หนุน "กัญชา-กัญชง"สู่การแพทย์-เล็งต่อยอดพืชสร้างเศรษฐกิจชาติ

23 ส.ค. 2563 | 13:22 น.

เดินหน้าผลักดัน"กัญชง"สู่พืชเศรษฐกิจครบวงจรตัวใหม่ของไทย มั่นใจตีตลาดเอเชีย ยุโรป และอเมริกาได้

วิสาหกิจเพลาเพลินเพื่อชุมชน จัดการเสวนา การพัฒนานำสมุนไพร กัญชา กัญชง มาใช้เป็นยารักษาทางด้านการแพทย์ และนำความรู้การปลูกกัญชา-กัญชง ผลักดันวิสาหกิจฯ แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางด้านการใช้พืชสมุนไพรสร้างเศรษฐกิจไทย โดยมีกลุ่ม องค์กรหน่วยงาน ภาครัฐ และเอกชน คณาจารย์ นักวิจัยและผู้สนใจทั่วไป เข้าร่วมกว่า 100 คน  ณ ห้องประชุม ฟลอร่ารูม เพลาเพลิน บุรีรัมย์ 


สำหรับกิจกรรมในครั้งนี้จัดขึ้นภายใต้การสนับสนุนจาก สำนักงานสาธารณสุข บุรีรัมย์ (สสจ.) โรงพยาบาลคูเมือง และ วิสาหกิจศูนย์กลางการพัฒนาสมุนไพร เพลาเพลินเพื่อชุมชน มีเป้าหมายเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์และสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางด้านวิชาการ การวิจัยด้านการใช้พืชสมุนไพรสำหรับการรักษา และผลักดันส่งเสริมการปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจ เพื่อวิสาหกิจฯ ไทย นำไปสู่การพัฒนาและการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ด้านต่างๆ ในเชิงบูรณาการ

หนุน "กัญชา-กัญชง"สู่การแพทย์-เล็งต่อยอดพืชสร้างเศรษฐกิจชาติ

ดร.วีระชัย ณ นคร ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ด้านการเพาะปลูก วิสาหกิจศูนย์กลางการพัฒนาสมุนไพร เพลาเพลินเพื่อชุมชน และ อนุกรรมการชุดใหญ่ร่างพิจารณากฎหมาย การปลูกกัญชาและกัญชงไทย กล่าวว่า ทางอนุกมธ.ฯ มีความเห็นร่วมกันที่จะผลักดันให้กัญชงเป็นพืชเศรษฐกิจครบวงจรตัวใหม่ของไทย และสามารถเข้าแข่งขันในตลาดระดับเอเชีย ยุโรป และอเมริกา พร้อมสนับสนุนให้เกษตรกรและผู้ประกอบการเข้าถึงทั้งการผลิตเมล็ดพันธุ์ที่ได้รับการรับรอง การพาณิชย์ และปลูกเพื่อประโยชน์ในครัวเรือน 


การวิเคราะห์ศึกษาในปัจจุบันพืชกัญชา-กัญชง มีการผลักดันให้เป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ของประเทศไทย ซึ่งจะนำมาเป็นรายได้ให้กับเกษตรกร รวมทั้งประชาชนในภาคอุตสาหกรรมด้วย เพราะตลาดกัญชงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของชาวบ้านภาคการเกษตร  โดยพบว่าประเทศไทยมีความเหมาะสมหลายด้าน อาทิ ความเหมาะสมของอุณหภูมิ วิถีชุมชนของเกษตรกร  ดังนั้นถ้านำกัญชงมาเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญในประเทศไทยได้สำเร็จ จะเป็นประโยชน์อย่างมาก 


ด้านการผลิตและการเพาะปลูกได้ทำการศึกษาพืชกัญชงสายพันธุ์อื่นๆ เพื่อนำมาเพิ่มเติมจากเดิมที่มีเพียง 4 สายพันธุ์  (RPF1 - 4) เนื่องจากความหลากหลายของสายพันธุ์ไม่เพียงพอต่อการผลิตในภาคอุตสาหกรรม
 

 

อีกทั้งกัญชงแต่ละสายพันธุ์มีความแตกต่างกัน ซึ่งเหมาะสมกับภูมิศาสตร์ที่ต่างกันไป บางพันธุ์อาจเด่นด้านการให้เส้นใยมาก บางพันธุ์ให้เมล็ดมาก หรือบางพันธุ์ให้สาร THC และ CBD ปริมาณมาก เป็นต้น  ซึ่งสายพันธุ์พื้นบ้านของไทยนั้นมีคุณภาพที่ดี ชาวบ้านคุ้นเคยมานาน จึงควรได้รับการพลิกฟื้นขึ้นมาอีกครั้ง  และในอนาคตแต่ละสายพันธุ์จะค่อยๆ มีการเพิ่มเติมมากขึ้นต่อไป เพื่อครอบคลุมความต้องการของตลาด

