วัวหายล้อมคอก? ‘อปท.’สกัดโกงโครงการ 1 หมู่บ้าน 1 กิโลเมตร 

21 มิ.ย. 2562 | 05:00 น.

วัวหายล้อมคอก? ‘อปท.’สกัดโกงโครงการ 1 หมู่บ้าน 1 กิโลเมตร 

แหล่งข่าวกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ”ว่า นายทวี เสริมภักดีกุล รองอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นทำคู่มือแผนการประเมินความเสี่ยงภายใต้โครงการ 1 หมู่บ้าน 1 กิโลเมตร ก่อสร้างถนนดินซีเมนต์ปรับปรุงคุณภาพด้วยยางธรรมชาติ สำหรับงานท้องถิ่น เป็นนโยบายรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาราคายางพาราตกต่ำต่อเนื่องในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ดังนั้นจึงได้ออกเป็นคู่มือป้องกันความเสี่ยงการทุจริตที่อาจจะเกิดขึ้น จึงขอให้จังหวัดแจ้ง อปท.ให้ทราบ และให้ปฎิบัติตามระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด

วัวหายล้อมคอก? ‘อปท.’สกัดโกงโครงการ 1 หมู่บ้าน 1 กิโลเมตร 

ทั้งนี้ขั้นตอนที่มีความเสี่ยงการทุจริต

1.การจัดทำโครงการ
     -พื้นที่ก่อสร้างไม่อยู่ในความรับผิดชอบของ อปท.(เขตป่าสงวนแห่งชาติ)
       -อบจ.ต้องประสานแผนกับเทศบาลและ อบต. เพื่อกำหนดโครงการไว้ในแผนพัฒนา อบจ.
         -การสำรวจพื้นที่ก่อนดำเนินการช่างผู้ทำการสำรวจพื้นที่ก่อนดำเนินการช่างผู้ทำการสำรวจไม่ออกสำรวจพื้นที่จริง โดยใช้วิธีการประมาณการโดยการคาดคะเนเมื่อมีการตรวจสอบโดยหน่วยงานตรวจสอบภายหลังการดำเนินการพบว่ามีการคำนวณราคากลางไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์เป็นเหตุให้ราชการได้รับความเสียหายและเจ้าหน้าที่ต้องมีความรับผิดทางแพ่งอาญา และวินัย
            -ต้องการใช้งบประมาณโดยไม่มีความจำเป็นในการก่อสร้าง
             -การทำ TOR ไม่ครอบคลุมทุกรายละเอียดของงาน เนื่องจากเป็นเรื่องใหม่และท้องถิ่นไม่เคยมีประสบการณ์ในงานเรื่องนี้มาก่อนควรจัดทำ TOR กลางให้ครบถ้วนสมบูรณ์และครอบคลุมวิธีการทางเทคนิคในการก่อสร้างเพื่อเป็นต้นแบบในการควบคุมรายละเอียดงานจ้าง

วัวหายล้อมคอก? ‘อปท.’สกัดโกงโครงการ 1 หมู่บ้าน 1 กิโลเมตร 

แนวทาง/มาตรการป้องกัน
            -อปท.ตรวจสอบก่อนดำเนินการ
            -อปท.ปฎิบัติตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดทำแผนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2548
              -กำชับให้เจ้าหน้าที่ต้องสำรวจสภาพพื้นที่จริงก่อนดำเนินการหากปฎิบัติตามให้ดำเนินการทางวินัย

ข้อสังเกต
              1.วิธีการได้มาซึ่งวัตถุดิบสำคัญในกระบวนการก่อสร้างถนนยังไม่มีมาตรฐานรองรับและไม่เป็นที่เปิดเผยอาจทำให้เกิดการผูกขาดทางการค้า
               2.มาตรฐานการก่อสร้างยังไม่เป็นที่ยอมรับและยังไม่ผ่านการทดสอบการใช้งานว่ามีความคุ้มค่ากับเม็ดเงินงบประมาณที่ก่อสร้างไปหรือไม่
               3.เทคนิคและวิธีการในการก่อสร้างซึ่งเป็นเรื่องใหม่ช่างหรือผู้รับเหมาในท้องถิ่นยังขาดความรู้และประสบการณ์ซึ่งจะทำให้งานเกิดความผิดพลาดได้ง่าย
                4. ผู้ควบคุมงานยังไม่มีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการก่อสร้างเพียงพอและมีโอกาสถูกตรวจสอบหรือดำเนินคดีโดยไม่จำเป็น
                 5.ในระหว่างก่อสร้างผู้ควบคุมงานและผู้ดำเนินงานก่อสร้างไม่สามารถทราบได้เลยว่าถนนที่กำลังก่อสร้างได้มาตรฐานหรือไม่จะทราบได้ก็ต่อเมื่อส่งตัวอย่างเข้าห้องปฎิบัติการแล้ว (LAB) ดังนั้นการใช้จ่ายงบประมาณก่อสร้างจะไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์หากจะต้องมีการรื้อสร้างใหม่หรือถนนพังเสียหายในเวลารวดเร็ว
              6.ถ้าจำเป็นต้องดำเนินการควรมีการบูรณาการจากหลายฝ่าย เช่น ขอให้กรมทางหลวงเป็นที่ปรึกษาโครงการฯการติดตาม เป็นต้น
               7.การดำเนินงานโครงการดังกล่าวมีลักษณะสุ่มเสี่ยงในประเด็นเกี่ยวกับทุจริตเชิงนโยบายสมควรให้เชิญสำนักงาน ป.ป.ช.เข้าร่วมพิจารณาด้วย

วัวหายล้อมคอก? ‘อปท.’สกัดโกงโครงการ 1 หมู่บ้าน 1 กิโลเมตร 

2.การขออนุมัติจ่ายเงินสะสม
        ความเสี่ยงที่มีโอกาสนำไปสู่การทุจริต
        -เจ้าหน้าที่ไม่ปฎิบัติตามหลักเกณฑ์การจ่ายเงินสะสมอย่างเตร่งครัด
         -ขณะที่ขอมติสภาเจ้าหน้าที่ไม่ชี้แจงรายละเอียดในการดำเนินการโครงการอย่างชัดเจน เป็นเหตุให้สภาท้องถิ่นสำคัฐผิดในข้อเท็จจริง
          -ไม่มีการทบทวน ปรับแผน อปท.ก่อนเพื่อใช้งบประมาณเหลือจ่ายหรือปรับโครงการที่ไม่มีความจำเป็น เพื่อนำงบประมาณมาจัดทำโครงการถนนดินซีเมนต์ปรับปรุงคุณภาพด้วยยางธรรมชาติก่อนโดยไม่มีเหตุผลความจำเป็นที่ต้องขออนุมัติจ่ายขาดเงินสะสม
            -การที่ มท.ยกเว้นหลักเกณฑ์ให้ อปท.ไม่ต้องปฎิบัติตามขั้นตอนปกติในการขอใช้เงินสะสมเป็นความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดการทุจริตได้      
ดังนั้นการกำกับดูแล การใช้เงินงบประมาณในลักษระนี้ควรมีแนวทางมี่รอบคอบและรัดกุม ต้องแจ้งเวียนแนวทางปฎิบัติให้ชัดเจนป้องกันการตีความ

วัวหายล้อมคอก? ‘อปท.’สกัดโกงโครงการ 1 หมู่บ้าน 1 กิโลเมตร 

3.การออกแบบ
          -การออกแบบและคำนวณราคากลางอาจไม่สอดคล้องกับสภาพทางภูมิศาสตร์ของท้องถิ่น
            -หลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการอาจนำไปสู่การใช้ดุลยพินิจเพื่อให้เจ้าหน้าที่อาจเรียกรับเพื่อให้ผ่านหลักเกณฑ์
             -การออกข้อกำหนดน้ำยางพาราผสมสารผสมเพิ่มอาจมีการผูกขาดโดยใช้หลักเกณฑ์มาตรฐาน ISO 9001-2015 มารับรองเหมือนเป็นการกำหนดคุณสมบัติเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับผู้ขายบางราย
             ทั้งนี้ต้องมีมาตรการในการควบคุมและให้ความรู้ในการก่อสร้างกับท้องถิ่นที่จะดำเนินการก่อสร้าง

วัวหายล้อมคอก? ‘อปท.’สกัดโกงโครงการ 1 หมู่บ้าน 1 กิโลเมตร 

เอกสารฉบับเต็ม

วัวหายล้อมคอก? ‘อปท.’สกัดโกงโครงการ 1 หมู่บ้าน 1 กิโลเมตร 

วัวหายล้อมคอก? ‘อปท.’สกัดโกงโครงการ 1 หมู่บ้าน 1 กิโลเมตร 

วัวหายล้อมคอก? ‘อปท.’สกัดโกงโครงการ 1 หมู่บ้าน 1 กิโลเมตร 

วัวหายล้อมคอก? ‘อปท.’สกัดโกงโครงการ 1 หมู่บ้าน 1 กิโลเมตร