ทรู ส่งหุ่นยนต์ หนุน ร.พ.สนาม ภูเก็ต

15 เม.ย. 2563 | 13:02 น.

กลุ่มทรู ส่งหุ่นยนต์พร้อมโซลูชันการแพทย์ดูแลผู้ป่วย โรงพยาบาลสนามแห่งแรกของภูเก็ต

ทรู ส่งหุ่นยนต์ หนุน ร.พ.สนาม ภูเก็ต


    นางสาววฬุรีย์ จันทร์เพ็ชร ผู้จัดการฝ่ายขายประจำจังหวัดภูเก็ต กลุ่มทรู ส่งมอบหุ่นยนต์ดูแลผู้ติดเชื้อเทมิจากทรู โรโบติกส์ พร้อมสนับสนุนซิม True 5G-Ready รวมทั้งอุปกรณ์รับสัญญาณ CPE 5G และส่งมอบอุปกรณ์สื่อสารเครื่อง True Smart Adventure แก่บุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาลสนามวชิระภูเก็ตให้สามารถสื่อสารระหว่างกันได้สะดวกยิ่งขึ้น สานต่อโครงการ “ทรูส่งใจให้ฮีโร่ไทย สู้ภัยโควิด-19” นอกจากนี้ยังได้ร่วมกับคณะวิศวฯจุฬาฯ พร้อมด้วยบริษัทสตาร์ทอัพ HG Robotics และ Obodroid ภายใต้โครงการ CU-RoboCovid ติดตั้งปิ่นโตหุ่นยนต์ขนส่งอัจฉริยะ(Quarantine Delivery Robot) ผ่านระบบสื่อสารทางไกล (Quarantine Telepresence) รวมทั้งควบคุมรถเข็นได้จากระยะไกล (Remote Cart) เพื่อใช้ภายในโรงพยาบาลสนามวชิระภูเก็ต รวมทั้งมอบแท็บเล็ตจากหัวเว่ยให้บุคลากรทางการแพทย์ใช้สำหรับวิดีโอคอนเฟอเรนซ์  เพื่อแบ่งเบาภาระการปฎิบัติงานของบุคลากรในโรงพยาบาลได้เป็นอย่างดี ลดการเสี่ยงติดเชื้อของบุคลากรทางการแพทย์  ณ โรงพยาบาลสนามวชิระภูเก็ต จ.ภูเก็ต ทั้งนี้ยังได้ติดตั้ง TrueID TV Box ภายในโรงพยาบาลสนาม เพื่อช่วยผ่อนคลายจิตใจของผู้ป่วยให้คลายความวิตกกังวลอีกด้วย


  ทรู ส่งหุ่นยนต์ หนุน ร.พ.สนาม ภูเก็ต
     สำหรับหุ่นยนต์ Temi นั้นเป็นหุ่นยนต์ผู้ช่วยเหลือแพทย์ในการเยี่ยมคนไข้ที่เตียงได้ เพียงเชื่อมต่อมือถือกับหุ่นยนต์ คุณหมอก็สามารถบังคับหุ่นได้จากระยะไกล ลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ และลดการใช้ทรัพยากรชุด PPE โดยไม่จำเป็น โดยหมอสามารถพูดคุยกับคนไข้ได้ โดยที่คนไข้ไม่จำเป็นต้องลุกจากเตียง นอกจากนี้ยังส่งมอบปิ่นโต หุ่นยนต์ขนส่งอาหาร ยา เวชภัณฑ์ (Quarantine Delivery Robot) จำนวน 4 ชุด พร้อมระบบสื่อสารทางไกล Telepresence และรถเข็นควบคุมจากระยะไกล (Remote Cart) ควบคุมจากระยะไกลโดยนำมาใช้ในการขนส่งอาหาร ยาหรือ เวชภัณฑ์ทางการแพทย์ต่างๆ เคลื่อนที่ได้อย่างแม่นยำ

ทรู ส่งหุ่นยนต์ หนุน ร.พ.สนาม ภูเก็ต

      ทั้งนี้มีการติดตั้งมาพร้อมกับแท็บเล็ตที่มีระบบสื่อสารทางไกล (Telepresence) บนรถเข็นเพิ่มความสามารถในการทำงานควบคู่กับการสื่อสารกับคนไข้ได้แบบ 2 ทาง โดยบุคลากรทางการแพทย์ไม่ต้องเสี่ยงต่อการติดชื้อ ลดอัตราการใช้อุปกรณ์การแพทย์จากการถอดเปลี่ยนชุดทุกครั้งเมื่อเปลี่ยนโซนการรักษาที่มีความเสี่ยง รวมถึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของแพทย์