“ชูชาติ”ตอบจดหมายนายกฯ บริจาค “เงิน-ถุงยังชีพ” 120 ล้านร่วมสู้โควิด

05 พ.ค. 2563 | 05:21 น.

เปิดพื้นที่สาขาให้จำหน่ายสินค้าเกษตร-OTOP แนะกองทุน BSF ดูแลผู้ออกตราสารหนี้ครอบคลุม

นายชูชาติ เพ็ชรอำไพ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เมืองไทย แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) เศรษฐีอันดับที่ 10 ของเมืองไทย ได้เขียนจดหมายตอบ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ประกาศร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการนำพาประเทศไทยฝ่าวิกฤติโควิด-19 

“ชูชาติ”ตอบจดหมายนายกฯ บริจาค “เงิน-ถุงยังชีพ” 120 ล้านร่วมสู้โควิด

ในหนังสือตอบนายกฯ มีการระบุถึงสิ่งที่ บมจ.เมืองไทยแคปปิตอล (MTC) ได้ดำเนินการช่วยเหลือลูกค้ารายย่อย ตามแนวทางของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ด้วยการพักชำระหนี้, ลดค่างวด และลดดอกเบี้ย ขณะเดียวกัน นายชูชาติยังระบุถึงการที่ตนและครอบครัวได้บริจาคเงินสมทบทุนเพื่อซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อสู้โควิด-19 จำนวน 60 ล้านบาท

“ชูชาติ”ตอบจดหมายนายกฯ บริจาค “เงิน-ถุงยังชีพ” 120 ล้านร่วมสู้โควิด

นยาชูชาติ ยังได้ระบุถึงมาตรการที่จะทำเพิ่มเติม ได้แก่ การจัดสรรและแจกจ่ายถุงยังชีพ 200,000 ถุง มุลค่า 60 ล้านบาท แก่ชุมชนต่าง ๆ 74 จังหวัดทั่วประเทศ ผ่านทางผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และ ผ่าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

รวมถึงจะมีการบริจาคเพิ่มเติม พร้อมเปิดพื้นที่อาคารสำนักงานสาขาทุกแห่งเป็นศูนย์จำหน่ายสินค้าเกษตร และ OTOP, การเป็นศูนย์การกระจายความช่วยเหลือให้แก่ประชาชน

พร้อมกันนร้ยืนยันในนโยบายการรักษาการจ้างงานและดูแลความปลอดภัยของพนักงานกว่า 10,000 คนของบริษัท ให้สามารถทำงานได้ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย รวมถึงได้รับสวัสดิการที่สมควรได้อย่างครบถ้วน พร้อมทั้งการสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่พนักงานและครอบครัวได้มั่นใจว่า บริษัทจะไม่ทอดทิ้งพนักงาน โดยบริษัทไม่มีนโยบายลดจำนวนพนักงาน ลดชั่วโมงทำงานหรือเลิกจ้างพนักงานแต่อย่างใด แต่ในทางกลับกัน บริษัทมีนโยบายรับพนักงานเพิ่มขึ้นอีก จำนวน 1,000 คน เพื่อรองรับการเปิดสาขาในอนาคต

นอกจากนี้ยังได้มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมว่าขอนำเสนอข้อเสนอแนะเชิงมหภาคว่าด้วยนโยบายของทางภาครัฐในการจัดตั้งกองทุนเพื่อรักษาสภาพคล่องของตราสารหนี้ภาคเอกชน: Corporate Stabilization Fund (BSF) เพื่ออุ้มตลาดตราสารหนี้โดยการรับซื้อตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือในกลุ่มน่าลงทุน (Investment Grade) ที่ถึงกำหนดไถ่ถอน

 

โดยแสดงความคิดเห็นว่า ผู้ออกตราสารหนี้ในกลุ่มดังกล่าวอาจไม่ได้รับผลกระทบจากความผันผวนในตลาดตราสารหนี้อย่างรุนแรงเท่ากับผู้ออกตราสารหนี้ในกลุ่มที่ต่ำกว่าระดับ Investment Grade ซึ่งในที่นี้รวมทั้งตราสารหนี้ที่ถูกปรับลดระดับความน่าเชื่อถือลงมาจากระดับ Investment Grade ด้วย ซึ่งหากตราสารหนี้กลุ่มดังกล่าวเกิดการผิดนัดชำระหนี้ จะก่อให้เกิดความผันผวนที่แท้จริงในตลาดตราสารหนี้ อันส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการเงินของสถาบันการเงินและประเทศต่อไป จึงขอให้กองทุน BSF ที่จัดตั้งขึ้นนั้นให้การช่วยเหลือครอบคลุมถึงผู้ออกตราสารหนี้ที่ต่ำกว่าระดับ Investment Grade ด้วย