เคลียร์ปมอนุสัญญาฯ 'ซี87/ ซี98' ประมงไทย

29 ต.ค. 2562 | 15:33 น.

สหกรณ์ประมงแม่กลองและศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับองค์กรภาคประชาสังคมได้เล็งเห็นความสำคัญของการจัดให้มีแรงงานสัมพันธ์มาโดยตลอด ในปี 2557 ทางศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชียได้หารือกับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานและภาคประชาสังคมเพื่อการจัดตั้งสหภาพแรงงานประมงทะเล อย่างไรก็ตามความริเริ่มในครั้งนั้นยังไม่บรรลุเป้าหมายโดยสมบูรณ์

เคลียร์ปมอนุสัญญาฯ 'ซี87/ ซี98' ประมงไทย

ต่อมาจึงได้มีการหารือกับสมาคมประมงแห่งประเทศไทยและแรงงานในภาคประมงทะเลเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการจัดตั้งสหภาพแรงงานประมงทะเลในสถานประกอบการร่วมกับสมาคมประมงทะเลใน 22 จังหวัดผลการประชุม ในปี 2558 ได้เสนอให้มีการจัดตั้งนำร่องในพื้นที่ที่มีความพร้อมก่อน เป็นที่มาของการจัดตั้ง "คณะกรรมการสวัสดิการแรงงานประมงทะเล, สหกรณ์ประมงแม่กลอง" เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมา

 

เคลียร์ปมอนุสัญญาฯ 'ซี87/ ซี98' ประมงไทย

 

วันที่ 29 ต.ค.62 นายมงคล สุขเจริญคณา ประธานสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย และในฐานะที่ปรึกษาคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานประมงทะเล สมุทรสงคราม เปิดเผยถึงประเด็นที่ประเทศสหรัฐฯได้ตัดสิทธิ GSP ประเทศไทยโดยได้มีการอ้างเหตุผลในเรื่องที่ประเทศไทยไม่ดำเนินการในเรื่องมาตราฐานด้านแรงงานให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลนั้น โดยเฉพาะประเด็นอนุสัญญาฯ ฉบับที่ 87 หรือซี87ว่าด้วยการรวมตัว และ อนุสัญญาฯ ฉบับที่ 98 หรือ ซี98ว่า ด้วยการเจรจาต่อรอง ซึ่งจากข้อมูลที่ทางสหรัฐฯ อาจจะได้รับข้อมูลไม่ครบถ้วนเพียงพอ

เคลียร์ปมอนุสัญญาฯ 'ซี87/ ซี98' ประมงไทย

ถ้าพูดถึงประเด็นดังกล่าวจะเห็นได้ว่าจากการที่สมาคมประมงได้ร่วมมือกับผู้ประกอบการประมง ลูกจ้างแรงงานไทย แรงงานต่างด้าวและศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นฐานแห่งเอเชีย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีการจัดตั้ง”คณะกรรมการสวัสดิการแรงงานประมงทะเล “ขึ้นที่จังหวัดสมุทรสงครามอย่างเป็นรูปธรรม เมื่อวันที่ 4 มิ.ย. 2562 ที่ผ่านมา เป็นจังหวัดนำร่อง เพื่อที่จะมีการขับเคลื่อนใน 22 จังหวัดชายทะเลในอนาคต จึงเป็นข้อมูลที่สามารถชี้แจงให้กับทางสหรัฐฯ ได้รับทราบถึงความคืบหน้าถึงการดำเนินการเพื่อให้สอดคล้องกับอนุสัญญาC87 และC98 ตามที่สหรัฐต้องการอยู่แล้ว

เคลียร์ปมอนุสัญญาฯ 'ซี87/ ซี98' ประมงไทย

"สิ่งที่ต้องชี้แจงให้เข้าใจบริบทประเทศไทยที่มีการใช้แรงงานต่างด้าวจำนวนมาก แม้ว่าเรายังไปไม่ถึงให้แรงงานต่างด้าวมีสิทธิจัดตั้งสหภาพแรงงานต่างด้าวเหมือนคนไทยได้ แต่เราก็มีการจัดตั้งคณะกรรมการสวัดิการให้คนงานมีสิทธิ มีเสียงได้ แม้จะยังไม่อำนาจต่อรองเหมือนสหภาพฯทุกอย่างก็จะพัฒนาเป็นไปตามขั้นตอน ถ้าเร็วไปและไม่มีการเตรียมความพร้อมทุกคนก็จะรู้แต่สิทธิ แต่ไม่รู้หน้าที่ ก็จะมีผลกระทบ ก็ต้องชี้แจง ทำความเข้าใจกัน และเราก็มิได้ละเลย แต่ต้องค่อยเป็นค่อยไปตามบริบทของประเทศเรา"

เคลียร์ปมอนุสัญญาฯ 'ซี87/ ซี98' ประมงไทย

ด้านศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.สุภางค์ จันทวานิช ที่ปรึกษาศูนย์ย้ายถิ่นแห่งเอเซีย สถาบันเอเซียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกล่าวว่า การจัดให้มี”คณะกรรมการสวัสดิการแรงงานประมงทะเล” และรับฟังข้อเรียกร้องและความต้องการของแรงงานถือเป็นก้าวสำคัญของการดำเนินการตามกฎหมายแรงงานสัมพันธ์และการคุ้มครองแรงงานประมงทะเลตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานในงานประมง พ.ศ.2562 ซึ่งจะทำให้การคุ้มครองแรงงานประมงทะเลของประเทศไทยอยู่ในมาตราฐานทั้งระดับประเทศและระดับมาตรฐานสากลได้

เคลียร์ปมอนุสัญญาฯ 'ซี87/ ซี98' ประมงไทย

“กรณีที่สหรัฐอเมริกาประกาศตัดสิทธิ์ GSP ประเทศไทยซึ่งยังไม่สามารถระบุได้ว่าเกิดจากสาเหตุใดมองว่าหากเป็นเรื่องแรงงานชาวประมงไทยก็จะตกเป็นเป้าหมาย อยู่แล้วที่จะถูกใช้เป็นเหตุผลในการกล่าวหาซึ่งเราก็สามารถชี้แจง ได้อยู่แล้วถึงความก้าวหน้าในการแก้ไขปัญหาด้านแรงงานประมงรวมทั้งอียูประกาศยกเลิกใบเหลืองประเทศไทยได้ผ่านไปแล้ว ทำให้เราสามารถที่จะชี้แจงกับทางสหรัฐฯ ได้จึงไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวลอะไร”