‘จุฬาฯ’ ศึกษาแยก DNA มะพร้าวไทยป้องลักลอบ

02 ก.พ. 2563 | 03:27 น.

ชาวสวนมะพร้าวเฮ จุฬาฯ รับปากศึกษาแยก DNA มะพร้าวสกัดมะพร้าวเพื่อนบ้านทะลักทุบราคาในประเทศดิ่ง

‘จุฬาฯ’ ศึกษาแยก DNA มะพร้าวไทยป้องลักลอบ

นายพงษ์ศักดิ์ บุตรรักษ์ ผู้ประสานงานกลุ่มเครือข่ายเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เผยกับ“ฐานเศรษฐกิจ” เมื่อวันที่ 1 ก.พ.2563 ผศ.ดร.ปิยะศักดิ์ ชอุ่มพฤกษ์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาบรรยายที่ศูนย์รวบรวมมะพร้าวอินทรีย์ ที่จังหวัดประจวบฯ เกี่ยวกับการตรวจวิเคราะห์การวิจัยคุณค่าอาหารมะพร้าวไทยกับดีเอ็นเอมะพร้าว เพื่อจะปกป้องมะพร้าวไทย

‘จุฬาฯ’ ศึกษาแยก DNA มะพร้าวไทยป้องลักลอบ

“ผมว่าดีจะได้ทราบในเนื้อมะพร้าว มีน้ำตาลเท่าไร ไขมันเท่าไร แล้วเปรียบเทียบมะพร้าวจากเพื่อนบ้านว่าประเทศอินโดนีเซีย กัมพูชา และเวียดนาม แตกต่างกันอย่างไร จากนั้นจะให้วิจัยต่อว่าเมื่อทำเป็นน้ำกะทิกล่อง18%  ใส่กล่องได้จำนวนเท่าไร จะใช้ทีมวิจัยจากจุฬาฯ ชาวสวนจำเป็นต้องสู้และปกป้องมะพร้าวไทยด้วยข้อมูลทางวิทยาศาสตร์”

‘จุฬาฯ’ ศึกษาแยก DNA มะพร้าวไทยป้องลักลอบ

นายพงษ์ศักดิ์ กล่าวว่า ในส่วนของคุณสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ซึ่งผลการตรวจตัวอย่างน้ำกะทิตามท้องตลาดเป็นน้ำกะทิกล่อง100% หรือไม่ผลออกมาแล้ว โดยในวันที่ 12 ก.พ.นี้ ในช่วงเช้าจะเชิญผู้ประกอบการน้ำกะทิทั้งหมด ร่วมกับกลุ่มเกษตรกรชาวสวนมะพร้าวมาประชุมเพื่อหาแนวทางร่วมกันว่าจะทำอย่างไรให้สินค้าปลอดภัย อีกด้านก็เป็นการช่วยเหลือเกษตรกรไทย และในช่วงบ่ายจะเป็นการแถลงข่าว พร้อมกันให้ผู้ประกอบการติดฉลากที่มาวัตถุดิบที่กล่องแหล่งที่มาของวัตถุดิบเพื่อให้ผู้บริโภคได้ตัดสินใจว่าจะซื้อน้ำกะทิของไทยหรือของเพื่อนบ้าน ผมก็ถือว่าเป็นงานบวกที่เป็นผลดีกับเกษตรกรไทย

‘จุฬาฯ’ ศึกษาแยก DNA มะพร้าวไทยป้องลักลอบ

ด้านผศ.ดร.ปิยะศักดิ์ ชอุ่มพฤกษ์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวบรรยาย ตอนหนึ่ง ว่า มะพร้าวจะเป็นงานวิจัยครั้งแรกไม่เคยทำมาก่อน แต่จะใช้วิธีการเปรียบเทียบกับพันธุ์หลักก่อน โดยจะให้ชุมชุนสนับนสนุนพันธุ์ตัวอย่างที่อ้างว่ามีการปลอมปนสวมเข้ามาเป็นมะพร้าวไทย ทั้งอินโดนีเซียและเมียนมา ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษา หากเรื่องเหล่านี้ไปสู่มิติที่ลึกขึ้นอาจจะนำไปเปรียบเทียบกับมะพร้าวอื่นๆ ที่มีในเมืองไทย

‘จุฬาฯ’ ศึกษาแยก DNA มะพร้าวไทยป้องลักลอบ

“จะเป็นการนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาช่วยยกระดับ เรื่องคุณค่ากับเสน่ห์ของมะพร้าว ทั้งเรื่องของพฤกษ์ศาสตร์ อัตลักษณ์ มีความเฉพาะความเหมือนและความต่างจากที่อื่นหรือไม่ จนถึงการจำแนกพันธุกรรม หรือดีเอ็นเอมะพร้าวของที่นี่กับมะพร้าวลักลอบที่อื่น หรือใช้เพื่อเป็นข้อมูลในการปรับปรุงพันธุกรรมต่อไปของมะพร้าว”