สงคราม”ค่าโง่โฮปเวลล์”ยังไม่จบ ความจริงจาก”โฆษกศาลปกครอง”

31 มี.ค. 2564 | 11:11 น.

ศาลปกครองเผยคดีค่าโง่โฮปเวลล์ยึดตีความตามมติใหญ่ ปี 2545 ยันอายุยังไม่ถึง 5 ปี ด้านผู้ตรวจการแผ่นดินร้องถอนมติใหญ่-ขัดรธน.

นายประวิตร บุญเทียม ประธานแผนกคดีละเมิดและความรับผิดอย่างอื่นในศาลปกครองสูงสุด ในฐานะโฆษกศาลปกครอง เปิดเผยว่า สำหรับสาเหตุการเกิดคดีโฮปเวลล์นั้น เนื่องจากที่ผ่านมาการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)ได้ฟ้องร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน ศาลรัฐธรรมนูญ เนื่องจากตามสัญญากำหนดให้รฟท.และกระทรวงคมนาคมต้องชดเชยเงินจำนวนหนึ่งแก่บริษัทโฮปเวลล์ แต่ปรากฏว่าคดีดังกล่าวในปี 2545 มีอายุความสั้นเพียง 1 ปี ที่ผ่านมาในปี 2545 ศาลปกครองได้พิจารณาคดีตีความตามมติที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ระบุว่าคดีความที่เสนอต่ออนุญาโตตุลการนับตั้งแต่ที่มีมติดังกล่าวออกมา ซึ่งมีอายุความตามสัญญาเพียง 1 ปี แต่การตีความแบบใหม่นั้นมีอายุสัญญาถึง 5 ปี ซึ่งจะไม่สามารถใช้มติเดิมตีความได้ เพราะอายุสัญญาเดิมขาดทันที หลังจากที่มีมติเมื่อปี 2541 แต่เสนอคดีความดังกล่าวต่ออนุญาโตตุลาการเมื่อปี 2547 ส่งผลให้คดีความขาด ทำให้ปัจจุบันศาลปกครองนับอายุคดีความฯเริ่มตั้งแต่ปี 2544 หลังจากศาลฯเปิดทำการ เท่ากับว่าอายุความยังไม่ถึง 5 ปี

 

ขณะเดียวกันกระทรวงคมนาคมและ รฟท. ยื่นผู้ตรวจการแผ่นดิน ถึงมติที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ในปี 2545 ไม่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายไม่ได้ส่งให้สภาผู้แทนราษฎรตรวจสอบและไม่มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา มองว่าไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่สามารถใช้บังคับได้ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง 2542 มาตรา 5 มาตรา 6 และมาตรา 44 รวมถึงการกำหนดให้เริ่มนับอายุความคดีปกครองตั้งแต่วันที่ศาลปกครองเปิดทำการตั้งแต่วันที่ 9 มี.ค. 2544 ผิดไปจาก พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง 2542 มาตรา 51 ให้เริ่มนับระยะเวลาอายุความคดีปกครองตั้งแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดีโดยผู้ตรวจการแผ่นดินได้ยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาเมื่อปลายปี 2563 และมีคำวินิจฉัยวันที่ 17 มี.ค. 2564 ที่ผ่านมา

 

ที่ผ่านมามีผู้ร้องเรียนต่อศาลปกครองเพื่อเป็นแนวทางการพิจารณา ว่ามติในปี 2545 นั้น เป็นข้อระเบียบที่ต้องมีกระบวนการเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรและประกาศลงราชกิจจานุเบกษา ซึ่งขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 312 (3) ซึ่งศาลปกครองไม่สามารถใช้มติเพื่อตีความคดีใหม่ได้ เพราะคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไม่มีผลโดยตรงกับคดีที่พิพากษาจนถึงที่สุดแล้ว

 

“หลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย คดีจะเดินหน้าตามเดิม โดยศาลปกครองจะออกคำบังคับตามอนุญาโตตุลาการที่ต้องจ่ายเงินผิดสัญญาให้บริษัทโฮปเวลล์ แต่มีข้อพิจารณาจากศาลปกครองว่า การขอพิจารณาคดีใหม่เป็นไปตามกฎหมายของศาลปกครองมาตรา 75 เรื่องนี้ทางคู่กรณีเดิมคือรฟท.และกระทรวงคมนาคมอาจใช้สิทธิ์ขอพิจารณาคดีนี้ใหม่แต่จะเข้าเกณฑ์ใหม่หรือไม่ขึ้นอยู่กับศาลปกครองมีหน้าที่พิจารณาและยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุดได้ ที่ผ่านมา รฟท.และกระทรวงคมนาคมเคยขอพิจารณาใหม่แล้ว ครั้งนึงแต่ศาลปกครองชั้นต้นและศาลปกครองสูงสุดไม่เข้าเกณฑ์ตามกฎหมาย แต่ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยให้ใช้สิทธิพิจารณาคดีใหม่ได้อีก”

 

นายประวิตร กล่าวต่อว่า ส่วนคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญจะเป็นก้าวล่วงอำนาจของศาลปกครองหรือไม่เป็นมุมมองน่าสนใจ เนื่องจากตามกำหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 213 บัญญัติไว้ให้บุคคลทีละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพมีสิทธิ์ร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญว่าขัดหรือแย้งแต่ศาลรัฐธรรมนูญเผยว่าจามหลักเกณฑ์ที่ประกอบในกฎหมายรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีศาลรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ด้านผู้ตรวจราชการแผ่นดินใช้สิทธิมาตราดังกล่าว ทั้งนี้ตามมาตรา 47 ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ว่าการร้องกรณีดังกล่าวต้องไม่รับเรื่องที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลหรือเรื่องที่ศาลอื่นมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งถึงที่สุดแล้ว

 

 อย่างไรก็ตามรฟท.และกระทรวงคมนา มีสิทธินำคดีดังกล่าวเสนอต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย ซึ่งเป็นผู้แพ้คดี แต่ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจตรวจสอบศาลอื่นๆ ขณะเดียวการผู้ตรวจการแผ่นดินได้ร้องเรียน 2 เรื่อง ดังนี้ 1.ขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด เมื่อปี 2545 2.ขอให้วินิจฉัยว่าการที่ศาลปกครองสูงสุดนำวิธีนี้มาใช้ตีความเป็นการขัดรัฐธรรมนูญ เพราะเป็นเรื่องที่ศาลปกครองมีคำวินิจฉัยถึงที่สุดแล้ว ทั้งนี้ศาลรัฐธรรมนูญรับข้อแรกไว้พิจารณา แต่กรณีที่ศาลปกครองนำมติไปใช้ในคำวินิจฉัย ทางศาลรัฐธรรมนูญกลับไม่ไม่ยอมรับ ซึ่งเหตุผลดูขัดแย้งกัน ขณะเดียวกันศาลปกครองไม่ได้พิจารณาคดีให้บริษัทโฮปเวลล์ชนะหรือพิพากษาให้กระทรวงคมนาคมและรฟท.แพ้คดี เพราะไม่ได้ฟ้องร้องโดยตรงกับศาลปกครอง โดยอำนาจการพิจารณาศาลปกครองเป็นไปตามอำนาจพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ หากจะเพิกถอนคำวินิจฉัยอนุญาโตตุลาการ ต่อเมื่อคดีนั้นขัดต่อความสงบเรียบร้อยศีลธรรมอันดีเท่านั้น จะตรวจสอบดุลยพินิจของอนูญาโตตุลาการไม่ได้