ชาวสวนระทมนำเข้าทุบมะพร้าวร่วง 5 บาท

24 ธ.ค. 2562 | 06:40 น.

“พงษ์ศักดิ์” เผยราคามะพร้าวดิ่งร่วง 5 บาท จากราคาพ่อค้าปั่นพุ่งสูงสุด 25 บาท/ลูกหวังเคลมนำเข้า 3.2 หมื่นตันสำเร็จ เล็งประเมินผลกระทบหลังปีใหม่ บอร์ดพืชน้ำมันและน้ำมันพืช เผยปี 63 ความต้องการใช้พุ่งกว่า 1.12 ล้านตัน ขณะที่ไทยมีผลผลิต ไม่เพียงพอ

มติคณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช  มีมติเห็นชอบ (20 พ.ย.62)การจัดสรรปริมาณนำเข้ามะพร้าวผลภายใต้กรอบความตกลงอาฟตา ปี 2562 สำหรับเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2562 ให้กับผู้ประกอบการแปรรูปมะพร้าวที่มีคุณสมบัติและเป็นผู้มีสิทธิจำนวน 15 ราย ปริมาณ 3.2 หมื่นตัน นั้น

ชาวสวนระทมนำเข้าทุบมะพร้าวร่วง 5 บาท

นายพงษ์ศักดิ์ บุตรรักษ์ ผู้ประสานงานกลุ่มเครือข่ายเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ราคาวันนี้ (24 ธ.ค.62) เหลือ 20 บาท/ลูก จากราคาก่อนหน้านี้ 25 บาท/ลูก ซึ่งเป็นแผนของพ่อค้าที่ต้องการให้ราชการเห็นว่ามะพร้าวขาดแคลนหนัก เพื่อให้มีการนำเข้า ท้ายสุดก็เข้าทางพ่อค้ารัฐบาลได้เปิดการนำเข้ามาจริงกว่า 3.2 หมื่นตัน อย่างไรก็ดีทางกลุ่มจะมีการประเมินสถานการณ์ราคาหลังปีใหม่ เพราะราคากระทบแน่นอน แต่ถ้าไม่กระทบจะต้องนำเข้าเดือนละ 5-6 ล้านลูก แต่ถ้า 26 ล้านลูกภายใน  1 เดือนกระทบแน่นอน แล้วยังไม่เปิดเผยเรื่องน้ำกะทิแช่แข็งอีกว่ามีการนำเข้ามาเท่าไร ตัวนี้ร้ายแรงมาก เรียกว่าทำลายอุตสาหกรรมมะพร้าวไทยทุกห่วงโซ่

ชาวสวนระทมนำเข้าทุบมะพร้าวร่วง 5 บาท

“ใกล้วันปีใหม่ ทางกลุ่มจะมีป้ายไม้อัดขึ้นข้างทางตลอดเส้นทาง ซึ่งจะเป็นแหล่งปลูกมะพร้าวสำคัญในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่แสดงออกถึงการปกป้องมะพร้าวไทย และการแสดงเชิงสัญลักษณ์ที่ไม่พอใจรัฐบาลในการบริหารประเทศ และที่สำคัญอนุมัติในการนำเข้ามะพร้าวในครั้งนี้ ซึ่งเชื่อว่าในวันจะมีชาวสวนหัวใจเดียวกันออกมาแสดงพลังกันมาก”ฃ

ชาวสวนระทมนำเข้าทุบมะพร้าวร่วง 5 บาท

ด้านแหล่งข่าวคณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช เผยถึงสถานการณ์ปี 2563 คาดการณ์ผลผลิตออกสู่ตลาดมากในข่วงเดือนมีนาคม-สิงหาคม และความต้องการใช้มะพร้าวผล 1.12 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 1.07 ล้านตัน ในปี 2562  ร้อยละ 5.15% ขณะที่ปริมาณผลผลิตมะพร้าวมี 0.88 ล้านตัน ทำให้ผลผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ จึงขอเสนอข้อมูลแนวทางการบริหารการนำเข้าสำหรับปี 2563

ชาวสวนระทมนำเข้าทุบมะพร้าวร่วง 5 บาท

1.ช่วงเวลาการบริหารจัดการนำเข้ามะพร้าวผลภายใต้กรอบความตกลง AFTA ปี 2563 ในช่วง 2 เดือน (เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2563)

2.หลักเกณฑ์การจัดสรรปริมาณนำเข้าฯ  โดยใช้ผลการรับซื้อมะพร้าวภายในประเทศช่วงเดือนมกราคม-สิงหาคม 2563 มาพิจารณาจัดสรรปริมาณนำเข้าฯ ให้แก่ผู้มีสิทธินำเข้าในอัตรา 3:1 (ซื้อในประเทศ 3 ส่วน นำเข้าได้ 1 ส่วน)

3.ใช้ข้อมูลผู้ประกอบการที่มาขึ้นทะเบียนและผ่านคุณสมบัติเป็นผู้มีสิทธินำเข้ามะพร้าวผล ภายใต้กรอบความตกลง AFTA ปี 2563 จากกรมการค้าต่างประเทศ เพื่อประกอบการพิจารณาจัดสรรการนำเข้าฯ ของคณะอนุกรรมการ

