"CPTPP” เข้าร่วมข้อดีเพียบ เกษตรไทยไม่เสียเปรียบ

19 มิ.ย. 2563 | 19:29 น.

สมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ฯ จัดเสวนาถกปมร้อน  “CPTPP” เกษตรไทยเสียเปรียบจริงหรือ? ดึง “พาณิชย์-เกษตร” นักปรับปรุงพันธุ์ข้าว-กล้วยไม้ แจงข้อดีเพียบ ยันเกษตรไม่กระทบ แฉ “ไรซ์เบอร์รี่ ” เพื่อนบ้านนำไปปลูกขายแข่งแล้ว

CPTPP คือ ข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก ที่รัฐบาลไทย ได้มีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ เพื่อพิจารณาศึกษาผลกระทบจากการเข้าร่วมความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับ (CPTPP) โดยมีนายวีระกร  คำประกอบ เป็นประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญ เพื่อพิจารณาศึกษาการเข้าร่วม CPTPP และมีการแต่งตั้งอนุกรรมาธิการขึ้นมาอีก 3 คณะ ได้แก่ 1.ศึกษาด้านเมล็ดพันธุ์ และการเกษตร  2.ศึกษาด้านสาธารณสุข และยา และ 3.ศึกษาด้านเศรษฐกิจการค้า และการลงทุน อย่างที่ทราบกันไปแล้วนั้น

ล่าสุดทางสมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย ได้จัดงานเสวนา CPTPP : เกษตรไทยเสียเปรียบจริงหรือ ?  โดยเชิญในส่วนข้าราชการ เอกชน และนักปรับปรุงพันธุ์ ต่างๆ  ไทยจะเสียเปรียบ เกษตรกรจะติดคุก ทำให้ประเทศสู่ความหายนะ เกิดการผูกขาดแมล็ดพันธุ์ และตัดสิทธิเกษตรกรกรเก็บพันธุ์ไปปลูกต่อ  หากเป็นอย่างนี้ทำไมรัฐบาลจึงคิดที่จะเข้าร่วม มีข้อดีและข้อเสียอย่างไร

 

++CPTPP ช่วยเพิ่มโอกาสการค้า-การลงทุนมหาศาล

"CPTPP” เข้าร่วมข้อดีเพียบ เกษตรไทยไม่เสียเปรียบ

นายพรชัย ประภาวงษ์ ผู้อำนวยการส่วนอเมริกาเหนือ สำนักอเมริกา แปซิฟิก และองค์การระหว่างประเทศ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า CPTPP มีชื่อเต็มว่า Comprehensive and Progressive Agreement of Trans-Pacific Partnership  ความจริงย้อนไป จาก  “ TPP “ (Trans-Pacific Partnership) แต่กว่าจะมาเป็น TPP เริ่มต้นการเจรจานานมาก ในปี 2549 ย้อนหลังไป 10 ปี ในขณะนั้นยังมีสหรัฐอเมริกา อยู่ หลังจากสหรัฐฯ ซึ่งเป็นหัวเรือใหญ่ในตอนนั้นถอนตัวออกไป แต่ประเทศสมาชิกที่เหลือก็ตัดสินใจเดินหน้าความตกลงต่อโดยใช้ชื่อใหม่ว่า CPTPP ปัจจุบัน สมาชิก CPTPP มีทั้งหมด 11 ประเทศ คือ ญี่ปุ่น แคนาดา เม็กซิโก เปรู ชิลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ มาเลเซีย บรูไน และเวียดนาม และมีผลใช้บังคับปี 2561 ในช่วงปลายปีผ่านมา