 

นางพรทิพย์ อัษฏาธร ผู้ทรงคุณวุฒิวิสาหกิจศูนย์กลางการพัฒนาสมุนไพร เพลาเพลินเพื่อชุมชนอนุกรรมการร่างมาตรฐานสารสกัดกัญชง, สนง.มาตรฐานอุตสาหกรรม(มอก.) กระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า  วิสาหกิจศูนย์กลางการพัฒนาสมุนไพร เพลาเพลินเพื่อชุมชน ได้การขับเคลื่อนยกระดับมาตรฐานสมุนไพรไทยรวมทั้งสมุนไพรกัญชาและกันชงร่วมกับภาครัฐและเอกชน มาโดยตลอด

 

ทั้งการร่วมมือกับองค์การเภสัชกรรมในลักษณะคอนแทคฟาร์มมิ่งเพื่อปลูกกัญชาเพื่อการแพทย์ในสายพันธุ์ CBD และปลูกในระบบปิด การสร้างเครือข่ายในการยกระดับสมุนไพรไทย ดึงรายได้สู่วิสาหกิจชุมชนในภูมิภาคต่างๆร่วมกัน รวมทั้งสมุนไพรกัญชาและกันชงร่วมกับเมืองโบราณ รวมทั้งได้รับงบสนับสนุนในการปลูกจากเมืองโบราณเพื่อช่วยเหลือชุมชน

หนุน "กัญชา-กัญชง"สู่การแพทย์-เล็งต่อยอดพืชสร้างเศรษฐกิจชาติ

นอกจากนี้ ยังได้รับการร่วมมือกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยและสมาคมท่องเที่ยวภาคอีสานในการยกระดับสมุนไพรไทยเพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวแบบ Wellness Tourism ด้านความเป็นเลิศทางสมุนไพรของภูมิภาคอีสานโดยเชื่อมส่วนอีสานเหนือ ใช้ที่ โรงพยาบาลการ แพทย์แผนไทยสกลนคร หลวงปู่แฟ๊บ สุภัทโท ในสังกัดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขต สกลนคร เป็นศูนย์การศึกษาดูงานสมุนไพรเชื่อมโยงด้านสุขภาพและสมุนไพรกัญชา
 

 ส่วนอีสานใต้จะใช้ที่จังหวัดบุรีรัมย์อโรคยาศาลา เพลาเพลินและโรงพยาบาลคูเมืองเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้เชื่อมโยงโดยความร่วมมือจากภาครัฐคือการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยที่จะนำนักท่องเที่ยวในแต่ละภูมิภาคเข้ามาจะเชื่อมโยงขับเคลื่อนการท่องเที่ยวเต็มรูปแบบสู่ภาคอีสานในลักษณะท่องเที่ยวเชื่อมโยงด้านสุขภาพ

หนุน "กัญชา-กัญชง"สู่การแพทย์-เล็งต่อยอดพืชสร้างเศรษฐกิจชาติ

นางสาวธนพร พรสง่ากุล นักวิชาการและนักวิทยาศาสตร์เคมี ประจำวิสาหกิจศูนย์กลางการพัฒนาสมุนไพร เพลาเพลินเพื่อชุมชน กล่าวว่า วิสาหกิจศูนย์กลางการพัฒนาสมุนไพรเพลาเพลินเพื่อชุมชน ร่วมมือกับชาวบ้าน เริ่มต้นทำการปลูกกัญชาในระบบปิด เพื่อใช้เป็นฟาร์มปลูกกัญชาที่ได้มาตรฐาน เพื่อส่งให้กับโรงพยาบาลคูเมือง อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งได้มาตรฐาน GAP ในการผลิตยาจากสมุนไพรทั้งในรูปแบบแผนปัจจุบัน และแผนไทย


 ในช่วงของการเริ่มต้น'วิสาหกิจชุมชนเพลาเพลิน' ปลูกกัญชาใน 2 สายพันธุ์ทั้งสายพันธุ์ไทยและต่างประเทศ โดยปลูกทั้งหมดเกือบ 230 ต้น ได้ตั้งเป้าหมายที่จะผลิตยากัญชาส่งให้กับโรงพยาบาลในเขตสุขภาพที่ 9 นครชัยบุรินทร์ ซึ่งประกอบไปด้วยนครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์ ซึ่งมีกว่า 20 โรงพยาบาล