ชาวสวนระทมนำเข้าทุบมะพร้าวร่วง 5 บาท

สำหรับปริมาณนำเข้ามะพร้าวผลแห้ง (พิกัด 0801.19.90.000 ) การนำเข้าปี 2562( ม.ค.-ต.ค.) มีปริมาณ 112,130.93 ตัน มูลค่า 886.44 ล้านบาท เปรียบเทียบกับปี 2561 ในช่วงเดียวกันมีปริมาณการนำเข้า 197,054.18 ตัน (กรอบ WTO ปริมาณ 29,330.86 ตัน กรอบ AFTA ปริมาณ 167,723.32 ตัน) มูลค่า 1,704.97 ล้านบาท (กรอบ WTO มูลค่า 209.36 ล้านบาท กรอบ AFTA  มูลค่า 1,495.61 ล้านบาท)  โดยปริมาณและมูลค่านำเข้าลดลงจากปี 2561 ร้อยละ 43.10 และร้อยละ 48.01 ตามลำดับ

ชาวสวนระทมนำเข้าทุบมะพร้าวร่วง 5 บาท

ส่วนการนำเข้ากะทิสำเร็จรูป ปี 2562 (ม.ค.-ต.ค.) มีปริมาณการนำเข้า 31,167.78 ตัน มูลค่า 1,040.32 ล้านบาท เปรียบเทียบกับปี 2561 ในช่วงเดียวกัน มีปริมาณการนำเข้า 30,677.60 ตัน มูลค่า 1,108.31 ล้านบาท โดยปริมาณเพิ่มขึ้น แต่มูลค่าลดลงจากปี 2561

ชาวสวนระทมนำเข้าทุบมะพร้าวร่วง 5 บาท

ขณะที่การส่งออกกะทิสำเร็จรูป ปี 2562 (ม.ค.-ต.ค.) มีปริมาณ 219,601.51 ตัน มูลค่า 10,740.10 ล้านบาท เปรียบเทียบกับปี 2561 ในช่วงเดียวกัน มีปริมาณการส่งออกกะทิ 215,722.78 ตัน มูลค่า 11,410.54 ล้านบาท โดยปริมาณเพิ่มขึ้น ในขณะที่มูลค่าลดลงจากปี 2561

ชาวสวนระทมนำเข้าทุบมะพร้าวร่วง 5 บาท

อย่างไรก็ดีแหล่งข่าวคณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช กล่าวว่า ถึงผู้ประกอบการนำเข้าทั้ง 15 ราย ต้องให้ความ "เป็นธรรม" ว่า ได้ปฎิบัติตามกฎ กติกา ก็คือ ซื้อในประเทศ 3 ส่วน นำเข้าได้ 1 ส่วน สามารถปฎิบัติได้จริง แถมยังไปหั่นโควตาเหลือ 1 เดือน หากผู้ประกอบการไปฟ้องจริงก็แพ้ เพราะรัฐไม่ปฎิบัติตามสัญญา หั่นเหลือ 3.2 หมื่นตัน 

ชาวสวนระทมนำเข้าทุบมะพร้าวร่วง 5 บาท

อนึ่ง สำหรับ 15 รายชื่อบริษัทที่นำเข้าประมะพร้าว 32,543 ตัน  ภายในธันวาคม 2562 ได้แก่ 1. บริษัท เทพผดุงพรมะพร้าว จำกัด จำนวน  8,545 ตัน 2.บริษัท ไทยอกริ ฟู้ดส์ จำกัด (มหาชน) ปริมาณ 4,155 ตัน 3.บริษัท ไทยแทน ฟู้ดส์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ปริมาณ 3,184 ตัน 4.บริษัท ไทยโดโคนัท จำกัด (มหาชน)  ปริมาณ 4,163 ตัน

5.บริษัท อำพลฟูดส์ ไพรเซสซิ้ง จำกัด ปริมาณ 6,175 ตัน 6.บริษัท เอเชียติค อุตสาหกรรมเกษตร จำกัด ปริมาณ 2,592 ตัน 7.บริษัท สุรีย์ อินเตอร์ฟูดส์ จำกัด  ปริมาณ 691 ตัน 8. บริษัท วราฟู๊ดแอนด์ดริ๊ง จำกัด ปริมาณ 790 ตัน 9. บริษัท ทิปโก้ ไพน์แอบเปิ้ล  จำกัด ปริมาณ  297 ตัน

10. บริษัท แพนอินเตอร์ฟู๊ดส์ จำกัด ปริมาณ  165 ตัน 11. บริษัท สยามพลัส โคโค่นัท ออยล์ จำกัด  ปริมาณ 5 ตัน 12. บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารเชฟช้อย จำกัด ปริมาณ 970 ตัน 13. บริษัท หอมหวนอุตสาหกรรมอาหาร จำกัด ปริมาณ 217 ตัน 14. บริษัท จังเกิลฟู๊ดส์ จำกัด  ปริมาณ 437 ตัน และ 15.ห้างหุ้นส่วนจำกัดปัตตานีซุ่นเฮง ปริมาณ 159 ตัน