ไทยเป็นประเทศที่ทำมาค้าขายคนที่ได้ประโยชน์ข้อตกลงที่ได้ประโยชน์ก็มี ที่ได้ผลกระทบก็มี แต่ที่ได้ประโยชน์จากการเปิดเสรีทางการค้ากว่า90% มีการพูดถิ่นกำเนิดสินค้า หมายถความว่า การเปิดตลาดอย่างเดียวไม่พอ จะดูสินค้าผลิตจากในกลุ่ม CPTPP ด้วย ไม่ใช่เอาสินค้านอกกกลุ่มเข้ามาแล้วเอาไปขาย อยากจะค้าขายกับกลุ่มนี้ซึ่งมีประมาณ 29% เอื้อหากสินค้าที่ผลิตในกลุ่ม CPTPP มากเท่าไรจะได้ประโยชน์จากการขายในกลุ่ม CPTPP แต่จะมีผลกระทบหากนำเข้าสินค้านอกกลุ่มมาใช้เพื่อจะส่งออกอาจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ในการส่งอออก ขณะเดียวกันสินค้าที่เคลื่อนจากประเทศหนึ่ไปสู่ประเทศหนึ่งมีกฎระเบียบ เรียกหากซื้อขายในกลุ่มจะเป็นการยกระดับการอำนวยความสะดวก ยุคนี้เป็นยุคที่เอสเอ็มอีซื้อขายอยากจะหาตลาดไปทั่วโลก

ยิ่งพิธีการศุลกากรอำนวยความสะดวก ยิ่งมีโอกาสมากขึ้น ไม่ใช่มีแต่กลุ่มผู้ประกอบการใหญ่ๆรู้กฎระเบียบดีจะส่งออกไปได้ แต่พอกฎดีขึ้นจะช่วยทำให้เอ็สเอ็มมีช่องทางได้ส่งออกมากขึ้น รวมทั้งการค้าช่องทางออนไลน์สะดวกมากขึ้น แต่แน่นอนในการทำเอฟทีเอ ครั้งใด มักจะเจอความท้าทาย CPTPP เป็นการตกลงการค้าสมัยใหม่ ในระดับสูง ส่งเสริมให้ไทยยังอยู่ในห่วงโซ่อุปทานในภูมิภาค และห่วงโซ่การผลิตของโลก ซึ่งแน่นอนการทำจะมีสินค้าได้ประโยชน์และสินค้าที่มีผลกระทบ

 

++การเจรจา "ไทย" อยู่ ณ ตรงไหน

ตอนนี้ไทยอยู่ช่วงก่อนเจรจา ยังไม่ได้เจรจาเลย เพิ่งผ่านรับฟังความคิดเห็นช่วงปี2561-2562 ทั้งสนับสนุนและความกังวล ผลการศึกษา รวมรวม ระดับนโยบาย ยังไม่ได้เสนอ ครม.  เลยขั้นที่ 3 มานิดเดียว จาก 12 ขั้น ซึ่งใน "เดือนสิงหาคม" เป็นการประชุมปกติของสมาชิก ทุกปีปีละครั้งระดับรัฐมนตรี การปฏิบัติตามความตกลง วาระหนึ่ง อาจจะมีวาระการรับสมัครสมาชิกใหม่ มีประเทศใดมายื่นแสดงความจำนงจะขอเข้าร่วม เป็นวาระหนึ่งที่จะพิจารณา ซึ่งเป็นการเจรจาการขอที่จะไปเข้าร่วม สมมติมีประเทศหนึ่งยื่นไปก่อนเดือน ส.ค. จะยอมรับหรือปฏิเสธ ก็จะจัดตั้งเป็นคณะทำงานเพื่อที่จะมาเจรจากับประเทศนั้น ซึ่งตอนนั้นก็จะเข้าสู่การเจรจา รายละเอียดว่า ในส่วนที่เป็นพันธกรณีที่ตกลงกันแล้วว่าก็คงต้องยอมรับว่าส่วนไหนที่สามารถเจรจาขอความยืดหยุ่น เวลาปรับตัวได้ก็จะต้องมาพูดคุยกันในส่วนรายละเอียดอีก จะใช้เวลาอีกนาน

