ขอเวลา3เดือนไทย เข้า-ไม่เข้า CPTPP

06 ก.พ. 2564 | 06:25 น.

กนศ.ขอเวลา3เดือน สรุปไทย เข้า-ไม่เข้าร่วมCPTPP คาดได้ข้อสรุปก่อนสิงหาคมนี้ ต้องพิจารณาอย่างละเอียด

หลังจากที่นายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.ต่างประเทศ นั่งเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่5กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ซึ่งที่ประชุมได้นหผลการศึกษาของกรรมาธิการวิสามัญ(กมธ.) ที่พิจารณาผลการศึกษษในการเข้าร่วมความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) สภาผู้แทนราษฎร มาพิจารณาประกอบการตัดสินใจ ภายหลังใช้เวลาศึกษาประมาณ 5 เดือน ซึ่งหลังจากนี้ทุกหน่วยงานจะช่วยกันพิจารณา ตามกรอบเวลา 3 เดือน เพื่อให้ได้ข้อสรุปว่าจะเข้าร่วมหรือไม่เข้าร่วม CPTPP รอบแรกที่จะเกิดขึ้นช่วงเดือน ส.ค.2564  เพื่อความรอบบคอบ และคิดถึงผลประโยชน์ของไทยในหลายๆด้าน และต้องใช้เวลาในการพิจารณาในรายละเอียด

 

อย่างไรก็ตามเรื่องดังกล่าวจะต้องมีความชัดเจนพิจารณาอย่างถี่ถ้วนไม่ใช่รีบร้อนกระโดดเข้าร่วม เพราะมีคนจำนวนไม่น้อยที่ยังเข้าใจผิดกับเรื่องดังกล่าว  อย่างไรก็ตามที่ผ่านมา กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศกระทรวงพาณิชย์ได้ทำการศึกษาและระดมความเห็นภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเรื่องการเข้าร่วมความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) ของไทย เพื่อเตรียมความพร้อม

 

ทั้งนี้นายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่าที่ผ่านมามีหลายประเทศที่เตรียมเข้าCPTPP ไม่ว่าจะเป็นจีน สหรัฐฯ อังกฤษ เกาหลีใต้  และถึงแม้ว่าไทยจะยังช้ากว่าสหราชอาณาจักรหลายช่วงตัว เพราะฉะนั้นมันเป็นเรื่องที่ต้องดูว่าจะไปหารือเมื่อไร โดยเอาข้อมูลผลการศึกษาของ กมธ.มาพิจารณาให้ละเอียดยิ่งขึ้น

 

ส่วน เรื่องที่เราค้างคากันอยู่ โดยเฉพาะสิ่งที่ กมธ. ได้ทำการบ้านมา ก็จะเอามาดูในกรอบของ กนศ. ดูในเรื่องเศรษฐกิจระหว่างประเทศทั้งหมด จะเห็นได้ว่า มีหลายเรื่องที่สามารถจะดูให้กระชับขึ้น และให้เห็นมุมต่าง ๆ ซึ่งเชื่อว่าหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องก็จะนำไปเติมเต็มให้เกิดความสมบูรณ์ชัดเจนมากยิ่งขึ้นเพื่อรัฐบาลจะได้นำมาเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณา

 

 

ส่วนกรณีที่สหรัฐอเมริกาได้ประธานาธิบดีคนใหม่ และมีแนวโน้มว่าจะทบทวนนโยบายการค้าแบบพหุภาคีอีกครั้งและสนใจที่จะกลับมาเข้าร่วม CPTPP  ดังนั้นความกังวลในเรื่องสิทธิบัตรยาจะกลับมาเป็นประเด็นที่ต้องพูดถึงหรือไม่นั้น เป็นเรื่องเก่า หลายปีที่ผ่านมามีพัฒนาการมากมาย เพราะฉะนั้นเรื่องของการบังคับใช้สิทธิตามสิทธิบัตรยา (Compulsory Licensing) ไม่เป็นปัญหาใหญ่ กระทรวงสาธารณสุขมองไม่ใช่เป็นปัญหาใหญ่