จ่ายงวดแรกประกันข้าว รับสูงสุด 7.4 หมื่นต่อครัวเรือน

15 ต.ค. 2562 | 09:37 น.

จุรินทร์  เผยจ่ายงวดแรกประกันรายได้ข้าว  รับสูงสุด 7.4 หมื่นต่อครัวเรือน  ชี้นโยบายของรัฐบาลทำได้ไว ทำได้จริง  โอนเงินส่วนต่างงวดแรกได้ภายในแค่ 90 วัน

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยหลัง Kick off ประกันรายได้ผู้ปลูกข้าววันนี้( 15 ต.ค.62)ว่า ถือเป็นวันประวัติศาสตร์ และเป็นวันแรกที่ได้มีการโอนเงินส่วนต่างราคาข้าว ตามนโยบายประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวของรัฐบาล จากนี้ไปจะมีการโอนเงินทุก 15 วัน งวดนี้ถือว่าเป็นงวดแรก โดยงวดถัดไปเป็นวันที่ 1 พฤศจิกายน 2562 และต่อไปเป็นวันที่ 15 พฤศจิกายน 2562 ซึ่งจะดำเนินการจนครบฤดูกาลผลิตนี้ เงินส่วนต่างที่โอนให้เกษตรกรนั้นงวดนี้ครัวเรือนที่ได้รับเงินสูงสุดถึง  74,000 บาท และลดหลั่นกันไปตามข้อเท็จจริงและของคุณภาพข้าว และจำนวนปริมาณผลผลิตของชาวนาแต่ละครอบครัวเรือน

จ่ายงวดแรกประกันข้าว รับสูงสุด 7.4 หมื่นต่อครัวเรือน

ทั้งนี้พิสูจน์ได้ว่านโยบายประกันรายได้ของรัฐบาลสามารถทำได้ไว ทำได้จริง เพราะสามารถโอนเงินส่วนต่างงวดแรกได้ภายในแค่ 90 วัน นับแต่แถลงนโยบายต่อรัฐสภา ซึ่งการประกันรายได้เกษตรกรที่ปลูกข้าวนี้เป็นหนึ่งใน 5 พืชเกษตรที่รัฐบาลมีนโยบายประกอบด้วยข้าว ยางพารา มันสัมปะหลัง ข้าวโพด และปาล์มน้ำมัน สำหรับปาล์มน้ำมันนั้น ได้มีการโอนเงินส่วนต่าง งวดแรกไปแล้วเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2562 ที่ผ่านมาและต่อไปก็จะโอนไปเรื่อย ๆ จนครบทั้งหมด 8 งวดในแต่ละปี

 

จ่ายงวดแรกประกันข้าว รับสูงสุด 7.4 หมื่นต่อครัวเรือน

ขณะที่ในส่วนของยางพารา คณะรัฐมนตรี(ครม.)วันที่ 15 ตุลาคม 25612 ได้มีมติเห็นชอบแล้วโดยประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกยางสำหรับยางแผ่นดิบชั้นสามกิโลกรัม(กก.)ละ 60 บาท น้ำยางสดกก.ละ 57 บาท ยางก้อนกก.ละ 23 บาท ซึ่งได้กำหนดให้จ่ายเงินส่วนต่างตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายนถึงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2562 ซึ่งการจ่ายเงินชดเชยส่วนต่างยางพาราต้องใช้เวลา 15 วันเพราะว่าจะต้องทยอยตรวจสอบ ซึ่งให้เวลาการยางแห่งประเทศไทย(กยท.) ตรวจสอบ 15 วัน หากตรวจเสร็จก็จะโอนเงินทันทีผ่านธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) เข้าบัญชีเกษตรกร โดยเตรียมไว้ 24,000 ล้านบาท จ่ายทั้งหมด 6 งวด