"CPTPP” เข้าร่วมข้อดีเพียบ เกษตรไทยไม่เสียเปรียบ

ด้านนางสาวธิดากุญ แสนอุดม ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยการคุ้มครองพันธุ์พืช สำนักคุ้มครองพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร กล่าวถึงทรัพย์สินค้าปัญญา จะนึกถึงสิทธิบัตร  ความลับทางการค้า ลิขสิทธิ์  สิ่งประดิษฐ์นักปรับปรุงพันธุ์ สร้างผลงานชิ้นหนึ่งออกมา โดยการลงทุนลงแรง ด้วยความรู้และความสามารถ และเวลา สิ่งที่สร้างมาก็คือ พันธุ์พืชใหม่  และจะแนะ UPOV 1991 อนุสัญญา เป็นชื่อย่อมาจากภาษาฝรั่งเศษ เป็นอนุสัญญาระหว่างประเทศเพื่อการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ มีหลักการว่า จะให้และส่งเสริม ระบบที่มีประสิทธิภาพในการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่เพื่อผลักดันการพัฒนาพืชพันธุ์ใหม่ๆ และกระตุ้นให้มีพืชพันธุ์ใหม่ๆออกสู่ตลาดให้สังคมได้ใช้ประโยชน์ สุดท้ายก็เป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม นี่คือ UPOV 1991 ไม่ใช่มีฉบับเดียว เริ่มมาตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่2 9ตั้งแต่ปี 1961  แล้วก็มีการพัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆ จนกระทั่งฉบับสุดท้ายก็คือ ฉบับ1991  ปัจจุบันที่ใช้อยู่ทั่วโลก มี 2 ฉบับ ก็คือ ฉบับ 1978 และ 1991 แต่ถ้าประเทศไทยจะเข้าเป็นสมาชิก UPOV  จะต้องเข้าฉบับ 1991 เท่านั้น มี 74 ประเทศทั่วโลก

“พันธุ์พืชอะไรบ้างที่จะจดพันธุ์พืชใหม่ที่จะได้รับการคุ้มครอง ได้แก่ 1 ต้องพัฒนาขึ้นมาใหม่ จะต้องยังไม่ขายส่วนขยายพันธุ์ (เชิงการค้า) ในระยะเวลาที่เกินกว่า 1 ปี ในประเทศ เพราะว่าหากขายเกินกว่า 1 ปีในประเทศถือว่าไม่ใหม่แล้ว แต่ถ้าเป็นการค้าในต่างประเทศจะอยู่ 4 ปีหรือ 6 ปี และมีการตั้งชื่ออย่างเหมาะสม ตัวพันธุ์นั้นจะต้องมีความแตกต่างอยู่กับพันธุ์ทั่วไปมีความคงตัวและสม่ำเสมอ สิ่งเหล่านี้เพื่อที่จะมั่นใจได้ว่าพันธุ์พืชที่ออกสู่ตลาดเป็นพันธุ์พืชที่มีคุณภาพจริงๆ แต่พันธุ์การค้าในตลาด พันธุ์ของรัฐ พันธุ์นำเข้า พันธุ์ดั้งเดิม พันธุ์พื้นเมือง พันธุ์ท้องถิ่น และพืชป่า ไม่เกี่ยว มีแต่พันธุ์ใหม่ที่จดทะเบียนคุ้มครอง ดังนั้นในสัญญาจะต้องเป็นพันธุ์ใหม่ถึงจะคุ้มครอง"

