‘ทรู’ ตั้งโต๊ะเคลียร์ค่าเช่าท่อร้อยสาย เคทียํ้าทุกอย่างต้อง‘วิน-วิน’ทั้งคู่

03 ก.ย. 2562 | 06:08 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

 

ท่อร้อยสายสื่อสารใต้ดินยังจบไม่ลง หลังทรูขอเปิดโต๊ะต่อรองราคาค่าเช่าใช้บริการ ยอมรับคนเช่าอยากได้ของถูก ส่วนคนขายต้องการของแพง แจงถ้า หากเซ็นช้าต้องเร่งผู้ก่อสร้างให้ทันตามกำหนด ขณะที่ทีโอทีโยนให้ สมาคมโทรคมฯ เป็นแกนนำตั้งคณะทำงานเคาะราคาค่าเช่าท่อใหม่

 

แม้ตอนนี้ บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด หรือ เคที ได้เลือก บริษัท ทรู อินเตอร์เน็ต คอร์ปอ เรชั่น จำกัด เป็นผู้เช่าใช้โครงข่ายบริการสื่อสารโทรคมนาคม เนื่องจากเป็นผู้เสนอราคารายเดียว ขอเช่าใช้บริการในสัดส่วน 80% มูลค่าทั้งสิ้น 2.5 หมื่นล้านบาทระยะเวลาเช่า 30 ปี โดยประกาศรายชื่อเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2562 แต่ขณะนี้ทั้ง 2 ฝ่ายยังไม่ได้ตกลงเซ็นสัญญาอย่างเป็นทางการ

เคทียังไม่ได้เซ็นสัญญากับทรู เนื่องจากอยู่ระหว่างการเจรจาต่อรองราคา เพราะคนซื้ออยากได้ของถูก คนขายอยากขายของแพงนายเอกรินทร์ วาสนาส่ง รองกรรมการผู้อำนวยการ บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ให้สัมภาษณ์กับฐานเศรษฐกิจ

นายเอกรินทร์ ยังกล่าวต่ออีกว่า หากเจรจากับ ทรู จบได้เร็วจะดำเนินการให้ผู้รับเหมาเร่งดำเนินการนำสายสื่อสารลงใต้ดินให้แล้วเสร็จตามกำหนด การภายใน 2-3 ปี สำหรับผู้ได้รับคัดเลือกรับจ้างงานวิศวกรรม-จัดหา-ก่อสร้าง (Engineering- Procurement-Construction:EPC)  ประกอบด้วย พื้นที่ 1 คือ กิจการร่วมค้า เอสซีแอล, เอสทีซี และ ฟอสส์ พื้นที่ 2 คือ กิจการร่วมค้า เอดับบลิวดี พื้นที่ 3 คือ กิจการร่วมค้า เอสซีแอล, เอสทีซี และ ฟอสส์

นอกจากนี้ เคทีได้ส่งข้อเสนออ้างอิงการใช้ท่อร้อยสายสื่อสารเพื่อให้สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช.พิจารณาอัตราค่าตอบแทนการใช้ท่อร้อยสายสื่อสาร ตามประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการใช้การลง ทุนและการสร้างท่อร้อยสายสื่อ สารใต้ดิน

ส่วนทางด้านแหล่งข่าว บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) เปิดเผยกับฐานเศรษฐกิจว่า เหตุผลที่ยังไม่ได้เซ็นสัญญาเนื่องจากมีการเจรจาต่อรองในหลายส่วนหนึ่งในนั้นมีเรื่องราคาค่าเช่าสายรวมอยู่ด้วยแต่ไม่ขอเปิดเผยรายละเอียด

 

ขณะที่นายมนต์ชัย หนูสง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ขณะนี้ ทีโอที และผู้ประกอบการโทรคมนาคมทั้ง 7 ราย อยู่ระหว่างการตั้งคณะทำงานโดยมีสมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์เป็นหัวเรี่ยวหัวแรง สำหรับราคาเช่าท่อ พยายามกำหนดในราคาที่เหมาะสมและให้ทุกอย่างอยู่ด้วยกันได้

ถ้าบอกว่า ทีโอที มีท่อร้อยสายในกรุงเทพมหานคร ระยะทางไม่ถึง 2,450 กิโลเมตร มาเดิน ดูด้วยกันไหมนายมนต์ชัยกล่าว

สำหรับโครงการวางสายสื่อสารลงใต้ดินของบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด หรือ เคที มีระยะทาง 2,450 กิโลเมตร แบ่งพื้นที่ในกรุงเทพมหานคร ออกเป็น 4 พื้นที่ ได้แก่ พื้นที่ 1 กรุงเทพฯตอนเหนือ ระยะทางรวมประมาณ 620 กม. ตามระยะทางเท้า (หรือประมาณ 335 กม. ตามระยะถนน) พื้นที่ 2 กรุงเทพฯตะวัน ออก ระยะทางรวมประมาณ 605 กม. ตามระยะทางเท้า (หรือประมาณ 315 กม. ตามระยะถนน) พื้นที่ 3 กรุงธนเหนือ ระยะทางรวมประมาณ 605 กม. ตามระยะทางเท้า (หรือประมาณ 315 กม. ตามระยะถนน) พื้นที่ 4 กรุงธนใต้ ระยะทางรวมประ มาณ 620 กม. ตามระยะทางเท้า (หรือประมาณ 330 กม. ตามระยะถนน)

 

‘ทรู’ ตั้งโต๊ะเคลียร์ค่าเช่าท่อร้อยสาย  เคทียํ้าทุกอย่างต้อง‘วิน-วิน’ทั้งคู่

 

นอกจากนี้แล้วสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. มีนโยบายจัดระเบียบสายสื่อสารลงใต้ดิน และการจัดระเบียบสายสื่อสาร ที่สอดรับกับนโยบายเปลี่ยนสายไฟฟ้าอากาศเป็นระบบสายไฟฟ้าใต้ดินของรัฐบาล เพื่อรองรับปริมาณความต้องการใช้งานในสังคมเศรษฐกิจดิจิทัล และการเป็นมหานครแห่งอาเซียน

 

โดยการจัดระเบียบสายสื่อสารครั้งนี้ กสทช. จะดำเนินงานร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้องอันได้แก่ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.)การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)กรุงเทพมหานคร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และผู้ประกอบกิจการสื่อสาร

อย่างไรก็ตามสำนักงาน กสทช. จึงได้มีคำสั่งที่ 738.01/ 2562 แต่งตั้งคณะทำงานจัดระเบียบสายสื่อสารและการนำสายสื่อสารลงใต้ดิน เพื่อทำหน้าที่ในการจัดทำแผนปฏิบัติการจัดระเบียบ สายสื่อสารประจำปี 2562 และ ดำเนินการจัดระเบียบสายสื่อสาร รวมทั้งติดตามและประเมินผลการดำเนินการจัดระเบียบสายสื่อสาร เพื่อรายงานผลให้สำนักงาน กสทช. รับทราบ

ส่วนเป้าหมายการจัดระเบียบสายสื่อสารลงใต้ดิน ด้วยการหักเสาไฟเพื่อดำเนินการจัดระเบียบสายสื่อสารในเขตพื้นที่ของการไฟฟ้านครหลวง จำนวน 22 เส้นทางรวมระยะทาง  143.60 กิโลเมตร ประกอบด้วย กรุงเทพ มหานคร จำนวน 13 เส้นทาง นนทบุรี จำนวน 3 เส้นทาง และสมุทรปราการ จำนวน 6 เส้นทาง

ขณะที่การจัดระเบียบ สายสื่อสารในเขตพื้นที่ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จำนวน 106 เส้นทาง ระยะทางรวม 306.65  กิโลเมตร ประกอบด้วย ภาคเหนือ 31 เส้นทาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 28 เส้นทางภาคกลาง 20 เส้นทาง และภาคใต้ 27 เส้นทาง

 

หน้า 10 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3502 วันที่ 5-7 กันยายน 2562

‘ทรู’ ตั้งโต๊ะเคลียร์ค่าเช่าท่อร้อยสาย  เคทียํ้าทุกอย่างต้อง‘วิน-วิน’ทั้งคู่