ส่งออกแห่ลดผลิต-โอที

30 ก.ย. 2562 | 23:30 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

ภาคส่งออกถอดใจ ปั๊มยอด Q4 ไม่ขึ้น ปัจจัยเสี่ยงโหม กระหนํ่าทั้งเทรดวอร์ ค่าเงินบาท ขาดแคลนวัตถุดิบ แข่งขันสูง ซัดธุรกิจซวนเซ ปีนี้แค่เอาชีวิตรอด เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ อัญมณี โรงงานอาหารแห่ลดกำลังผลิตข้าวคาดยอดตํ่าสุดรอบ 6 ปี

ภาคธุรกิจไทยกำลังเข้าสู่โค้งสุดท้ายในไตรมาสที่ 4 ของปี 2562 ท่ามกลางบรรยากาศเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน ภาคบริการ และเรียลเซ็กเตอร์ทุกสาขาที่อยู่ในภาวะชะลอตัวจากปัจจัยทั้งในและนอกประเทศ ขณะภาคส่งออกซึ่งเป็นรายได้หลักของประเทศ สัดส่วนเกือบ 70% ของจีดีพี ช่วง 8 เดือนแรกตัวเลขยังติดลบที่ 2.2% จากเป้าหมายทั้งปีกระทรวงพาณิชย์ตั้งไว้โต 3% จากการตรวจสอบผู้ส่งออกตัวจริงระบุช่วงโค้งสุดท้าย ตัวเลขคงขยับขึ้นได้บ้าง แต่ภาพรวมทั้งปียังอยู่ในแดนลบ

อิเล็กทรอนิกส์ลดผลิต

นางกนิษฐ เมืองกระจ่าง ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และโทรคมนาคม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) กลุ่มสินค้าที่มูลค่า และสัดส่วนการส่งออกมากสุดของประเทศสัดส่วนรวมกันกว่า 25% ของมูลค่าส่งออกในภาพรวมของไทย เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า การส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีนี้คงกระเตื้องขึ้นเล็กน้อย แต่ทั้งปีการส่งออกคาดจะอยู่ในแดนลบ

“ปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบได้แก่สงครามการค้า ทำให้เศรษฐกิจและการค้าโลกชะลอตัว กำลังซื้อผู้บริโภคลดลง เทคโนโลยีเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ก็เปลี่ยนแปลงไปเช่นแผงวงจรต่าง ๆ ผู้ประกอบการต้องใช้เวลาปรับตัว ซึ่งทุกรายในปีนี้ในภาพรวมมีการปรับลดกำลังผลิตลงมากน้อยแตกต่างกันไป ไม่มีโอทีเพราะออร์เดอร์ ลดลง บางรายมีการปรับลดคนงาน ส่วนปีหน้าทิศทางยังเดายาก เพราะปัจจัยเสี่ยงหลัก เช่นสงครามการค้าก็ยังเดาไม่ได้ว่าจะคลี่คลาย หรือจะยืดเยื้อ ดังนั้นทุกรายพยายามทำตัวให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด”

แหล่งข่าวจากผู้ประกอบการอัญมณีและเครื่องประดับ เผยว่า โรงงานผลิตเครื่องประดับอัญมณีส่วนใหญ่ในปีนี้ได้ปรับลดกำลังผลิตลง จากถูกมองเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยจึงได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจและการค้าโลกที่ชะลอ การส่งออกช่วง 8 เดือนแรกยังติดลบประมาณ 2% คาดหวังไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ ซึ่งปกติช่วงไฮซีซันตัวเลขจะปรับตัวดีขึ้น หากทั้งปีนี้ตัวเลขไม่ติดลบก็น่าพอใจแล้ว

 