"CPTPP” เข้าร่วมข้อดีเพียบ เกษตรไทยไม่เสียเปรียบ

สิ่งที่นักปรับปรุงพันธุ์ได้รับจากการคุ้มครองพันธุ์ใหม่ ก็คือ การค้าในส่วนขยายพันธุ์ทั้งหมดจะได้รับการคุ้มครอง จะต้องมีข้อยกเว้นสิทธินักปรับปรุงพันธุ์ ก็คือ ภาคบังคับก็คือประเทศสมาชิกจะต้องให้มีข้อนี้ หากนำไปใช้โดยส่วนตัว และไม่มีวัตถุประสงค์ทางการค้า ให้การยกเว้น 2.เพื่อการศึกษาทดลองวิจัย และ 3.เพื่อการปรับปรุงพันธุ์ หากใช้พันธุ์พืชที่จดทะเบียนการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ทุกพืช สามารถกระทำได้โดยไม่ต้องขออนุญาตเจ้าของพันธุ์ส่วนข้อกำหนดทางเลือกในอนุสัญญาระหว่างประเทศ แล้วแต่ละประเทศสมาชิกจะไปพิจารณากันเอาเองจะให้หรือไม่ให้ หรือจะให้แค่ไหน เช่น การให้สิทธิพิเศษสำหรับเกษตรกร ในการเก็บส่วนขยายพันธุ์ไว้ปลูกต่อเองได้ หลังจากซื้อมา 1 กระป๋องมาปลูกแล้วขายผลผลิตแต่ อยากจะเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ปลูกต่อเอง แล้วขายผลผลิตทำได้หรือไม่ ก็คือ ให้แต่ละประเทศมากำหนดกันเอง โดยจะต้องให้มีความสมดุลกับนักปรับปรุงพันธุ์จะได้ประโยชน์ด้วย เพราะนี่เป็นการกระตุ้นให้นักปรับปรุงพันธุ์มีแรงจูงใจมีความคุ้มทนในการลงทุน

ไม่ใช่ไปลิดรอนสิทธินักปรับปรุงพันธุ์ สิทธิที่เค้ามีสิทธิผู้เดียวในการขยายพันธุ์ของเค้าได้ รัฐไปใช้อำนาจของรัฐไปลิดรอนสิทธิของนักปรับปรุงพันธุ์ลงว่าจะต้องอนุญาตให้เกษตรกรเก็บเมล็ดพันธุ์ปลูกต่อได้ จะต้องเป็นเรื่องที่มาคุยกัน ยกตัวอย่างประเทศ เวียดนามเป็นสมาชิกมากว่า 10 ปีแล้ว เกษตรกรจะทราบได้อย่างไร ว่าพันธุ์ไหนจดทะเบียนคุ้มครองลิขสิทธิ์จะมีการทำสัญลักษณ์ตรงฉลาก ห้ามขายพันธุ์แข่ง แต่ถ้าอยากจะขายพันธุ์ก็ให้ไปติดต่อก่อนส่วนในเรื่องการเก็บเมล็ดพันธุ์ปลูกต่อได้หรือไม่ ต้องรอประกาศจากทางราชการ

“เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ ประเทศไทยมีกฎหมายที่คุ้มครองนักปรับปรุงพันธุ์พืชอยู่อยู่แล้ว นั่นคือ พ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืช 2542 เพียงแต่ว่าการให้ความคุ้มครองต่ำกว่าอนุสัญญายูพอฟ 1991 จะพูดถึงพันธุ์อีดีวีและพันธุ์ลูกผสมด้วย แต่ส่วนของไทยพูดในเรื่องพันธุ์ขยาย นี่เป็นรายละเอียด”

"CPTPP” เข้าร่วมข้อดีเพียบ เกษตรไทยไม่เสียเปรียบ

ด้านดร.ชัยฤกษ์ สงวนทรัพยากร กรรมการผู้จัดการบริษัท ที เอส เอ จำกัด และในฐานะนายกสมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย กล่าวว่า การดำเนินธุรกิจเมล็ดพันธุ์ ต้องเกี่ยวข้องกับการปรับปรุงพันธุ์ แล้วถือว่าเป็นหัวใจของธุรกิจ ในส่วนของกาในการปรับปรุงเมล็ดพันธุ์กับการปรับปรุงพันุ์ เกี่ยวข้องกันอย่างไร มีความจำเป็นและสำคัญอย่างไร โดยปกติแล้วการปรับปรุงพันธุ์ ความจริงเป็นแค่วิวัฒนาการตัวหนึ่ง ของสิ่งมีชีวิต ก็คือสิ่งมีชีวิตจะเป็นสิ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาตามระยะเวลาที่ผ่านไป การเปลี่ยนแปลงเกิดจากการปรับตัวเข้าสู่สภาวะแวดล้อม เพราะฉะนั้นการเปลี่ยนแปลงถ้าเป็นไปตามธรรมชาติจะช้ามาก ใช้เวลา 500-1,000  หรือ 1 หมื่นปี

