จีนส่งเจ้าหน้าที่ประจำการเอกชน 100 แห่ง ชี้แค่ทำงานใกล้ชิด

25 ก.ย. 2562 | 01:32 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

  • รัฐบาลเจ้อเจียงส่งตัวแทนซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ เข้าไปประจำการในบริษัทใหญ่ 100 แห่งทั่วพื้นที่
  • รัฐบาลให้เหตุผลว่าเป็นการทำงานใกล้ชิดกันมากขึ้น เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลได้ทันที
  • ปฎิกิริยาในโลกโซเซียลของจีนมองว่าเป็นล้วงลูกและอาจมีผลต่อความน่าเชื่อถือในสายตาชาวโลก

จีนส่งเจ้าหน้าที่เข้าประจำเอกชน 100 แห่งในเจ้อเจียง

มีรายงานข่าวจากสถานีข่าว CNN กล่าวถึงความเคลื่อนไหวของรัฐบาลจีนว่า รัฐบาลกำลังส่งเจ้าหน้าที่ของรัฐ เข้าไปในบริษัทเอกชนรายใหญ่ของประเทศ โดยให้เหตุผลว่าต้องการสนับสนุนและผลักดันเทคโนโลยีขั้นสูงของประเทศ โดยระบุแถลงการณ์เพิ่มเติมว่าเจ้าหน้าที่ที่ถูกส่งตัวไปมาจากเมืองหางโจวซึ่งเป็นศูนย์กลางขององค์กรเอกชนในมณฑลเจ้อเจียง จะไปอยู่ในบริษัทเอกชนทั่วประเทศ 100 แห่งรวมถึงอี - คอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่อย่างอาลีบาบา และผู้ผลิตรถยนต์ และ จีลี่ ออโตโมบิล ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติจีน โดย"ตัวแทนฝ่ายกิจการของรัฐ" ที่เข้าไปในบริษัทเอกชนจะทำหน้าที่ส่งเสริมด้านการสื่อสารและช่วยเหลือธุรกิจในการดำเนินโครงการสำคัญต่างๆ  โดยความเคลื่อนไหวครั้งนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามของจีนที่ต้องการเป็นมหาอำนาจด้านเทคโนโลยี

กระแสต้านกระทบความไว้วางใจ

การประกาศนี้ก่อให้เกิดความเคลื่อนไหวบนโซเชียลมีเดียของจีนโดยผู้ใช้หลายคนแสดงความกังวลเกี่ยวกับบทบาทของรัฐบาลที่เพิ่มขึ้นในภาคธุรกิจ และยังไม่มั่นใจว่า ประเทศอื่นๆจะไว้ใจ บริษัทเอกชนของจีนอย่างบริษัทหัวเว่ยที่เคยกรณีในสหรัฐฯมาแล้ว ซึ่งหัวเว่ย บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีและการสื่อสารโทรคมนาคมของจีนได้ตอบโต้ ข้อกล่าวหาที่ว่า บริษัทเป็นตัวแทนการสอดแนมในนามของรัฐบาล  ขณะที่สหรัฐฯต้องการลดบทบาทของรัฐบาลจีนในระบบเศรษฐกิจมากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่สหรัฐฯเรียกร้องมาโดยตลอดและเป็นเงื่อนไขหลักในการเจรจายุติสงครามการค้า 

นักวิเคราะห์ชี้จีนเผชิญสถานการณ์ยากลำบาก

โรนัลด์ วาน หัวหน้าผู้บริหารของ Partners Capital International ในฮ่องกง กล่าวว่ารัฐบาลจีนต้องการเข้าไปควบคุมเศรษฐกิจมากขึ้น โดยเฉพาะเวลาที่ยากลำบากเช่นนี้ เศรษฐกิจกำลังดิ่งลงเรื่อยๆ ขณะที่รัฐบาลสหรัฐฯก็กดดันจีนอย่างหนัก แม้ว่าจะมีข้อจำกัดแต่หางโจวคือสัญลักษณ์ของศูนย์กลางที่ตั้งของบริษัทเอกชนรายใหญ่ในประเทศจีน ซึ่งรัฐบาลก็สามารถส่งสัญญาณถึงบริษัทเอกชนทั้งด้านการทำงานที่ใกล้ชิดและทำให้เอกชนเหล่านี้เชื่อฟังรัฐบาลด้วย เหล่านี้ได้ทันที ความเคลื่อนไหวของรัฐบาลหางโจว อาจเป็นเพียงจุดเริ่มต้น ซึ่งอาจจะมีรัฐบาลในท้องที่อื่นดำเนินการในลักษณ์นี้เช่นเดียวกันในอนาคต

จีนกำหนดเงื่อนไขตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว

หากย้อนกลับไปเมื่อปลายปีที่แล้ว รัฐบาลปักกิ่งได้เพิ่มความแข็งแกร่งให้พรรคคอมมิวนิสต์ โดยเข้าไปมีส่วนร่วมในภาคธุรกิจ ออกคำสั่งโดยรัฐบาลกลางเมื่อในเดือนพฤศจิกายน กำหนดให้ทุก บริษัท รวมถึง บริษัท เอกชนและ บริษัทต่างประเทศที่เข้าไปลงทุน จัดตั้งคณะกรรมการพรรคในนามบริษัทหากพนักงานมากกว่า 3 คนเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ คณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้น ควรทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมดูแลเพื่อให้มั่นใจว่า บริษัท ปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับของจีนอย่างเคร่งครัด และหากเป็นรัฐวิสาหกิจคณะกรรมการจะมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจด้วย

ความเห็นเอกชน

อาลีบาบาให้ความเห็นว่า จะเป็นการส่งเสริมทำให้สภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่ดีขึ้นและเป็นการเพื่อสนับสนุน บริษัทที่ตั้งอยู่ในหางโจว โดยตัวแทนรัฐบาลของจะทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมไปยังภาคเอกชนและจะไม่รบกวนการดำเนินงานของบริษัท รัฐบาล

จีนยืนยันไม่ล้วงลูกเอกชน

คำสั่งจากรัฐบาลเจ้อเจียงครั้งนี้ไม่ได้ชี้แจงรายละเอียดทั้งหมด และไม่มีรายชื่อบริษัทเอกชนครบ 100 บริษัท  แต่สมาคมอุตสาหกรรมท้องถิ่นในเจ้อเจียงได้อัปโหลดเอกสารของรัฐบาล โดยระบุว่ามีบริษัท ด้านการเงินและเทคโนโลยีชั้นนำจำนวนหนึ่ง รวมถึง บริษัท ชำระเงินออนไลน์ Ant Financial, อินเทอร์เน็ตและกลุ่มธุรกิจบันเทิง NetEase ผู้ผลิตกล้องวงจรปิด Hikvision และ Dahua Technology

ขณะที่รัฐบาลเจ้อเจียงกล่าวว่า ตัวแทนรัฐบาลนี้จะไม่เข้าไปแทรกแซงการตัดสินใจของบริษัท การส่งเจ้าหน้าที่ไปประจำที่บริษัทเหล่านั้นจะเป็นการช่วยเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาล