"แอร์บัส"เมินร่วมทุนศูนย์ซ่อมอากาศยานอู่ตะเภา

22 เม.ย. 2563 | 06:59 น.

ดับฝันไทยฮับMROอันดับ1ของโลก หลังโครงการศูนย์ซ่อมอากาศยานอู่ตะเภา ระหว่างการบินไทย-แอร์บัสล่ม ล่มท้ายสุดถูกแอร์บัสเท

       ในที่สุดโครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภา (MRO) ของการบินไทย ซึ่งมีเป้าหมายที่จะผลักดันให้เป็นศูนย์ซ่อมอากาศยานอันดับ 1 ของโลก  ในด้านการส่งมอบตรงเวลาในราคาที่เหมาะสม และมีคุณภาพรวมถึงความปลอดภัย โดยดึงบริษัท Airbus S.A.S  หรือแอร์บัส เข้ามาร่วมลงทุน และยังเป็นอีกหนึ่งในโครงการสำคัญในการพัฒนาเมืองการบินภาคตะวันออก ต้องล้มกระดานลงไป

"แอร์บัส"เมินร่วมทุนศูนย์ซ่อมอากาศยานอู่ตะเภา
           เมื่อในที่สุดในวันที่ 20 เมษายนที่ผ่านมา แอร์บัสไม่ได้ ยื่นข้อเสนอในการร่วมทุน ซึ่งเป็นไทม์ไลน์การเปิดแอร์บัสเข้ามายื่นข้อเสนอในการร่วมทุน หลังจากคณะกรรมการคัดเลือกโครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภา (MRO) ได้ขยายเวลาให้ไปอีก 45 วันนับจากวันที่ 6 มีนาคม2563 ที่กำหนดให้เอกชนมายื่นข้อเสนอในการร่วมทุน แต่แอร์บัสก็ไม่ได้มายื่นข้อเสนอในวันดังกล่าว

"แอร์บัส"เมินร่วมทุนศูนย์ซ่อมอากาศยานอู่ตะเภา
        ทั้งๆที่ก่อนหน้านี้ดีลกันมานานกว่า 2 ปีนับจาก “สมคิด จาตุศรีพิทักษ์” เปิดแนวรุกล็อบบี้ให้แอร์บัสเข้ามาร่วมลงทุน เพราะในขณะนั้นแอร์บัสแสดงความสนใจที่จะเข้ามาทำโครงการนี้ร่วมกับการบินไทย ในขณะนี้โบอิ้ง ตอบปฏิเสธว่าไม่สนใจ ต่อมาครม.มีมติตั้งแต่วันที่ 30 ตุลาคม 2561 เห็นชอบให้การบินไทย เชิญชวนแอร์บัสมายื่นข้อเสนอตามกระบวนการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนMRO อู่ตะเภา  และการบินไทยได้ออกประกาศเชิญชวนและคัดเลือกเอกชนโดยไม่ใช้วิธีการประมูล แต่ใช้วิธีคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ตั้งแต่วันที่ 13 พฤศจิกายน 2562 ซึ่งแอร์บัสผ่านคุณสมบัติและต้องเข้ามายื่นข้อเสนอร่วมทุนครั้งนี้กับการบินไทย

 

          การถูกแอร์บัสเท ก็ทำให้MRO แห่งนี้ ที่จะใช้แบรนด์แอร์บัสในการดำเนินธุรกิจ ก็ต้องล้มไป ซึ่งที่ผ่านมาการเจรจาร่วมทุนระหว่างการบินไทยและแอร์บัส แรกๆก็ไปได้ดี และได้มีการศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนแล้วว่า เห็นโอกาสทางธุรกิจที่เกิดขึ้น

