‘สบพ.’ชู 3 โปรเจ็กต์ ค่า 7.2 พันล.ปั๊มบุคลากรการบิน

05 ธ.ค. 2560 | 23:00 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

การเติบโตของธุรกิจการบิน หลังไทยถูกปลดธงแดง รวมไปถึงการขยายตัวของอุตสาหกรรมการบินในภูมิภาคเอเชีย และการขับเคลื่อนนโยบายระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก(อีอีซี) ให้เป็นมหานครการบิน ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลต่อความต้องการบุคลากรด้านการบินที่เพิ่มสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นภาคอากาศอย่างนักบิน และภาคพื้น เช่น ช่างซ่อมบำรุงอากาศยาน,การจัดการการบิน และส่วนสนับสนุนการบินต่างๆ ประกอบกับรัฐบาลเล็งเห็นความสำคัญในเรื่องนี้ ทำให้ในขณะนี้ทางสถาบันการบินพลเรือน (สบพ.) จึงได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาลในการขยายการลงทุนเพื่อผลิตบุคลากรในด้านนี้อย่างจริงจังเป็นครั้งแรกในรอบ 56 ปี นับจากจัดตั้งสถาบันแห่งนี้ขึ้นมา อ่านได้จากสัมภาษณ์ พล.ร.ต.ปิยะ อาจมุงคุณ ผู้ว่าการสถาบันการบินพลเรือน(สบพ.)

**การบินพุ่งหนุนนักบิน/ช่างโต
ก่อนไทยจะถูกปลดธงแดงจากองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศหรือ ICAO จากการตรวจสอบในภาคอากาศ พบว่านักบินที่มีปัญหาขาดแคลนจะเป็นนักบินที่มีประสบการณ์หรือกัปตัน เพราะสายการบินใหม่ ไม่ได้วางแผนผลิตนักบินให้ทัน จึงเกิดการดึงตัวนักบิน โดยการบินไทยถูกดึงตัวไปอยู่สายการบินอื่นมากที่สุด

[caption id="attachment_237799" align="aligncenter" width="335"] พล.ร.ต.
ปิยะ อาจมุงคุณ ผู้ว่าการสถาบันการบินพลเรือน(สบพ.) พล.ร.ต.
ปิยะ อาจมุงคุณ ผู้ว่าการสถาบันการบินพลเรือน(สบพ.)[/caption]

ส่วนนักบินจบใหม่ ไม่ได้มีปัญหาขาดแคลน และพบว่ามีนักบินจบใหม่จากโรงเรียนสอนการบินต่างๆไม่มีงานทำร่วม 300 คน ทำให้ในช่วงที่ผ่านมาก็มีบางคนเปลี่ยนอาชีพไปทำอย่างอื่นแทน บางคนเปลี่ยนวิธีจัดการตัวเอง โดยไปบินต่างประเทศ ถึงเวลาหนึ่งก็กลับมาเป็นนักบินในไทย เพราะนักบินไม่ใช่เป็นอาชีพที่เก็บสต๊อกได้เหมือนอาชีพอื่น

หลังปลดธงแดง ก็พบว่าไทยมีกำลังการผลิตนักบินราว 450-500 คนต่อปีทั้งจากสบพ. และโรงเรียนการบินต่างๆ รวมกัน ซึ่งหากรวมจำนวนนักบินใหม่ที่ตกงานอยู่ ก็ถือว่าเพียงพอแต่ก็มีแนวโน้มที่ขณะนี้แต่ละ
สายการบินมีการเปิดเส้นทาง
บินใหม่ รวมถึงเพิ่มจำนวนฝูง บินใหม่ ทำให้ความต้องการ นักบินมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งจากปริมาณการผลิตนักบินที่มีอยู่
ก็ถือว่าเพียงพออยู่ อีกทั้งจากข้อมูลของโบอิ้งและแอร์บัส จะเห็นถึงแนวโน้มการขยายตัวของการส่งมอบเครื่องบินในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ที่จะเห็นภาพ การเติบโตขึ้นในอนาคต

ดังนั้น หากรวมกำลังการผลิตนักบินของสบพ.และโรงเรียนการบินต่างๆคาดว่าต่อไปจะมีการผลิตนักบินใหม่ขยับจาก 400-500 คนต่อปี ขึ้นเป็น 600-700 คนต่อปีในอีก 3 ปีข้างหน้านี้

ขณะที่ด้านภาคพื้น สบพ. ก็เปิดการเรียนการสอนให้ครบทุกด้าน ซึ่งก็มองว่าปริมาณการผลิตในส่วนนี้ก็เพียงพอต่อความต้องการอยู่เช่นกัน และมีแนวโน้มขยายตัวหลังปลดธงแดงเช่นกัน รวมถึงการขับเคลื่อนโครงการลงทุนด้านการบินที่จะเกิดขึ้นในโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกหรืออีอีซี ที่จะเกิดขึ้นภายใน 4 ปีนี้ และการขยายศักยภาพและการพัฒนาของ สนามบินต่างๆ ของไทยที่จะเอื้อให้มีการเพิ่มจำนวนสายการบินเข้าไทยมากขึ้นสิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อความต้องการบุคลากรในด้านนี้ที่เพิ่มขึ้น

โปรโมทแทรกอีบุ๊ก-6 **สบพ.ผลิตบุคลากรเพิ่ม
สบพ.เป็นโรงเรียนการบินที่ได้รับมาตรฐานจาก ICAO เราก็มองเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนามาตรฐานของบุคลากรด้านการบิน และรัฐบาลชุดนี้ให้ความสำคัญ จึงได้อนุมัติงบให้สบพ.พัฒนาคนไว้รองรับ ผ่านการลงทุนที่จะเกิดขึ้นใน 3 โครงการ ภายใต้งบกว่า 7,200 ล้านบาท

