาการทั้งภาครั ฐและเอกชนได้ร่วมกั นนำเสนอผลงานวิชาการประเภทนวั ตกรรมและสิ่งประดิษฐ์เพื่อช่ วยเหลือชีวิตผู้ป่วยฉุกเฉิน โดยหนึ่งในผลงานที่มีความน่ าสนใจเป็นอย่างมากคือ ผ้าพันศีรษะฉุกเฉิน หรือField Head saver ซึ่งเป็นหนึ่งในนวัตกรรมด้ านการแพทย์ฉุกเฉินที่คิดค้นขึ้ นโดยหน่วยงานอุบัติและฉุกเฉิน โรงพยาบาลเทิง จังหวัดเชียงราย

ปรีชา มะโนยศ เจ้าหน้าที่หน่วยงานอุบัติและฉุ กเฉิน โรงพยาบาลเทิง จังหวัดเชียงราย เล่าถึงที่มาที่ไปของการคิดค้ นนวัตกรรมชิ้นนี้ขึ้นมาว่า “ในการเกิดอุบัติเหตุจนทำให้ผู้ ป่วยฉุกเฉินได้รับบาดเจ็บที่ศี รษะ การช่วยเหลือห้ามเลือดให้กับผู้ ป่วยฉุกเฉินจะต้องทำอย่างรวดเร็ วและมีประสิทธิภาพ แต่ที่ผ่านมามีปัจจัยหลายทำให้ การปฐมพยาบาลเบื้องต้นในเคสผู้ ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะเกิ ดความล่าช้า  ไม่ว่าจะเป็นจากตัวผู้ป่วยเองที ่ไม่ให้ความร่วมมือเพราะผู้ป่ วยไม่สามารถครองสติของตนเองได้  นอกจากนี้ในผู้ป่วยฉุกเฉิ นบางราย มีความจำเป็นที่ต้องช่วยเหลือด้ วยการใส่ท่อช่วยหายใจ การผูกมัดหรือยึดตรึงไว้เพื่ อไม่ให้ท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุ ดด้วยมักจะเกิดปัญหาการเลื่ อนหลุดเมื่อพลาสเตอร์ที่ใช้ยึ ดตรึงไปสัมผัสกับสารคัดหลั่งเช่ นน้ำลายหรือเลือดของผู้ป่วยก็ จะทำให้เกิดการเลื่อนหลุดได้ง่ าย เราจึงได้ร่วมกันคิดค้นนวั ตกรรมผ้าพันศีรษะฉุกเฉิน หรือ Field Head saver ขึ้นมาเพื่อเป็นอุปกรณ์ในการช่ วยห้ามเลือดผู้ป่วยฉุกเฉินที่ ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ ป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการเสี ยเลือด และเพื่อลดการเลื่อนหลุดของท่ อช่วยหายใจในผู้ป่วยที่ต้องไดรั บการใส่ท่อช่วยหายใจ”  เจ้าหน้าที่หน่วยงานอุบัติ และฉุกเฉิน โรงพยาบาลเทิง จังหวัดเชียงรายกล่าว

ทั้งนี้จุดเด่นของนวัตกรรมผ้าพั นศีรษะฉุกเฉิน หรือ Field Head saver นั้น คือการประหยัดต้นทุนในการผลิต โดยการผลิตนั้นจะนำผ้าผันแผลอี ลาสติกมาตัดเย็บเป็นผ้าพันศี รษะฉุกเฉิน ที่มีความยืดหยุ่นและสามารถปรั บความกระชับต่อศีรษะและใบหน้ าเพิ่มแรงกดบาดแผลเพื่อประสิทธิ ภาพของการห้ามเลือดได้ โดยสามารถสวมให้ผู้ป่วยฉุกเฉิ นได้ทันที ไม่จำเป็นต้องยกศีรษะขึ้นลง และยังสามารถปิดได้ทั้งศี รษะโดยไม่รบกวนการประเมินผู้ป่ วย  นอกจากนี้ยังเป็นตัวกลางในการช่ วยยึดติดพลาสเตอร์ในการยึดท่อช่ วยหายใจอีกด้วย  ซึ่งผลการใช้ผ้าพันศีรษะฉุกเฉิ นกับผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บที่ ศีรษะพบว่าสามารถห้ามเลือดได้ดี   ลดระยะเวลาในการพันผ้า มีความสะดวกในการใช้ และที่สำคัญคือราคาประหยัดด้วย

