"เงินประกันรายได้เกษตรกร" ลุ้น เงินส่วนต่างราคาข้าว 5 ชนิด งวดที่ 10 วันพรุ่งนี้

10 ม.ค. 2564 | 09:45 น.

ตรวจสอบเงินประกันรายได้เกษตรกร จ่ายส่วนต่าง "ประกันราคาข้าว" งวด10 พรุ่งนี้ “เคาะประกันราคาข้าว งวดที่10” ลุ้น ข้าวชนิดใด จ่ายส่วนต่าง  ตรวจสอบ โอนเงิน https://chongkho.inbaac.com/

 

ความคืบหน้าโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64 หรือ "ประกันราคาข้าว" เพิ่มเติมจากกรอบวงเงินงบประมาณ 18,096 ล้านบาท เป็น 46,807.35 จำนวนเกษตรกรที่จะได้รับประโยชน์ กว่า 4.5 ล้านราย เกษตรกร สามารถตรวจสอบสถานะการโอนเงินได้ที่ลิ้งค์  https://chongkho.inbaac.com/

 

 

แหล่งข่าวคณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ในวันที่ 11 มกราคม 2563  ทางคณะอนุฯ จะมีการประชุมเคาะราคาประกันราคาข้าว ในโครงการประกันรายได้เกษตรกร ได้มีการประกันราคาข้าวเปลือก 5 ชนิด

 

ประกอบด้วย  ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 15,000 บาท ไม่เกิน 14 ตัน ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 14,000 บาท ไม่เกิน 16 ตัน ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 10,000 บาท ไม่เกิน 30 ตัน ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 11,000 บาท ไม่เกิน 25 ตัน ข้าวเปลือกเหนียว ตันละ 12,000 บาท ไม่เกิน 16 ตัน

 

“ผ่านมาถึง งวดที่ 10 แล้ว ต้องมาลุ้นกันว่า ราคาข้าวที่รัฐบาลจะจ่ายส่วนต่าง 5 ชนิด จะจ่ายชดเชยเท่าไร”

 

อย่างไรก็ดีจากการที่รัฐบาล ดำเนินโครงการประกันรายได้ข้าว  เริ่มที่จะมีสะดุดการเงินนั้น


 

สุเทพ คงมาก

 

นายสุเทพ คงมาก กรรมการในคณะกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติ (นบข.) และ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมชาวนาไทย กล่าวว่า "เงินประกันรายได้ข้าว" ซึ่งความจริงในตอนแรกที่ นบข.อนุมัติวงเงินเพิ่ม 4.88 หมื่นล้านบาท กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ไม่ควรไปปรับลดวงเงิน เพราะกรอบวงงบประมาณที่ นบข.ได้อนุมัติไว้ "เงินเหลือ ยังดีกว่าเงินขาด"  วันนี้เห็นแล้ว "เงินขาด" จะทำอย่างไร ในขณะที่ทุกคนต้องการเงินจากรัฐบาล ไม่ใช่อาชีพชาวนาอย่างเดียวแล้ว

 

“ยังไม่มีกำหนดการประชุม นบข. และต้องยอมรับตอนนี้ไม่มีประเด็นที่จะไปขอเงินเพิ่มในโครงการประกันรายได้เกษตรกร เพราะจริงๆ ประเมินแล้วขาดอยู่ประมาณกว่า 1 พันล้านบาท ที่จะใช้เคาะราคาประกันถึงเดือน กรกฎาคม 2564 แต่เชื่อว่า ตอนนี้คาดว่ากำลังเหตุผลที่จะมีการประชุม นบข. แต่มาช่วงในจังหวะที่สถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัส หรือ "โควิด-19" กำลังมาแรง และลุกลาม หากจะนำเรื่องโครงการประกันรายได้เกษตรกรมาหยิบพูด ไม่ใช่ในสถานการณ์คับขันแบบนี้ และไม่ชอบธรรมด้วย”

 

นายสุเทพ  กล่าวว่า วันนี้ถ้าเราชาวนาไทย เกษตรกร หากไม่มีโครงการประกันรายได้เกษตรกร  หรือ "เงินเยียวยาเกษตรกร" ที่มาจากรัฐบาล จะอยู่กันอย่างไร

 

 

 

รังสรรค์ สบายเมือง

 

ด้านนายรังสรรค์ สบายเมือง นายกสมาคมโรงสีข้าวไทย กล่าวว่า ที่ผ่านมาทางสมาคมก็พยายามบอกกับรัฐบาล ว่า การจ่ายเงินในโครงการประกันรายได้ ใน "ประกันราคาข้าว" เงินไม่ควรขาดตอน เพราะเป็นนโยบายอยู่แล้วก็ควรที่จะให้ ธ.ก.ส. โอนเงินเข้าบัญชีเกษตรกร ที่ได้รับเงินชดเชยข้าวในแต่ละชนิด อย่างต่อเนื่อง เพราะ ค่าของเงิน 100 บาท คนทั่วไป กับ ค่าของเงิน 100 บาทของ เกษตรกร ไม่เท่ากัน สรุปก็คือ การจ่ายเงินของเกษตรกร ไม่ควรที่จะขาดตอน

 

การดำเนินโครงการประกันรายได้ข้าว ได้กำหนดราคาอ้างอิงและระยะเวลาที่ใช้สิทธิขอชดเชย ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. – 31 ต.ค. 2563 (ยกเว้นภาคใต้ตั้งแต่วันที่ 16 มิ.ย. 2563 – 28 ก.พ. 2564) ซึ่งคณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ได้ประกาศราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงครั้งแรกวันที่ 9 พ.ย. 2563 เพื่อใช้ในการชดเชยส่วนต่างตามโครงการประกันรายได้ข้าวความชื้นข้าวเปลือกแต่ละชนิดไม่เกิน 15%

 

 

เกษตรกรผู้ปลูกข้าว สามารถตรวจสอบสถานะการจ่ายเงินรายได้ข้าวด้วยตัวเอง ดังนี้

 

  • เมื่อกดเข้าไปยังหน้าแรกของเว็บไซต์ดังกล่าว จะมีช่องให้กรอกเลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก

 

  • เมื่อใส่ครบกดค้นหา
  • หากเงินเข้าระบบแล้วจะมีการแจ้งว่าโอนเรียบร้อยแล้ว แต่หากยังไม่เข้าให้รอข้อมูลจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่ง ธ.ก.ส.จะทำการโอนให้เสร็จสิ้นภายใน 3 วันทำการ

"เงินประกันรายได้เกษตรกร" ลุ้น เงินส่วนต่างราคาข้าว 5 ชนิด งวดที่ 10 วันพรุ่งนี้

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ตรวจสอบเงินประกันรายได้เกษตรกร จ่ายส่วนต่าง "ประกันราคาข้าว" งวด9 ล่าสุด