กรมประมง เร่งจัดระเบียบการประมงฟื้นฟูแหล่งน้ำธรรมชาติ

30 เม.ย. 2559 | 05:49 น.
Breaking-News กรมประมง เร่งดำเนินการจัดระเบียบการเลี้ยงสัตว์น้ำ เพื่อฟื้นฟูในแหล่งน้ำธรรมชาติ ประเดิมออกประกาศ กำหนดให้ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำ ในที่สาธารณะทั่วประเทศ มายื่นคำขอรับใบอนุญาต ภายใน 11 พ.ค.นี้ หากฝ่าฝืนถูกปรับ สูงสุด 1 แสนบาท และปรับวันละ 10,000 บาท ตลอดระยะเวลาของการฝ่าฝืน ตั้งเป้ามีเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำมาขอรับใบอนุญาต 30,000 ราย

นายอดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 27 เมษายนที่ผ่านมา กรมประมงได้ออกประกาศกรมประมง เรื่องกำหนดให้ผู้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่ก่อนวันที่พระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 มีผลใช้บังคับ คือวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 มายื่นคำขอรับใบอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน (เบื้องต้น) ก่อนพระราชกำหนดวันที่พระราชกำหนดนี้มีผลบังคับใช้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามพระราชกำหนดนี้ ภายใน 180 วัน คือตั้งแต่วันนี้ – 11 พฤษภาคม 2559

ทั้งนี้ผู้ที่ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ที่จะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาต จะเป็นผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ทั้งในพื้นที่ทะเลและน้ำจืด ไม่ว่าจะเป็นการเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง การเพาะเลี้ยงหอย ฯลฯ ที่ได้ทำการเพาะเลี้ยงอยู่ก่อนวันที่ 14 พฤศจิกายน 2558 ไม่เป็นความผิดต่อบทบัญญัติของกฎหมาย ซึ่งการยื่นคำขอรับใบอนุญาตดังกล่าว จะต้องยื่นต่อทำ ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยพื้นที่กรุงเทพมหานคร ยื่นคำขอ ณ สำนักงานประมง พื้นที่กรุงเทพมหานคร ส่วนพื้นที่ต่างจังหวัดให้ยื่น ณ สำนักงานประมงจังหวัด สำนักงานประมงอำเภอ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง ศูนย์หน่วยบริหารจัดการด้านการประมง ในเขตพื้นที่ที่ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ซึ่งผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สามารถยื่นคำขอรับใบอนุญาตได้ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

อธิบดีกรมประมงกล่าวว่า หลังจากที่ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ได้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตเรียบร้อยแล้ว สามารถทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำต่อไปได้ จนกว่าจะมีคำสั่งแจ้งว่าไม่อนุญาต โดยการยื่นคำขอรับใบอนุญาตในครั้งนี้ เป็นการดำเนินการเพื่อไม่ให้เกษตรกรที่ได้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำ ซึ่งเป็นที่สาธารณะสมบัติของแผ่นดินมีความผิดตามที่กฎหมายกำหนด และพนักงานเจ้าหน้าที่จะออกใบรับคำขอให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นที่สาธารณะสมบัติของแผ่นดิน (เบื้องต้น) ไว้เป็นหลักฐาน เพื่อแสดงต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบ แต่ไม่ได้หมายความว่าผู้ที่ยื่นคำขอรับใบอนุญาตดังกล่าวได้รับการอนุญาตตามกฎหมายแล้ว เนื่องจากหลังจากนี้ กรมประมงจะนำข้อมูลที่ได้จากการยื่นคำขอรับใบอนุญาต (เบื้องต้น) มาเป็นฐานข้อมูลในการดำเนินการร่วมกับคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเพื่อประกอบการพิจารณากำหนดพื้นที่ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาอนุญาตตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดต่อไป และเมื่อมีการกำหนดพื้นที่และแนวทางสำหรับการขอรับใบอนุญาตในการพิจารณาอนุญาตเพื่อให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ตามมาตรา 79 เรียบร้อยแล้ว จึงให้เกษตรกรยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายกำหนดต่อไป