อย่างไรก็ตามนอกจากนวัตกรรมผ้ าพันศีรษะฉุกเฉินแล้วยังมีอี กหนึ่งนวัตกรรมที่น่าสนใจไม่แพ้ กัน โดยนวัตกรรมชิ้นนี้ผลิตและคิดค้ นขึ้นโดย แผนกฉุกเฉิ นของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิ มพระเกียรติที่ใช้ชื่อนวั ตกรรมว่า “การพัฒนานาฬิกาจับเวลาขณะที่ผู ้ป่วยหัวใจหยุดเต้น”   โดย น้ำผึ้ง ขึ้นกันกง และ ธวัชชัย ไร่ดี เจ้าหน้าที่แผนกฉุกเฉิ นของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิ มพระเกียรติได้บอกเล่าถึ งแนวทางในการทำงานของนวัตกรรมชิ ้นนี้ว่า “การจับเวลาขณะปั๊มหัวใจเพื่อช่ วยเหลือชีวิตผู้ป่วยฉุกเฉินเป็ นหนึ่งในกระบวนการกู้ชีพ ซึ่งในทางปฏิบัติสากลนั้ นการกดหน้าอกต้องได้จำนวน 100-120 ครั้งต่อนาที และเปลี่ยนผู้ปั๊มหัวในทุก 2 นาที พร้อมกับให้ยากระตุ้นหัวใจทุก 3 นาที  อย่างไรก็ตามในสถานการณ์ฉุกเฉิ นนั้นบุคลากรทางการแพทย์มีไม่ เพียงพอ และสภาพแวดล้อมในการเข้าให้ การช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินก็ จะส่งผลต่อสมาธิของผู้จับเวลา อาจทำให้การจับเวลามี ความคลาดเคลื่อนและส่งผลให้ การช่วยเหลือชีวิตผู้ป่วยฉุกเฉิ นไม่มีประสิทธิภาพได้ ดังนั้นเราจึงได้ร่วมกันพั ฒนานวัตกรรมชิ้นนี้ขึ้นมาเพื่ อเป็นตัวช่วยในการจับเวลาให้กั บเจ้าหน้าที่ในการทำการกู้ชี พเพื่อป่วยฉุกเฉินที่หัวใจหยุ ดเต้นให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ ้น” เจ้าหน้าที่แผนกฉุกเฉิ นของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิ มพระเกียรติระบุ

สำหรับการทำงานของนาฬิกาจั บเวลาขณะที่ผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้ นนั้นมีหลักการทำงานโดยใช้ แสงไฟเตือนควบคู่กับการจับเวลา  โดยจะใช้สีของไฟและเสี ยงออดในการเตือนเวลา 2และ 3 นาที และมีจอแสดงผลด้วยตัวเลขดิจิ ตอลนับถอยหลังและเสียงเตื อนแบบไฟล์เอ็มพี 3บอกเวลาปัจจุบัน นอกจากนี้แล้วนาฬิกาจับเวลาทั้ง 2 ช่อง ยังสามารถปรับ จำนวนจังหวะที่เครื่องปรับได้ 100-200 ครั้ง/นาที   ซึ่งการปั๊มหัวใจโดยใช้นาฬิ กาจับเวลาขณะที่ผู้ป่วยหัวใจหยุ ดเต้นนี้จะช่วยเพิ่ มความสะดวกในการทำงานให้กับเจ้ าหน้าที่มากยิ่งขึ้นอีกด้วย

ด้าน นพ.อนุชา เศรษฐเสถียร เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉิ นแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวว่า  นวัตกรรมทั้งสองชิ้นนี้เป็นเพี ยงส่วนหนึ่งในการจัดประกวดพั ฒนาผลงานวิชาการ  นวัตกรรม และสิ่งประดิษฐ์เพื่อช่วยเหลื อชีวิตผู้ป่วยฉุกเฉินให้มีประสิ ทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งปีนี้มีหลายหน่วยงานได้ส่ งผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวั ตกรรมเข้ามาประกวดเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้สิ่งสำคัญที่สุดคื อผลงานทุกชิ้นที่ถูกจั ดแสดงในงานประชุมในครั้งนี้นั้ นมีคุณค่าทางด้านการช่วยเหลือชี วิตผู้คนให้รอดพ้นจากการเจ็บป่ วยฉุกเฉินและความตาย ซึ่งสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่ งชาติจะช่วยสนับสนุนการพั ฒนาผลงานต่างๆ เหล่านี้เพื่อให้ได้นำไปใช้ ในการช่วยเหลือชีวิตผู้ป่วยอย่ างแพร่หลายและเป็นรูปธรรมต่อไป