โครงการที่ 1 คือ ในการก่อสร้างอาคารเรียน 18 ชั้น ที่สบพ. ซึ่งตั้งอยู่ที่จตุจักร
จ.กรุงเทพฯ ล่าสุดได้รับงบจากรัฐราว 1,400 ล้านบาท จะแล้วเสร็จช่วงปี 2564 หรือภายใน
อีก 4 ปีนี้ เพื่อตอบโจทย์การ
ผลิตบุคลากรทั้งด้านภาค
อากาศและภาคพื้น จากปัจจุบันที่สบพ.ผลิตราว 1,400 คน
ต่อปี เพิ่มเป็น 2 เท่า หรือราว 3,000 คน

โครงการที่ 2 คือ สบพ.มีแผนขยายกำลังการผลิตนักบิน ของศูนย์ฝึกนักบิน ที่อ.หัวหิน โดยเรามีแผนจะพัฒนาให้เป็นมาตรฐานสากล ที่จะเพิ่มกำลังการผลิตนักบิน จาก 80-100 คนต่อปี เป็น 160 คนต่อปี ซึ่งจะทำการศึกษาความเป็นไปได้ในเชิงธุรกิจ ราว 6 เดือนนี้และคาดว่าจะนำเรื่องเสนอครม. สำหรับการขอใช้งบลงทุนตามกรอบงบประมาณปี 2562 เบื้องต้นคาดว่าต้องใช้งบลงทุนราว 1,000 ล้านบาท ช่วง 3 ปี ในการซื้อเครื่องบินฝึกบิน การปรับปรุงต่างๆ ให้เป็นไปตามมาตรฐาน ICAO

mp22-3319-a **ผุดเทรนนิ่งป้อนMROอู่ตะเภา
โครงการที่ 3 คือ การจัดตั้งเทรนนิ่ง เซ็นเตอร์ ที่สนามบินอู่ตะเภา ที่สบพ.ได้ทำเอ็มโอยูร่วมกับทางกองทัพเรือ โดยจะผลิตช่างซ่อมบำรุงอากาศยานได้ราว 300 คนต่อปี ซึ่งคณะกรรม การอีอีซี แจ้งว่ารัฐบาลจัดสรรกรอบวงเงินลงทุน 5,900 ล้านบาท เพื่อรองรับการผลักดันเมืองการบินภาคตะวันออก ที่สนามบินอู่ตะเภา ใช้เวลาดำเนินการราว 3 ปีครึ่ง ซึ่งที่นั่นจะผลิตช่างอากาศยาน โดยเราจะมีการย้ายกองวิชาช่างบำรุงรักษาอากาศยาน และวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์การบิน ที่เปิดสอนอยู่ที่สบพ.จตุจักร ไปอยู่ที่เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์ ที่อู่ตะเภา เพื่อรองรับศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน (MRO) ของการบินไทยที่จะร่วมลงทุนกับแอร์บัส รวมไปถึงโรงงานผลิตชิ้นส่วนอากาศยานในพื้นที่อีอีซี

เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์ของสบพ.ที่สนามบินอู่ตะเภา จะจัดการเรียนการสอน ในลักษณะโรงเรียน+โรงงาน ที่จะต้องมีการพัฒนามาตรฐานของหลักสูตรที่สูงขึ้นไปอีก จากปัจจุบันที่สบพ. เป็น Full Member ICAO แต่
เราต้องปรับเพิ่มไปอีกให้เป็นมาตรฐานของสำนักงานความปลอดภัยด้านการบินแห่งสหภาพยุโรป (EASA) เพื่อรองรับโครง
การ MRO ศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศ ยานของการบินไทยและแอร์บัส เนื่องจากกระบวนการซ่อมบำรุงอากาศยานของแอร์บัสจะใช้มาตรฐาน EASA เราจึงต้องปรับระบบการจัดการเรียนการสอนให้รองรับศูนย์ซ่อมเครื่องบินแห่งนี้ ที่จะให้บริการทั้งเครื่องบินของแอร์บัสและโบอิ้ง

**หารือโบอิ้งเปิดศูนย์ฝึกบิน
นอกจากนี้ทางสบพ.ยังมีการหารือกับทางโบอิ้ง ถึงความเป็นไปได้ที่จะมีการลงทุนร่วมกัน เพื่อสร้างโรงเรียนการบิน เพื่อผลิตบุคลากรการบินให้กับทางโบอิ้งในภูมิภาคนี้ ซึ่งเรามอง
ทำเลการพัฒนาไว้ที่สนามบินร้อยเอ็ด เนื่องจากศูนย์ฝึกการบินสนามบินขอนแก่น ที่เราเคยดูไว้ มองว่าไม่น่าจะเหมาะสม เพราะรัฐบาลมีนโยบายผลักดันสนามบินขอนแก่นเป็นฮับบินในภาคอีสาน ทำให้การฝึกบินจะไม่สะดวก จากจำนวนเที่ยวบินเชิงพาณิชย์ที่จะมาใช้บริการสนามบินมากขึ้น ซึ่งความชัดเจนว่าโครงการนี้จะเกิดหรือไม่ ขึ้นกับนโยบายของรัฐบาล

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,319 วันที่ 3 - 6 ธันวาคม พ.ศ. 2560
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว