จับตา “โควิด” คุมไม่ได้ใน มิ.ย. คาด WFH ถึงสิ้นปี

15 เม.ย. 2563 | 07:34 น.

   เอ็นไอเอ แนะรัฐ-ประชาชน เตรียมแผนรับมือสถานการณ์โควิด หากหลัง  มิ.ย. 63 ยังไม่คลี่คลายอาจต้อง WFH ถึงสิ้นปี  พร้อมเร่งคลอดมาตรการกระตุ้นเอสเอ็มอีสตาร์ทอัพ

จับตา “โควิด” คุมไม่ได้ใน มิ.ย. คาด WFH ถึงสิ้นปี     ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ(องค์การมหาชน) กล่าวว่า ช่วงไตรมาสที่ 2 จนถึงไตรมาสสุดท้ายของปี 2563 ธุรกิจสตาร์ทอัพ และเอสเอ็มอีอาจมีการหยุดชะงักบ้าง ยกเว้นกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการแก้ไขปัญหาการระบาดของไวรัสโควิด -19 ทั้งนี้คาดว่าในระยะหลังจาก 6 เดือนเป็นต้นไป จะเริ่มเกิดปัญหาสภาพคล่อง NIA จึงได้เร่งหามาตรการด้านการเงินที่ตอบโจทย์ความต้องการของทั้งสตาร์ทอัพ และเอสเอ็มอี เพื่อบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้น อีกทั้งคาดการณ์ว่าประมาณช่วงหลังวันที่ 13-15 เมษายนเป็นต้นไป หากจำนวนผู้ติดเชื้อในประเทศไทยจะเริ่มลดลงต่อเนื่องหลายบริษัทอาจจะเลือกเวิร์คฟอร์มโฮมถึงแค่ช่วงสิ้นเดือนเมษายน แต่หากสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้นและไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ภายใน 3 เดือน คาดว่าจะต้องเวิร์คฟอร์มโฮมไปจนถึงสิ้นปี 2563 และภาครัฐรวมถึงประชาชนจะต้องเริ่มวางแผนการใช้ชีวิตแบบใหม่หลังจบเดือนมิถุนายนนี้

จับตา “โควิด” คุมไม่ได้ใน มิ.ย. คาด WFH ถึงสิ้นปี

   สำหรับมาตรการการทำงานที่บ้าน หรือ Work From Home ได้กลายเป็นปรากฏการณ์การทำงานรูปแบบใหม่ของหลายองค์กร ซึ่งหลังจากที่สถานการณ์โควิด - 19 คลี่คลายลง อาจจะได้เห็นการเริ่มต้นทำงานที่บ้านของหลายๆบริษัทอย่างจริงจังมากขึ้น โดยเฉพาะในธุรกิจนวัตกรรมบริการ ธุรกิจนวัตกรรมการสื่อสาร ซึ่งรวมถึงสื่อและผู้พัฒนาระบบ ธุรกิจนวัตกรรมการเงินและการตลาด (Fintech)  หรือแม้แต่หน่วยงานในกำกับราชการ  แม้ว่าการ Work From Home จะเป็นกระแสที่มาแรงและมีความน่าสนใจ แต่กระแสดังกล่าวอาจยังไม่ใช่ความปกติในรูปแบบใหม่ หรือที่เรียกว่า New Normal สำหรับสังคมการทำงานของไทย เนื่องจากในบางธุรกิจก็ยังไม่สามารถทำงานจากที่บ้านได้อย่างเต็มรูปแบบ โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมการผลิต เพราะต้องใช้แรงงานคนขับเคลื่อน

จับตา “โควิด” คุมไม่ได้ใน มิ.ย. คาด WFH ถึงสิ้นปี

   อย่างไรก็ตามสิ่งที่จะเป็นปรากฏการณ์ใหม่หลังจากการระบาดของไวรัสโควิด -19 จบลงอีกอย่างหนึ่งก็คือ การทำงานจากบ้านเกิดกันมากขึ้น หรือเรียกว่า การอพยพทางเศรษฐกิจกลับบ้าน “Home-coming economic migration” คนจะเลือกทำงานในถิ่นฐานเมืองรองมากขึ้น และใช้การสื่อสารผ่านระบบดิจิทัลมากขึ้น เพราะการเกิดโรคระบาดสะท้อนให้เห็นว่าความแออัด และระบบความปลอดภัยในหลายเมืองใหญ่ทั่วโลกยังไม่มีมาตรการที่แน่ชัด โดยเฉพาะเกี่ยวกับโรคอุบัติใหม่

จับตา “โควิด” คุมไม่ได้ใน มิ.ย. คาด WFH ถึงสิ้นปี

    “เรื่องที่น่าเป็นห่วงนอกเหนือจากการใช้ชีวิตประจำวันของประชาชนคือ ช่วงไตรมาสที่ 2 จนถึงไตรมาสสุดท้ายของปี 2563 ธุรกิจสตาร์ทอัพ และเอสเอ็มอีอาจมีการหยุดชะงัก แต่ยังไม่ส่งผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจมากขึ้น ยกเว้นกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการแก้ไขปัญหาการระบาดของไวรัสโควิด -19 ระบบโลจิสติกส์ ผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค การบริการด้านการเงิน และอาหาร ที่สามารถพลิกวิกฤติเป็นโอกาสในช่วงนี้ได้