“ธุรกิจเมล็ดพันธุ์จะเริ่มจากพันธุ์พื้นเมือง ปรับปรุงพันธุ์เพื่อให้ได้สิ่งที่เราต้องการหรือตั้งเป้าหมายไว้ เช่น มีกุหลาบสีแดง วันพรุ่งนี้อยากมีกุหลาบสีขาว จะมีการพัฒนาพันธุ์กุหลาบสีขาวให้เกิดขึ้นให้ได้ เพราะคนเบื่อสีแดงแล้วอยากได้สีขาว นี่เป็นการสนองความต้องการของสังคม เมื่อได้พันธุ์นั้นมา ต่อมาการขยายจำนวน พันธุ์ให้มากขึ้นเพื่อเป็นการค้า แล้วก็ไปสู่การตลาด จะถูกใจผู้บริโภคคนสุดท้ายหรือไม่ถ้าไม่ยอมกิน ทำอะไรก็ขายไม่ได้ นี่คือปัญหา แล้ว ขั้นตอนยาวมาก”

++ความเสี่ยงนักปรับปรุงพันธุ์

สำหรับการปรับปรุงพันธุ์จะเป็นแหล่งที่มาสำคัญของพันธุ์พืชใหม่ๆ ที่จะทำให้เรามีโอกาสแข่งขันในตลาด  พันธุ์ใหม่เป็นนวัตกรรมอย่างหนึ่งไม่เคยมีใครเห็นมาก่อน ไม่เคยมีใครใช้มาก่อนต้องทำการตลาดสอนวิธีใช้ เพราะฉะนั้นในการขายเมล็ดพันธุ์จะต้องทำการตลาดการสร้างพันธุ์ใหม่ใช้ระยะเวลายาวนานแค่ไหน  เป็นการสร้างพันธุ์ใหม่ ปล่อยให้ธรรมชาติ ปลูกและคัดเลือกตันที่ดีทีสุด จนพันธุ์ที่คัดไว้มีความสม่ำเสมอสูงก็คือ  เริ่มต้น ใช้ระยะเวลา 4-8 ปี พอได้พันธุ์มาแล้วคิดว่าสม่ำเสมอ ต้องทดสอบถึง 2-4 ปี จนกว่าขะไปเป็นสีเหลือง ตัดสินใจเลือกว่าจะเอาตัวนี้ที่จะเอาไปขาย ก็นำไปออกตลาด แล้วจะขายได้หรือไม่ เราเลือกได้แม่นแค่ไหน เพราะถ้าเราเลือกผิด ทุกอย่างต้องกลับไปเริ่มต้นใหม่

ปัจจุบันมีการขาดแคลนนักปรับปรุงพันธุ์ นักศึกษาส่วนมากหันไปให้ความสนใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพ ซึ่งปัจจุบันเป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไปแล้วว่า เทคโนโลยีชีวภาพเป็นเพียงศาสตร์ที่เข้ามาช่วยเสริมการปรับปรุงพันธุ์พืช ตามโดยทั่วไปเท่านั้น ไม่สามาถใช้เป็นหลักในการสร้างพันธุ์ใหม่ๆในเชิงการค้าได้โดยปราศจากโครงการปรับปรุงพันธุ์พืชตามปกติ ในอดีตที่ผ่านมาความคิดนี้ ทำให้นักปรับปรุงพันธุ์ที่มีประสบการณ์ลดลงจนถึงขั้นวิกฤติและยากจะฟื้นฟูให้กับมาเหมือนเดิม ภาคเอกชนจึงต้องพัฒนาและสร้างนักปรับปรุงพันธุ์ขึ้นใช้เองเท่าที่จะมีกำลังความสามารถทำได้ ในนามสมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ฯ มีจุดยืนเห็นว่า ระบบคุ้มครองพันธุ์พืชเป็นเรื่องที่ดีจะช่วยคุ้มครองสิทธิการลงทุนของนักปรับปรุงพันธุ์และคุ้มครองเกษตรกรให้ได้ใช้พันธุ์ดีที่คุ้มค่า