ส่งออกข้าวตํ่าสุดรอบ6ปี

นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์ สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยเผยว่า การส่งออกข้าวไทยในช่วง 9 เดือนแรกคาดส่งออกได้ราว 6 ล้านตัน จากทั้งปีนี้ตั้งเป้าไว้ที่ 9 ล้านตันมองว่าคงยาก เพราะเวลานี้ผลกระทบจากเงินบาทแข็งค่าทำให้ราคาข้าวไทยสูงโด่งกว่าคู่แข่ง เช่น ข้าวขาว 5% ของไทยเวลานี้สูงกว่าข้าวเวียดนาม 80-90 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน ช่วง 3 เดือนสุดท้ายของปีนี้คิดแง่ดีหากไทยสามารถส่งออกได้เฉลี่ยสูงสุดที่ 6-7 แสนตันทั้งปีรวมประมาณ 8 ล้านตันจะตํ่าสุดในรอบ 6 ปี นับจากปี 2557-2561 ที่ไทยส่งออกได้ที่ 9.7-11.6 ล้านตัน ส่วนปี 2562 มองว่ายังเหนื่อยหากเงินบาทยังแข็งค่าต่อเนื่อง รวมถึงจีนจากคู่ค้าที่กลายมาเป็นคู่แข่งส่งออกข้าวอีกรายในปัจจุบัน


 

อาหารลุ้น 1 ล้านล.

นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร ส.อ.ท. กล่าวว่า ภาพรวมการส่งออกสินค้าอาหารของไทยทุกรายการช่วง 8 เดือนแรกปีนี้มีมูลค่า 6.87 แสนล้านบาท ติดลบ 2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สินค้าที่ส่งออกลดลง เช่นสับปะรดกระป๋องส่งออกได้ 1.17 หมื่นล้านบาท ติดลบ 18% สาเหตุหลักจากขาดแคลนวัตถุดิบ ส่งผลให้ปีนี้โรงงานสับปะรดกระป๋องเกือบ 20 โรงต้องเลื่อนเปิดไลน์ผลิตจากปกติเปิดไลน์ในเดือนกันยายน เลื่อนเป็นเดือนพฤศจิกายน ซึ่งจะทำให้มีการผลิตและการส่งออกลดลงจากปีที่แล้ว

“นอกจากนี้มีข้าวโพดหวานก็มีปัญหาจากฝนแล้ง นํ้าท่วม วัตถุดิบไม่เพียงพอป้อนโรงงาน นํ้าตาลทรายการส่งออก 8 เดือนก็ยังติดลบ(-20%) จากตลาดโลกหดตัวและมีการแข่งขันสูง และผู้ส่งออกไทยเสียเปรียบเรื่องเงินบาทแข็งค่า ทำให้ราคาสูงกว่าคู่แข่ง ภาพรวมส่งออกอาหารทุกรายการปีนี้หากทำได้ที่ระดับ 1.03 ล้านล้านบาทเท่ากับปีที่ผ่านมาก็น่าจะพอใจแล้ว ส่วนทิศทางปีหน้ายังดูไม่สดใส”

 

สอท.ชี้ปีนี้สารพัดเสี่ยง

ด้านนายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธาน ส.อ.ท.ยอมรับว่าภาพรวมเศรษฐกิจปีนี้แวดล้อมไปด้วยปัจจัยเสี่ยงรอบด้านโดยเฉพาะปัจจัยจาก ภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้ บางบริษัทที่ได้รับผล
กระทบธุรกิจขาดสภาพคล่อง หลังจากที่คำสั่งซื้อลดลงนั้น ไม่น่าจะมาจากปัญหาสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน เพียงอย่างเดียว แต่ยังมาจากอีกหลายปัจจัยทั้งเศรษฐกิจโลก เงินบาทแข็งค่า ที่ล้วนเป็นอุปสรรคต่อการส่งออกทั้งสิ้น แต่ท่ามกลางวิกฤติ ไทยก็ได้รับอานิสงส์ เช่น การส่งออกสินค้าอาหารบางรายการที่ส่งออกเพิ่มขึ้น และการดึงทุนเข้ามาลงทุนในพื้นที่อีอีซี ในอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ก็มีทิศทางที่ด

หน้า 1 ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3509 วันที่ 29 กันยายน - 2 ตุลาคม 2562

ส่งออกแห่ลดผลิต-โอที