เปิด "ร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิต" สาระสำคัญ 4 หมวด ที่ควรรู้ 

08 ก.ค. 2563 | 22:00 น.

โฆษกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เปิดเผย "ร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต" ระบุมีสาระสำคัญใน 4 หมวด ที่ควรรู้ 

นายนพดล เภรีฤกษ์ โฆษกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เปิดเผยเมื่อวันที่ 8 ก.ค. 63 ถึงร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต หรือ ร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต พ.ศ. .... ดังนี้

ตามที่มีสื่อมวลชนและประชาชนทั่วไปให้ความสนใจต่อร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต พ.ศ. .... ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาโดยคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) ได้ตรวจพิจารณาแล้วเสร็จ พร้อมทั้งได้จัดทำร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติบางมาตราให้สอดคล้องกับร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต พ.ศ. .... ในวันนี้ (8 กรกฎาคม 2563) คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้เสนอร่างพระราชบัญญัติทั้งสองฉบับดังกล่าว ต่อสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป

ร่างพระราชบัญญัติทั้งสองฉบับนี้มีสาระสำคัญเป็นการรับรองสิทธิในการก่อตั้งครอบครัวระหว่าง บุคคลที่เป็นเพศเดียวกันโดยกำเนิดอันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ และเป็นไปตามแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 3 อีกทั้งเป็นการส่งเสริมให้เกิดความเสมอภาคในทางกฎหมายระหว่างบุคคลตามที่รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทยได้รับรองไว้ นอกจากนี้ การมีร่างพระราชบัญญัติทั้งสองฉบับนี้จะช่วยสร้างความตระหนัก ถึงการมีอยู่ของครอบครัวรูปแบบใหม่ให้แก่ประชาชนทั่วไป ซึ่งจะช่วยป้องกันความขัดแย้งและสร้างความสงบสุข ให้สังคมโดยรวม

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ครม.อนุมัติร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิตเพศเดียวกันสามารถจดทะเบียนได้

#สมรสเท่าเทียม กระหึ่มโซเชียล ก่อนดัน "พ.ร.บ. การรับรองเพศ" เข้าสภา

ถล่มยับ "พ.ร.บ.คู่ชีวิต" ไม่ตอบโจทย์ "สมรสเท่าเทียม"

ร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต พ.ศ. .... ประกอบด้วย 4 หมวด 46 มาตรา มีสาระสำคัญเป็นการ กำหนดสิทธิและหน้าที่ของคู่ชีวิต โดยเทียบเคียงกับคู่สมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้แก่ 

หมวด 1 ว่าด้วยเรื่องการจดทะเบียนคู่ชีวิต มีสาระสำคัญ อาทิ การจดทะเบียนคู่ชีวิตจะทำได้ต่อเมื่อบุคคล ทั้งสองมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ 

หมวด 2 ว่าด้วยเรื่องการเป็นคู่ชีวิต มีสาระสำคัญ อาทิ คู่ชีวิตมีอำนาจจัดการแทน ผู้เสียหายเช่นเดียวกับสามีหรือภรรยา เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างคู่ชีวิตมีสาระสำคัญ อาทิ หน้าที่ช่วยเหลือ อุปการะเลี้ยงดูกัน การเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดู เรื่องทรัพย์สินระหว่างคู่ชีวิตมีสาระสำคัญ อาทิ ทรัพย์สิน ระหว่างคู่ชีวิตนอกจากที่ได้แยกไว้เป็นทรัพย์สินส่วนตัวย่อมเป็นทรัพย์สินร่วมกันของคู่ชีวิต เรื่องความเป็นโมฆะ ของการจดทะเบียนคู่ชีวิต มีสาระสำคัญ อาทิ การห้ามการสมรสซ้อนและจดคู่ชีวิตซ้อน เรื่องการสิ้นสุด การเป็นคู่ชีวิต มีสาระสำคัญ อาทิ การเป็นคู่ชีวิตย่อมสิ้นสุดลงด้วยความตาย ศาลพิพากษาให้เพิกถอน หรือการเลิกการเป็นคู่ชีวิต 

หมวด 3 ว่าด้วยเรื่องบุตรบุญธรรมมีสาระสำคัญ อาทิ ให้นำบทบัญญัติ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับแก่คู่ชีวิตโดยอนุโลมและสามารถรับบุตรบุญธรรม ของคู่ชีวิตอีกฝ่ายเป็นบุตรบุญธรรมของตนได้ 

และหมวด 4 ว่าด้วยเรื่องมรดกมีสาระสำคัญ อาทิ เมื่อคู่ชวีิต ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตายให้คู่ชีวิตอีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับคู่สมรสตามบทบัญญัติแห่งประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก เป็นต้น

ร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต พ.ศ. .... ถือเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยมีกฎหมายรองรับความสัมพันธ์ ระหว่างบุคคลเพศเดียวกันอันเป็นการตระหนักถึงความเป็นจริงของสภาพสังคมในปัจจุบัน และเป็นการ ส่งเสริมการก่อตั้งสถาบันครอบครัว ซึ่งเป็นหน่วยพื้นฐานที่จะช่วยให้ประเทศมีความมั่นคง โดยกำหนดสิทธิ หน้าที่ไว้เช่นเดียวกับคู่สมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ในระยะแรกยังไม่ได้กำหนดให้ได้รับสิทธิเช่นเดียวกับคู่สมรสตามกฎหมายอื่น อย่างไรก็ตาม เมื่อใช้บังคับไประยะหนึ่งแล้ว หน่วยงานจะทำการประเมินผลสัมฤทธิ์เพื่อพิจารณาความเหมาะสมในการ กำหนดให้ได้รับสิทธิอื่นๆ ได้ด้วย

เปิด "ร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิต" สาระสำคัญ 4 หมวด ที่ควรรู้