"CPTPP” เข้าร่วมข้อดีเพียบ เกษตรไทยไม่เสียเปรียบ

ด้านนายนิพนธ์ ชัยวงศ์รุ่งเรือง เกษตรกรนักปรับปรุงพันธุ์กล้วยไม้ “พันธุ์เฉลิมกรุง” เพื่อการส่งออก  ย้อนไป 10 กว่าปีที่แล้ว ใช้เวลานานในการปรับปรุงพันธุ์ ผสมกับเพาะเมล็ดใช้เวลา 3 ปี ไปปลูกทดลองโตเต็มวัยต้นสูง ต้นเตี้ย อีก 3 ปี ปีที่ 6 ถึงจะมีโอกาสทำส่งออก ถ้าตลาดไม่รับ คือ ทิ้ง เพราะขายไม่ได้ แต่มีปัญหาตอนที่สินค้าไปติดตลาดแล้ว กล้วยไม้ปลูกอยู่ในสวน 5-10 ไร่ เวลาขยายพันธุ์กล้วยไม้เอาไปปั่นตาเพียงกระถางเดียว ตอเดียวก็สามารถทำได้แล้ว หยิบไปตอนไหนก็ไม่รู้ แล้วก็ไปจ้างแล็บก็ได้พันธุ์มาปลูกแล้วเหมือนกันด้วย ต้องคุ้มครอง ไม่อย่างนั้นจะดูแลลำบาก เกษตรกรไทยทำแบบเอื้ออาทรย์ไม่ท้าวความ ในสังคมก็ก็รู้ว่าของใคร แล้วไม่รู้ว่าเอาไปได้อย่างไร ดังนั้นมองว่าถ้ามีการคุ้มครองก็จะดี แต่ไม่ใช่แค่นั้นเพียงข้อเดียวมีปลีกย่อยข้ออื่นอีกเยอะ อยากให้ค่อยๆ พิจารณากัน เพราะของผม แค่ข้อท 3 เท่านั้นเองยังมีอีกหลายข้อ

"CPTPP” เข้าร่วมข้อดีเพียบ เกษตรไทยไม่เสียเปรียบ

สอดคล้องกับ ดร.วินธัย กมลสุขยืนยง นักวิจัยกลุ่มวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพพืชและการจัดการแบบบูรณาการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ(ไบโอเทค) ตัวแทนจากศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว ม.เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน  กล่าวว่า พันธุ์ข้าวเป้าหมายในการปรับปรุงพันธุ์ ได้แก่ 1. ข้าวเพื่อความมั่นคงทางอหาร ข้าวเหนียวกข6 2.ข้าวเพื่อการส่งออกหอมมะลิ (ขาวดอกมะลิ105) ปทุมธานี1 ชัยนาท1 สุรินทร์ ฯลฯ 3.ข้าวโภชนาการสูง เพื่อสุขภาพผู้บริโภค อาทิ ข้าวหอมนิล ลืมผัว ฯลฯ ลักษณะเป้าหมายในการปรับปรุง อาทิ ความหอม ทนน้ำท่วม ต้านทานโรคไหม้ ต้านทานโรคขอบใบแห้ง ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เป็นต้น

สาเหตุที่ต้องจดคุ้มครองพันธุ์ข้าวปรับปรุงพันธุ์ 1.เพื่อเป็นตัวชี้วัดผลงานของหน่วยงาน 2.เพื่อความมั่นคงทางอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าว เป็นอาหารหลักของประชาชน เพื่อป้องกันต่างประเทศนำพันธุ์ข้าวไปปลูกขายแข่งกับเกษตรกรในประเทศ เพราะตอนนี้เจอปัญหาแล้วว่า "ข้าวไรซ์เบอร์รี่" ได้ถูกนำไปปลูกในประเทศเพื่อนบ้าน