“การดำเนินครั้งนี้ เพื่อเป็นการจัดระเบียบการประมงทั่วประเทศ ให้สอดคล้องกับขนาดของแหล่งน้ำสาธารณะ เพื่อเป็นการรักษาและพื้นฟูสภาพแวดล้อมของแหล่งน้ำธรรมชาติเหล่านี้ เพราะเนื่องจากปัจจุบันมีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินเป็นจำนวนมาก ที่อาจมีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมในบางพื้นที่โดยปัจจุบันมีผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ที่ได้ข้อใบอนุญาตจำนวน 16,000 ราย และในการออกประกาศให้ ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำมายื่นคำขออนุญาตครั้งนี้ คาดว่าจะมีผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำมายื่นคำขอจำนวนทั้งสิ้น 30,000 ราย ทั้งนี้หากมีผู้ใดฝ่าฝืนไม่มายื่นคำขอ จะมีโทษตามมาตร 149 คือปรับตั้งแต10,000 บาท – 100,000 บาท และปรับวันละ 10,000 บาท ตลอดระยะเวลาที่มีการปรับ และต้องดำเนินการฟื้นฟูหรือชำระค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูที่จับสัตว์น้ำหรือสภาพสิ่งแวดล้อมที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินการให้กลับสูงสภาพตามธรรมชาติ”

นับแต่วันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับและเมื่อได้ยื่นคำขอแล้วให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำต่อไปได้จนกว่าจะได้รับแจ้งคำสั่งไม่อนุญาต ประกอบกับมาตรา 79 กำหนดห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินเว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ หากฝ่าฝืนจะมีโทษตามกฎหมายมาตรา 149 คือ ปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท และปรับวันละหนึ่งหมื่นบาทตลอดระยะเวลาที่มีการฝ่าฝืน ร่วมทั้งต้องดำเนินการฟื้นฟูหรือชำระค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูที่จับสัตว์น้ำหรือสภาพสิ่งแวดล้อมที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินการให้กลับสู่สภาพตามธรรมชาติ

ในการนี้ เพื่อให้ผู้ที่ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินทั้งหมดทั้งในพื้นที่ทะเลและน้ำจืด ไม่ว่าจะเป็นการเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง การเพาะเลี้ยงหอย ฯลฯ ที่ได้ทำการเพาะเลี้ยงอยู่ก่อนวนที่ 14 พฤศจิกายน 2558 ไม่เป็นความผิดต่อบทบัญญัติของกฎหมายจะต้องมายื่นคำขอรับใบอนุญาตทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นที่สาธารณะสมบัติของแผ่นดินตามพระราชกำหนดนี้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามสถานที่ที่กรมประมงกำหนดให้แล้วเสร็จ ภายในวันที่ 11 พฤษภาคม 2559 และเมื่อได้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตเรียบร้อยแล้ว สามารถทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำต่อไปได้จนกว่าจะมีคำสั่งแจ้งว่าไม่อนุญาตโดยการยื่นคำขอรับใบอนุญาตในครั้งนี้ เป็นการดำเนินการเพื่อไม่ให้เกษตรกรที่ได้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำจับสัตว์น้ำซึ่งเป็นที่สาธารณะสมบัติของแผ่นดินมีความผิดตามที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น โดยพนักงานเจ้าหน้าที่ที่รับคำขอจะออกใบรับคำขอให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นที่สาธารณะสมบัติของแผ่นดิน (เบื้องต้น) ไว้เป็นหลักฐานเพื่อแสดงต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบ ซึ่งไม่ได้หมายความว่าผู้ที่ยื่นคำขอรับใบอนุญาตดังกล่าวได้รับการอนุญาตตามกฎหมายแล้ว หลังจากนั้นกรมประมงจะนำข้อมูลที่ได้จากการยื่นคำขอรับใบอนุญาต (เบื้องต้น) มาเป็นฐานข้อมูลในการดำเนินการร่วมกับคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเพื่อประกอบการพิจารณากำหนดพื้นที่ในการเพาะเลี้ยงสัตว์นำและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาอนุญาตตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดต่อไป และเมือมีการกำหนดพื้นที่และแนวทางสำหรับการขอรับใบอนุญาตในการพิจารณาอนุญาตเพื่อให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ตามมาตรา 79 เรียบร้อยแล้ว จึงให้เกษตรกรยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายกำหนดต่อไป