จ่ายงวดแรกประกันข้าว รับสูงสุด 7.4 หมื่นต่อครัวเรือน

ด้านนายวิชัย โภชนกิจ อธิบดีกรมการค้าภายใน (คน.) กล่าวในการชี้แจงโครงการประกันรายได้เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปี 2562/63 รอบที่ 1 ณ องค์การบริหารส่วนตำบลหลักชัย อำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีตัวแทนเกษตรกรมารับฟังได้แก่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  อ่างทอง สุพรรณบุรี นนทบุรี และนครปฐมเข้าร่วมประมาณ  500 คนว่า ได้กำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว เพื่อชดเชยส่วนต่างราคาตามโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 รอบที่ 1 งวดที่ 1 ประจำวันที่ 15 ต.ค.2562 ให้แก่เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวสำหรับผู้ที่คาดว่าจะเก็บเกี่ยวก่อนวันที่ 16 ต.ค.2562 แล้ว

 

ทั้งนี้จะมีการจ่ายชดเชยรายได้ให้กับข้าวเปลือก 2 ชนิด คือ ข้าวเปลือกเจ้าตันละ 2,469.64 บาท และข้าวเปลือกหอมปทุมธานีตันละ 783.45 บาท ส่วนอีก 3 ชนิด คือ ข้าวเปลือกหอมมะลิ ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ และข้าวเปลือกเหนียว ไม่ชดเชย เพราะราคาข้าวทั้ง 3 ชนิดสูงกว่าราคาประกันรายได้ โดยในรอบแรกรัฐบาลจะใช้งบประมาณ 9,400 ล้านบาท จ่ายให้เกษตรกรจำนวน 3.45 แสนครัวเรือน โดยย้ำว่าเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตรจึงจะมีสิทธิรับเงินชดเชยส่วนต่าง ซึ่งไม่มีข้อจำกัดด้านการถือครองเอกสารสิทธิที่ดินซึ่งในแต่ละรอบเงินชดเชยจะไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับราคาตลาดในขณะนั้น

จ่ายงวดแรกประกันข้าว รับสูงสุด 7.4 หมื่นต่อครัวเรือน

 

สำหรับราคาตลาดอ้างอิงที่นำมาใช้ในการคำนวณเพื่อจ่ายส่วนต่างประกันรายได้ ได้แก่ ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 16,723 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 15,651  บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 7,530 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 10,216 บาท และข้าวเปลือกเหนียว ตันละ 18,926  บาท

รายงานข่าวกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2562 คณะอนุกรรมการกํากับดูแลและกําหนดเกณฑ์ กลางอ้างอิงโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวได้มีมติเห็นชอบการกําหนดราคา เกณฑ์กลางอ้างอิงและการชดเชยส่วนต่างราคาตามโครงการประกันรายได้เกษตรกร ผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 รอบที่ 1 ในงวดที่ 1 ซึ่งราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงข้าวเปลือกหอมมะลิ อยู่ที่ตันละ 16,723.09 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ อยู่ที่ตันละ 15,651.05 บาท ข้าวเปลือกเจ้า อยู่ที่ตันละ 7,530.36 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี อยู่ที่ตันละ 10,216.55 บาท และข้าวเปลือกเหนียว อยู่ที่ตันละ 18,926.86 บาท

จ่ายงวดแรกประกันข้าว รับสูงสุด 7.4 หมื่นต่อครัวเรือน

ดังนั้นจึงส่งผลให้รัฐบาลต้องจ่ายชดเชยส่วนต่างในข้าวเปลือก 2 ชนิด ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้าตันละ 2,469.64 บาท และข้าวเปลือกหอมปทุมธานีตันละ 783.45 บาท ส่วนชนิดที่เหลือนั้นอยู่ในเกณฑ์ราคาสูงเลยเพดานของราคาประกัน ทั้งนี้ การจ่ายเงินชดเชยงวดแรก ธ.ก.ส. จะโอนเงินชดเชยเข้าบัญชีเกษตรกรโดยตรง ซึ่งเกษตรกรจะสามารถเบิกถอนเงินได้ทันทีภายในวันที่ 15 ตุลาคม 2562 ซึ่งในงวดแรก มีเกษตรกรได้รับเงินชดเชยจากข้าวเปลือกเจ้าและข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ประมาณ 349,000 ครัวเรือน วงเงินชดเชยประมาณ 9,400 ล้านบาท

จ่ายงวดแรกประกันข้าว รับสูงสุด 7.4 หมื่นต่อครัวเรือน