"แอร์บัส"เมินร่วมทุนศูนย์ซ่อมอากาศยานอู่ตะเภา
           จึงมีกรอบการพัฒนาว่าศูนย์ซ่อมแห่งนี้ จะมีการซ่อมใหญ่อากาศยาน(Heavy Maintenance) สามารถรองรับอากาศยานลำตัวกว้างได้พร้อมกัน 3 ลำ รองรับอากาศยานลำตัวกว้างได้ 110 ลำต่อปี และอากาศยานลำตัวแคบ 130 ลำต่อปีการซ่อมบำรุงระดับลานจอด (Line Maintenance) รองรับอากาศยานลำตัวกว้างและแคบได้ 70  เที่ยวบินต่อวันและการพ่นสีอากาศยาน ทั้งลำตัวแคบและลำตัวกว้างราว 22 ลำต่อปี และจุดเด่นจะเป็นสมาร์ทแฮงการ์ ซึ่งใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่สุดของโลก ให้บริการซ่อมเครื่องบินทั้งของแอร์บัสและโบอิ้ง

"แอร์บัส"เมินร่วมทุนศูนย์ซ่อมอากาศยานอู่ตะเภา
            แต่มาติดในขั้นตอนการเจรจา โดยเฉพาะหนังสือเชิญชวนFRI ที่มีการแก้ไขกันอยู่หลายรอบ ซึ่งแอร์บัสมองว่าผูกมัดจนเกินไป แต่ฝ่ายกฎหมายของการบินไทย ก็มองเรื่องความได้เปรียบเสียเปรียบเป็นหลัก และหลักเกณฑ์ที่วางร่วมกัน ก็เหมือนคุยกันคนละภาษา ซึ่งแอร์บัสอยากให้มีความชัดเจนก่อนการร่วมลงทุน เมื่อคุยกันไม่เคลียร์
          ประกอบกับแอร์บัสมีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารใหม่ การเจรจาก็เหมือนกับต้องเริ่มกันใหม่หมด และในขณะนี้ก็ได้รับผลกระทบทางธุรกิจของโควิด-19 ทำให้แอร์บัส จึงไม่ได้หันมาโฟกัสในเรื่องนี้

 

         ทำให้จากนี้การบินไทยและคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกหรืออีอีซี จะต้องแนวทางใหม่ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น  เพราะถึงอย่างไรโครงการนี้จัดเป็นโครงการสำคัญในอีอีซี ถ้าโครงการนี้ไม่เกิด จะทำให้การต่อจิ๊กซอร์การพัฒนาเมืองการบินอู่ตะเภา ก็คงไม่สมบูรณ์ ซึ่งตามแผนMRO จะต้องพยายามเปิดให้บริการให้ได้ภายในปี 2565–2566
          ประกอบกับธุรกิจศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศ ก็เป็นอีกหนึ่งในการแสวงหารายได้ในระยะยาวให้กับการบินไทยด้วยเช่นกัน ตามแผนฟื้นฟูธุรกิจ ซึ่งแนวทางต่อจากนี้การบินไทย กำลังจะต้องพิจารณาทางออกที่เหมาะสมใน 3 แนวทางได้แก่ 1.การหาผู้ร่วมลงทุนรายใหม่ 2.การบินไทยลงทุนเองทั้งหมด และ3.การบินไทยลงทุนก่อน และทยอยหาพันธมิตรเข้ามาร่วมลงทุน
         การลงทุนในโครงการนี้ของเอกชนตามแผนที่ศึกษาไว้จะอยู่ที่ราว 4 ,255 ล้านบาท ซึ่งเป็นการลงทุนในส่วนของอุปกรณ์และเครื่องมือ ส่วนภาครัฐโดยกองทัพเรือจะลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานอยู่ที่ 6,333 ล้านบาท โดยเอกชนจะต้องจ่ายค่าเช่าให้กองทัพเรือตลอดอายุสัญญาเช่าพื้นที่ 50 ปี ในพื้นที่ 200 ไร่ รวมโครงการนี้มีมูลค่าการลงทุนอยู่ที่ 10,588 ล้านบาท